วิทยาศาสตร์สร้างชาติ การก่อตัวของนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย พ.ศ.2431-2531
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้นำเสนอประวัติศาสตร์มโนทัศน์ (conceptual history) ของตัวแบบ “วิทยาศาสตร์สร้างชาติ” ที่มีส่วนกำกับวิธีคิดที่สร้างปัญหาให้กับนโยบายทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทยนับตั้งแต่ทศวรรษ 2520 โดยตัวบทความเสนอว่า ประวัติศาสตร์มโนทัศน์ของตัวแบบดังกล่าวสัมพันธ์กับการก่อตัวของมโนทัศน์และคำศัพท์ “วิทยา(ศาสตร์)” กับ “วิจัย” ในช่วง พ.ศ.2431-2490 ก่อนที่การเปลี่ยนผ่านทางสัญศาสตร์ (semantic shift) จาก “วิทยาศาสตร์” ไปสู่ “การวิจัย” จะเกิดขึ้นผ่านการก่อตั้งสภาวิจัยแห่งชาติในทศวรรษ 2500 อย่างไรก็ตาม หน่วยงานดังกล่าวกลับสร้างความไม่มั่นคงให้กับสถานภาพของวิชาชีพ “นักวิทยาศาสตร์” จนนำไปสู่การเรียกร้องนโยบายวิทยาศาสตร์และการผลักดันให้มีการก่อตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน เมื่อ พ.ศ.2522 ผลลัพธ์ดังกล่าวทำให้ตัวแบบ “วิทยาศาสตร์สร้างชาติ” มีความเป็นไปได้ขึ้นมา โดยตัวแบบดังกล่าวมีส่วนทำให้นโยบายของกระทรวงในช่วงทศวรรษ 2520 ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์โดยปราศจากการตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างวิชาชีพ “นักเทคโนโลยี” อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุอันเกิดมาจากการเปลี่ยนผ่านทางสัญศาสตร์จาก “วิทยาศาสตร์” ไปสู่ “การวิจัย” ที่ยังไม่สมบูรณ์ เทคโนโลยีจึงขาดความเป็นอิสระโดยตัวมันเองในภาษาของนโยบายวิทยาศาสตร์ไทย เพราะฉะนั้น เทคโนโลยีจึงตกอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของวิทยาศาสตร์
Article Details
References
ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด, “การพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย,” ใน เหลียวหลังแลหน้า: ยี่สิบปีเศรษฐกิจสังคมไทย การสัมมนาวิชาการประจำปี 2547 วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิติ้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี, (กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2547), 7.
Patarapong Intarakumnerd, Mismanaging Innovation Systems: Thailand and the Middle-Income Trap, (London & New York: Routledge, 2018), 20-21.
Ibid., 22.
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ และรุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์, “จากการศึกษาถึงนวัตกรรม: ความรางเลือนของอนาคตไทย,” ใน อาทิตย์ เคนมี (บก.), New Economic Model กระบวนทัศน์เศรษฐกิจใหม่ กับความจำเป็นของธรรมาภิบาลและประชาธิปไตย, (กรุงเทพฯ: WAY of BOOK, 2559), 148.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, “จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ: สถานการณ์ อุปสรรค และความท้าทายบนเส้นทางงานวิจัยไทย,” ใน อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ นวดล เหล่าศิริพจน์ และสุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ (บก.), วิจัย-ใช้จริง: ศาสตร์แห่งการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.), 2563), 34-38.
ยงยุทธ ยุทธวงศ์, วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร, (กรุงเทพฯ: บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด, 2554), 159.
ถวิล สุนทรศารทูล, “คำแถลง,” ใน กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย, การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย), (พระ นคร: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, 2512).
International Labour Office, International Standard Classification of Occupations, (Geneva: International Labour Office, 1958), 33-38.
Ibid., 42.
กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย, การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ, 36-40, 66.
เพิ่งอ้าง, 87.
เพิ่งอ้าง, 36.
เพิ่งอ้าง, 87.
ดู UNESCO, International Standard Classification of Education (ISCED), (Paris: Division of Statistics on Education Office of Statistics Unesco, 1976).
