ความคาดหวังของราษฎรที่มีต่อระบอบการเมืองใหม่ 1 ปีหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475

Main Article Content

Patamawadee Wichiannit

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่อง “ความคาดหวังของราษฎรที่มีต่อระบอบการเมืองใหม่ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475” เกิดขึ้นจากการตั้งคำถามต่อข้อสรุปเดิมที่มักสรุปกันว่าการปฏิวัติใน พ.ศ.2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกลุ่มข้าราชการเพียงกลุ่มเล็ก ๆ โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงส่งผลให้เกิดปัญหาทางการเมืองตามมา ดังนั้นเพื่อทบทวนข้อสรุปดังกล่าวจึงกลายมาเป็นงานวิจัยชิ้นนี้ที่มีคำถาม 2 ข้อด้วยกันคือ ความคาดหวังประเด็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของราษฎรในช่วง 1 ปีแรกหลังการปฏิวัติมีประเด็นใดบางที่ประชาชนคาดหวังต่อระบอบการเมืองใหม่ และความคาดหวังประเด็นเหล่านี้ได้ส่งผลอย่างไรต่อบรรยากาศการเมืองและผู้นำในระบอบใหม่


 


จากผลการศึกษาพบว่า ความคาดหวังในมิติทางการเมืองนั้นราษฎรสยามมีความคาดหวังที่แตกต่างกันมาก และส่วนใหญ่ที่ปรากฏความคาดหวังมักเน้นไปที่หน่วยงานราชการซึ่งมีจดหมายที่แสดงความคาดหวังไว้เป็นจำนวนมากที่ต้องการให้ให้มีการปรับเปลี่ยนการทำงานในระบบราชการ นอกจากนี้ยังพบว่าแนวคิดที่ปรากฏขึ้นอันเป็นการปะทะระหว่างความเก่าและความใหม่ในสังคมได้ปรากฏขึ้นในจดหมาย ความคาดหวังของราษฎรในมิติทางเศรษฐกิจนี้พบว่าราษฎรส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลในระบอบใหม่เข้ามาจัดการช่วยเหลือ และแทรกแซงเศรษฐกิจภายใน เนื่องจากในอดีตไม่มีการแทรกแซงโดยรัฐ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการให้มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมของรัฐ การพัฒนาและสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเกษตร ที่สำคัญคาดหวังว่ารัฐจะต้องจัดให้มีการวางสถาบันทางเศรษฐกิจและต้องมีเครื่องมือทางการเงินใหม่ เพื่อเป็นฐานทางการเงินให้แก่ราษฎรในประเทศได้สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้

Article Details

บท
Articles

References

ชัยอนันต์ สมุทรวณิช, การเมืองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย, (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523), 164.

ณัฎพงษ์ สกุลเลี่ยว, วิธีวิทยาของการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย, (พิษณุโลก: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2564), 7.

เพิ่งอ้าง, 9.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, “ความนึกคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจของราษฎรในสมัยของการปฏิวัติทศวรรษ 2470” ใน ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475, พิมพ์ครั้งที่ 3, (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2560), 127.

เพิ่งอ้าง, 164.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, “การแสวงหาระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงหนึ่งทศวรรษภายหลังการปฏิวัติสยาม 2475” ใน ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475, อ้างแล้ว, 236.

Makoto Nambara, Economic plans and the evolution of economic nationalism in Siam in the 1930s, (Doctoral dissertation, University of London, School of oriental of African studies, 1998), 154-155.

เพิ่งอ้าง, 259.

ศราวุฒิ วิสาพรม, ราษฎรสามัญหลังการปฏิวัติ 2475, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2559).

แถมสุข นุ่มนนท์, ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2565).

