ชุดนักเรียน: เครื่องมืออำพรางความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย

Main Article Content

Thanadon Phuthanasiri

บทคัดย่อ

การมีทุนเศรษฐกิจดีอย่างไม่เดือดร้อนได้สร้างอภิสิทธิ์แก่ผู้ครอบครองทุนในการเข้าถึงสิทธิ์และโอกาสต่าง ๆ ในสังคม โดยเฉพาะโอกาสทางการศึกษาที่ช่วยให้เด็กนักเรียนจากครอบครัวผู้มีฐานะดีสามารถเข้าถึงการศึกษาคุณภาพได้อย่างสะดวกสบาย ขณะที่เด็กจากครอบครัวแรงงานขั้นต่ำและครอบครัวยากจนพิเศษ ต้องเผชิญกับข้อจำกัดมากมายในการเข้าถึงการศึกษาในระบบ การกู้หนี้ยืมสิน นำสิ่งของมีค่าไปจำนำหรือขอยืมเงินจากญาติพี่น้องและคนรู้จักคือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อนการเปิดเทอมของบุตร ความบีบคั้นทางการเงินและความยากลำบากของชีวิต ทำให้ในแต่ละปีมีเด็กไทยไม่ได้รับการศึกษาเป็นจำนวนเกือบหนึ่งล้านคน มันเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำจากบริบทด้านการศึกษา ขณะที่ประเด็นความยากจนและความเหลื่อมล้ำอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่สังคมไทยก็เลือกที่จะกลบเกลื่อนปัญหาต่าง ๆ ด้วยชุดนักเรียน และทำให้ชุดนักเรียนเป็นมากกว่า “ปัจจัยสี่” ของคำอธิบายในพุทธศาสนาและ “ความจำเป็นทางสรีรวิทยา” ตามทฤษฎีลำดับขั้นของ Maslow โดยไม่คำนึงว่ามันจะเป็นการสร้างภาระแก่ผู้ปกครองและยิ่งตอกย้ำปัญหาความเหลื่อมล้ำให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทำให้ให้เด็กนักเรียนจากครอบครัวผู้มีรายได้น้อยไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาที่เหมาะสม

Article Details

บท
Articles