พร้อม พานิชยภักดิ์, “อุปทานและอุปสงค์กำลังคนประเภทผู้ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคของประเทศไทยระหว่างปี 2510 ถึง 2514,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 21, ฉบับที่ 12 (ธันวาคม 2510), 1062.
เอ็ดเวิด แม็คเครนสกี้, “การเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรประเภทวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ และประเภทพิเศษอื่นๆ ในวงราชการของประเทศไทย,” ใน เอกสารวิชาการเกี่ยวกับกำลังคนระดับสูงในวงราชการและประชากรของประเทศไทย, (พระนคร: กองวางแผนกำลังคน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ, 2512), 1, 9-13.
เรียบเรียงจาก ตารางที่ 1.13 กำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำแนกตามประเภทหน่วยงาน และลักษณะงานหลักในปัจจุบัน ใน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, การสำรวจกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทยประจำปีงบประมาณ 2518, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2520), 17.
เพิ่งอ้าง, 208.
เพิ่งอ้าง.
ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 96 ตอนที่ 80, 14 พฤษภาคม 2522, 56-58.
จีระ หงส์ลดารมภ์ และคณะ, โครงการสำรวจและวางแผนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี พ.ศ.2527: การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการประมวลผลกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, (กรุงเทพฯ: สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2528), 128-129.
เพิ่งอ้าง, 135-137.
การพัฒนาและส่งเสริมผู้มีปรีชาญาณทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: รายงานการสัมมนา ณ สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 22 พ.ย. 2525, (กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน, 2525), 1.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “โครงการช้างเผือก, งานสร้างนักวิทยาศาสตร์เพื่ออนาคตชาติไทย,” ใน การพึ่งตนเองด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, (กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน, 2529), 55.
ยงยุทธ ยุทธวงศ์, วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร, อ้างแล้ว, 127.
ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 108 ตอนที่ 240, 29 ธันวาคม 2534, 101.
ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 109 ตอนที่ 33, 2 เมษายน 2535, 21.
ดู กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน, เอกสารแสดงสถานภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2530), 43-45.
ศนิชา ภาวโน, การศึกษาความก้าวหน้าของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยตามวงจรชีวิตองค์การ: กรณีศึกษาเชิงประวัติศาสตร์, (วิทยานิพนธ์, สาขาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551), 52.
ดู “Chemistry No. 1.,” หนังสือจดหมายเหตุฯ Bangkok Recorder, Vol. 1, No. 6 (1844): 21. เป็นต้น
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.5 ศ. 2/5 (มร.5ศ/4) โครงการศึกษา (21 มิถุนายน ร.ศ.117-29 กันยายน ร.ศ.129).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ. 9.2/61 การแปลหนังสือวิทยาสาตร์ (13-27 มกราคม 2454).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, มร.5 นก/92 ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ นอมัลสกูล (8 เมษายน 2431), 535.
เพิ่งอ้าง, 536.
ส่วนอีกสองวิชาคือ “วิชายิโอครัฟฟี [geography] สอนด้วยแผนที่โลก...วิชาฟิซิกแกลยิโอครัฟฟี [physical geography] สอนด้วยเหตุที่เกิดแต่โลก” ดู เพิ่งอ้าง, 536.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์, รายงานผลการวิจัย เรื่อง พัฒนาการของการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย, (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560), 59.
กรมศึกษาธิการ, หลักสูตรสามัญศึกษา, พิมพ์ครั้งที่สอง, (บางขุนพรหม: โรงพิมพ์อักษรนิติ์, ร.ศ.130), 73-79.
ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 31 ตอนที่ ง, 6 ธันวาคม 2457, 2021.
กรมศึกษาธิการ, หลักสูตร์สามัญศึกษา, อ้างแล้ว, 45-50.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ร.6 ศ. 4/30 (มร.6ศ/4) เรื่อง โรงเรียนข้าราชการพลเรือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (23 ธันวาคม 2453-5 สิงหาคม 2468), 90.
เพิ่งอ้าง, 93.
เพิ่งอ้าง, 154-155.
รอง ศยามานนท์ และคณะ, ประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2459-2509 พิมพ์เป็นที่ระลึกในวันครบห้าสิบปีของการสถาปนา วันที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2510, (พระนคร: โรงพิมพ์ของสมาคมสังคมศาสตร์ แห่งประเทศไทย, 2510), 205-206.