ประชาชนเหล่านี้ที่กล่าวถึงผู้วิจัยหมายถึงกลุ่มคนที่เขียนจดหมายถึงกลุ่มผู้นำใหม่ ซึ่งค้นคว้าจากเอกสาร หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.25 หมวดคำร้องเรียนและแสดงความคิดเห็น ซึ่งในช่วงปีแรกนั้นมีจดหมายประเภทนี้อยู่ 400 กว่าเรื่อง แม้ว่าเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรสยามในขณะนั้น 12 ล้านคนแล้วจะไม่สามารถแทนค่าประชากรทั้งหมดทั่วประเทศได้ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของงานวิจัยชิ้นนี้ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าประชากรกลุ่มหนึ่งนั้นกระตือรือร้นและมีความคาดหวังกับระบอบการเมืองใหม่ และยินดีที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเมื่อพื้นที่ทางการเมืองเปิดให้สามารถแสดงความคิดเห็นได้

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, “ความนึกคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจของราษฎรในสมัยของการปฏิวัติทศวรรษ 2470” ใน ความคิด ความรู้ และอำนาจทางการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475, อ้างแล้ว, 142.

ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย,พิมพ์ครั้งที่ 8, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544), 120.

โปรดดู แถมสุข นุ่มนนท์, ยังเติร์กรุ่นแรก : กบฏ ร.ศ.130, (กรุงเทพฯ : สายธาร, 2545).

กุลลดา เกษบุญชู มี้ด, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย, (นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน, 2562), 327.

อัจฉรา กมุทพิสมัย, ปัญหาภายในสังคมไทยก่อนการปฏิวัติ 2475 : ภาพสะท้อนจากงานเขียนทางหนังสือพิมพ์, (กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2532).

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475, พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2553).

แถมสุข นุ่มนนท์, ฟื้นอดีต, (กรุงเทพฯ: ก้องเกียรติ, 2522), 70-71.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, บร.7บ/10, เรื่องนายภักดี นายไทยเห็นควรตั้งกฎหมายคอนสติตูชั่น.

เพิ่งอ้าง.

พูนพิศสมัย ดิสกุล,มจ, สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (รวมเล่ม), พิมพ์ครั้งที่ 2, ( กรุงเทพฯ: มติชน, 2557), 113.

พรภิรมณ์ (เอี่ยมธรรม) เชียงกูล, ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่เล่ม 1 (2475-2524), (กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2535), 40.

ศรีกรุง, 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475.

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร. 0201.16/21, เรื่องคำสั่งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร คราวเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ.2475).

นรนิติ เศรษฐบุตร, “หลวงนฤเบศร์มานิตกับงานเสรีไทย” (เว็บไซต์), http//ndex.php?title=หลวงนฤเบศร์มานิต (สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.16/27, เรื่องรายงานผู้สืบราชการลับ,

เพิ่งอ้าง, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.16/35, เรื่องรายงานผู้สืบราชการลับ.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.16/28, เรื่องรายงานผู้สืบราชการลับ.

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.16/26, เรื่องรายงานผู้สืบราชการลับ.

เพิ่งอ้าง, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.16/28, เรื่องพระครูมหาโต.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.16/30, เรื่องรายงานผู้สืบราชการลับ.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.16/22, เรื่องรายงานผู้สืบราชการลับ.

แถมสุข นุ่มนนท์, ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475, 180-181.

ผู้วิจัยพบเอกสารชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจับตามองการเคลื่อนไหวของคอมมิวนิสต์เนื่องจากมีการตั้งกรรมการพิจารณา เรื่องคอมมิวนิสต์ และบอลเชวิค ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2470 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร. 7 บ.8/4, เรื่องตั้งกรรมการพิจารณาเรื่องคอมมูนิสต์ และบอลเชวิค; พรรณี บัวเล็ก, กุลีลากรถกับประวัติศาสตร์แรงงานไทย, (กรุงเทพฯ: พันธกิจ, 2546), 124. ดูร่วม เออิจิ มูราชิมา, กำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์สยาม (พ.ศ. 2473-2479), (กรุงเทพฯ: มติชน, 2555).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.16/23, เรื่องรายงานผู้สืบราชการลับ; หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.16/24, เรื่องรายงานผู้สืบราชการลับ.

ศรีกรุง,1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สร.0201.16/23 เรื่องรายงานผู้สืบราชการลับ.

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.16/26, เรื่องรายงานผู้สืบราชการลับ.