สรรใจ แสงวิเชียร, “การปรับปรุงคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมกับการปรับปรุงคณะแพทย์ศาสตร์ระหว่าง พ.ศ.2466-2478,” ใน 50 ปี วิทยาศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2476-2527, (กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527), 33-35.
เพิ่งอ้าง, 38.
ทวีศักดิ์ เผือกสม, เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม: ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: Illuminations Editions, 2561), 95.
วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ (บก.), 100 ปี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก, (กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2534), 29.
หอประวัติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จ 12/18 บันทึกข้อตกลงในการร่วมมืออุดหนุนโรงเรียนแพทย์สมัยที่ทูลกระหม่อมกรมขุนสงคลานครินทร์ทำในกรุงปารีศ (16 พฤศจิกายน-29 พฤษภาคม 2465).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ. 10/93 ขอสมัครเป็นศาสตราจารย์วิชชาคำนวณหรือฟิสิกส์ในมหาวิทยาลัย (3 กรกฎาคม-2 ตุลาคม 2467)
หอประวัติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จ 4/79 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ส่งบัญชีเรื่องราวต่างๆ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องกับ ร.ร.แพทย์ ได้แต่งลงหนังสือพิมพ์การวิทยาศาสตร์ (24 ธันวาคม-27 มีนาคม 2471).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กต. 35.10/34 นาย CAUSEY อาจารย์ชีววิทยาชาวอเมริกันแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2473-2474).
หอประวัติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จ 12/51 เลือกให้หลวงประวัติวรวิชชุการี ไปศึกษาวิชชาฟิสิกส์โดยทุนของรอคคิเฟลเลอร์มูลนิธิ (24 พฤษภาคม 2471-24 มีนาคม 2473).
“คอลัมน์ ‘บทสัมภาษณ์พิเศษ’,” ใน งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ ม.ป.ช., ม.ว.ม. ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 8 ธันวาคม พ.ศ.2523, (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523), 159.
หอประวัติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จ 12/73 ขอให้นายคลุ้ม วัชโรบล ไปทำ Research Work ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดส์อีก 1 ปี เพื่อรับปริญญา D.Sc (14 กรกฎาคม 2476-31 กรกฎาคม 2477).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, (2) ศธ. 16/172 เสนอรายงานคุณวุฒิของนายอวย เกตุสิงห์ ซึ่งไปศึกษาเพิ่มเติม ณ ประเทศเยอรมันนี (2-8 พฤษภาคม 2484).
Luang Brata, “Emission of Metallic Ions from Oxide Surfaces. I. Identification of the Ions by Mobility Measurements,” Proceeding of the Royal Society London A, Vol. 141 (1933), 454-462.
Luang Brata, “Emission of Metallic Ions from Oxide Surfaces. II. Mechanism of the Emission,” Proceeding of the Royal Society London A, Vol. 141 (1933), 463-472.
Kloom Vajropala, “Guanine in the Excreta of Arachnids,” Nature, Vol. 136, No. 3430 (1935), 145.
Rabieb Benchakarnchana, An Investigation on the Colouring Matter of the Fruit of Diospyros Mollis, (M.Sc. Thesis, Faculty of Science, Chulalonkorana University, 1944).
Satang Mongkolsuk, The Preparation of Derivatives of p-Amino Benzene Sulphonamide, (M.Sc. Thesis, Faculty of Science, Chulalonkorana University, 1946).
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ป.ช. ป.ม. ท.จ. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2514, (ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2514).
วิชา เศรษฐบุตร, “วิจัย,” ชุมนุมวิทยาศาสตร์, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1 (2490), 22.
ประดิษฐ์ เชี่ยวสกุล, “สดุดีเจ้าคุณท่านผู้นำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย,” ใน อนุสรณ์งานพระราชเพลิงศพ ศาสตราจารย์ พลโท พระยาศัลวิธานนิเทศ (แอบ รัตประจิต) ป.จ., ม.ป.ช,, ม.ว.ม. สมุหพระราชมณเฑียร ณ เมรุกลางหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันพุธที่ 28 มีนาคม 2533, (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533), 149.
วิชา เศรษฐบุตร, “วิจัย,” อ้างแล้ว, 21.
“บันทึกท้ายเล่ม,” ชุมนุมวิทยาศาสตร์, ปีที่ 1, ฉบับที่ 4 (2490), 63.
เช่น ประทาน นพรัก, “เรื่องที่ไม่สำเร็จ,” ชุมนุมวิทยาศาสตร์, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1 (2490), 35-39.
หลวงศรีสมรรถวิชชากิจ, “รายงานปาฐกถาเรื่องภูกระดึง ของ หลวงศรีสมรรถวิชชากิจ แสดงที่ตึกฟิสิกส์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย วันที่ 5 สิงหาคม 2491,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 2, ฉบับที่ 9 (กันยายน 2491), 30-41.
“กำไรในการวิจัย,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ 2492), 62.
“การประชุมทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติ,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 3, ฉบับที่ 5 (พฤษภาคม 2492), 226.
ศัลวิธานนิเทศ, พล ต., พระยา, “คำนำ,” ใน ประมวลคำบรรยายซึ่งเสนอในการประชุมทางวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย วันที่ 7-11 ธันวาคม พ.ศ.2492, (พระนคร: โรงพิมพ์ไทยพิทยา, 2493).
“ข่าววิทยาศาสตร์และข่าวสมาคม,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 3, ฉบับที่ 12 (ธันวาคม 2492), 671.
เพิ่งอ้าง, 672.
“พิธีเปิดการประชุมและการแสดงทางวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 3 ณ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (มกราคม 2495), 55.
วิทยามาตย์, “บันทึกงานของสมาคมวิทยาศาสตร์,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 6 (มิถุนายน 2496), 50.
วิทยามาตย์, “บันทึกงานของสมาคมวิทยาศาสตร์,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 8, ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ 2497), 65.
ประดิษฐ์ เชี่ยวสกุล, “สดุดีเจ้าคุณท่านผู้นำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย,” อ้างแล้ว, 150.
เพิ่งอ้าง, 151.
สิกขา สองคำชุม, “‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’ บนความเคลื่อนไหว: การเกิดใหม่ของนักวิทยาศาสตร์นาม ‘พระจอมเกล้าฯ’,” ใน สิกขา สองคำชุม (บก.), พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์: ความย้อนแย้งของ “ดาราศาสตร์” กับ “โหราศาสตร์” ในสังคมไทยสมัยใหม่, (กรุงเทพฯ: Illuminations Editions, 2562), 341.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.15/1 การประชุมสภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2502 (2502).
เพิ่งอ้าง.
ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 73 ตอนที่ 74, 18 กันยายน 2499, 1022.
ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 76 ตอนที่ 102, 1 พฤศจิกายน 2502, 10.
ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่ม 80 ตอนที่ 52, 24 พฤษภาคม 2506, 13.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ, แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติระหว่างระยะเวลา พ.ศ.2504 ถึง พ.ศ.2506 และถึง พ.ศ.2509, (พระนคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ, 2503), 60-62.
สมศักดิ์ วิราพร, การบริหารงานการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ, (วิทยานิพนธ์, สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2513), 27.
ดู พร้อม วัชระคุปต์, “อาชีพวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 20, ฉบับที่ 1 (มกราคม 2509), 43-49.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 23.2.5/4 การบรรยาย เรื่อง การเตรียามงานการสอนและวิจัยในระดับสูงกว่าปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตามโครงการพัฒนามหาวิทยาลัย (26 สิงหาคม 2512). ตัวเน้นตามตันฉบับ
เพิ่งอ้าง.
“รายงานการประชุมคณะกรรมการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7/2510 วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ.2510,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 11, ฉบับที่ 12 (ธันวาคม 2510), 1107.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, มท. 0201.2.1.19/8 เชิญประชุมเกี่ยวกับนโยบายการดำเนินงานทางวิทยาศาสตร์ (2494).
ดู หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.15/6 การประชุมกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติครั้งที่ 1/2510 (2510); สำหรับต้นฉบับข้อเสนอของนิคัลส์ ดู Frank G. Nicholls, A Program for the Development of Scientific Research in Thailand (N.p.: United Nations Program of Technical Assistance, 1961).
สมศักดิ์ วิราพร, การบริหารงานการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ, อ้างแล้ว, 102.
ดู เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์, “นโยบายระดับชาติในการใช้นักวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาประเทศ,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 21, ฉบับที่ 11 (พฤศจิกายน 2510), 987-988.
สันต์ เตชะกัมพุช, “ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงการศึกษาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 21, ฉบับที่ 11 (พฤศจิกายน 2510), 991.
สิปปนนท์ เกตุทัต, “บทบาทของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาการศึกษา,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 23, ฉบับที่ 12 (ธันวาคม 2512), 1127. ตัวเน้นตามต้นฉบับ
ดู ระวี ภาวิไล, “นโยบายทางวิทยาศาสตร์ของชาติและการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 26, ฉบับที่ 1 (มกราคม 2515), 47-50.
“ข่าวสมาคมวิทยาศาสตร์ จากรายงานการประชุมคณะกำรรมการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7/2515 วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2515,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 26, ฉบับที่ 11 (พฤศจิกายน 2515), 77.
วิทยาศาสตร์, ปีที่ 26, ฉบับที่ 12 (ธันวาคม 2515).
ประดิษฐ์ เชี่ยวสกุล, “บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาการศึกษา,” ใน เอกสารแจกเพิ่มเติมในการประชุมสภาการศึกษาแห่งชาติ วันที่ 7-11 กรกฎาคม 2512, (กรุงเทพฯ: สภาการศึกษาแห่งชาติ, 2512), 280.
ดู สิกขา สองคำชุม, “‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’ บนความเคลื่อนไหว,” อ้างแล้ว, 343-356; ส่วนพิมพ์เขียวของการร่างโครงสร้างกระทรวงวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มแรก ดู กรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ, รายงานเรื่องการปฏิรูประบบ
บริหารราชการของรัฐโดยจัดให้มีนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและข้อเสนอแนะการจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, (กรุงเทพฯ: สภาวิจัยแห่งชาติ, 2520).
ดู สิกขา สองคำชุม, “การสถาปนาอุดมการณ์ ‘การกลับมาพัฒนาชาติ’ ในโครงการ พสวท.,” วารสารสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (มกราคม-กันยายน 2560), 70-89.
ในที่นี้ ผู้เขียนนิยามว่า “ชาติ” หมายความถึงรัฐไทยที่ดำเนินนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยไม่ได้เคร่งครัดตามแนวคิดทฤษฎีของตะวันตก อย่างไรก็ตาม ผู้สนใจการถกเถียงของทฤษฎีการก่อตัวของชาติในโลกวิชาการของตะวันตก โปรดดู พิพัฒน์ พสุธารชาติ (บก.), เมื่อใดจึงเป็นชาติ?, (กรุงเทพฯ: Illuminations Editions, 2562).
สิปปนนท์ เกตุทัต, “บทบาทของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาการศึกษา,” วิทยาศาสตร์, ปีที่ 23, ฉบับที่ 12 (ธันวาคม 2512), 1119-1120. ตัวเน้นตามต้นฉบับ
เอกสารวิชาการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิวัฒนาการและการจัดการ, (กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน, 2531), 35-36.
Benoît Godin, “The Linear Model of Innovation: The Historical Construction of An Analytical Framework,” Science, Technology & Human Values, Vol. 31, No.6 (2006), 639.
Benoît Godin, Models of Innovation: The History of Idea, (Cambridge & London: The MIT Press, 2017), 77.
Désirée Schauz and David Kaldewey, “Introduction Why Do Concepts Matter in Science Policy?” in David Kaldewey and Désirée Schauz (eds.), Basic and Applied Research: The Language of Science Policy in the Twentieth Century, (New York: Berghahn Books, 2018), 14.
Benoît Godin, “The Linear Model of Innovation,” Cited, 642.
Ibid., 642.
David Kaldewey and Désirée Schauz, “Transforming Pure Science into Basic Research: The Language of Science Policy in United States,” in Basic and Applied Research, Cited, 116.
Vannevar Bush, Science-Endless Frontier, (n.p.: National Science Foundation, 2020), xv-xvi.
Ibid., 17.
Ibid., 36-37.
“(คำกล่าวในการเปิดประชุมสภาวิจัยแห่งชาติของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี 23 ธันวาคม 2502),” ข่าวสภาวิจัยแห่งชาติ, ฉบับที่ 3 (มกราคม 2504), 1.