ศรีกรุง, 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.25/87, เรื่องนายสุข ฉายาชวลิต ส่งเสริมกิจการในหน้าที่ของรัฐบาลคือ 1 ควรเลิกการจ่ายเงินสินบน 2 จัดโครงการกระทรวงมหาดไทยเสียใหม่ 3 เลิกใช้นามบรรดาศักดิ์ 4 เลิกใช้คำว่าผู้รั้ง (พ.ศ. 2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.25/23, เรื่องมาโนช เศรษฐ์บุตร์ กับพวก 5 คน เสนอความเห็นว่า ไม่ควรเลิกบรรดาศักดิ์ข้าราชการเสีย ควรมียศถาและบรรดาศักดิ์ไว้เช่นเดิม เพื่อจะได้ให้เป็นรางวัลหรือสินน้ำใจ และเป็นที่ระลึกแทนการขึ้นเงินเดือนแก่ผู้ทำดีทำชอบในสมัยการฝืดเคืองนี้ (พ.ศ. 2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.25/18, เรื่องความเห็นของนายรักชาติ ขอให้ข้าราชการนุ่งผ้าพื้นเมืองที่อยู่ในเมืองไทย แทนที่จะนุ่งผ้าม่วง (พ.ศ. 2475) และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.25/16, เรื่องความเห็นนายพิศ ปัญญาลักษณ์ ให้เลิกการนุ่งผ้าโจงกระเบน (พ.ศ. 2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.25/78, เรื่องหลวงระงับประจันตคาม แสดงความเห็นเกี่ยวกับวงงานของราชการ (พ.ศ. 2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.25/291, เรื่องความเห็นของมหาชนชาวสยามเสนอความเห็นวิธีจัดให้บ้านเมืองเจริญ (พ.ศ.2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.25/117, เรื่องความเห็นของ น.ม.ส ราษฎรชนบท ควรตั้งโรงเรียนที่มีมัธยมตามอำเภอต่าง ๆ (พ.ศ. 2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.40/36, เรื่องนายเพ่ง บุนนาค ขอตั้งโรงเรียนธรรรมนูญนิยมและรัฐวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. 2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.8/17, เรื่อง นายเพ่ง บุนนาค เสนอความเห็นรวมหลายเรื่อง ด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติ และการปกครองฯ (พ.ศ. 2575-2476).

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และสุธี ประศาสน์เศรษฐ, “ระบบเศรษฐกิจไทย” ใน ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ. 2484, (กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527), 449.

ดู Makoto Nambara, “Economic plans and the evolution of economic nationalism in Siam in the 1930s”, (Doctoral dissertation, University of London, School of oriental of African studies, 1998).

เอกวัฒน์ จิตสำรวย, “หลัก 6 ประการของคณะราษฎร” (เว็บไซต์), https://www. http://wiki.kpi.ac.th/index.หลัก_6_ประการของคณะราษฎร (สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร. 0201.25/ 29, เรื่องผู้ได้รับความจนซึ่งเป็นคนไทย ขอให้รับช่วยเหลือ ความขัดสนอดหยากของพลเมืองโดยเร็ว (พ.ศ. 2475).

ดู หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร. 0201.25/ 102, เรื่องพระยาคำวิจิตรธุรุราษฎร์ แสดงความเห็นเรื่อง การทำนา การสำรวจชายหญิงซึ่งไม่มีงานทำ การพนันและอื่น ๆ (พ.ศ. 2475); หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร. 0201.25/42, เรื่องนายประสิทธิ นาโต ขอให้ช่วยเหลือกรรมกร และชาวนาโดยเร็ว หรือให้ตั้งกรรมการแก้ไขเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร. 0201.25/ 112, เรื่องความเห็น นายพรหม สูตรสุคนธ์ ว่ารัฐบาลควรตั้งสมาคมช่วยคนไร้งานโดยให้สมาชิกเสียค่าบำรุง และเงินจำนวนนี้เป็นเงินประกันการไร้งาน จะได้ช่วยอุปถัมภ์สมาชิกที่ไม่มีงานทำในเวลาต่อไป (พ.ศ. 2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร 0201.25/504, เรื่องนายสาย สามนกฤษณะ เตือนเหตุบกพร่องและการแก้ไขเศรษฐกิจของชาวสยาม (พ.ศ. 2476); หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร 0201.25/429, เรื่องพระมหาพูล ภากโร แสดงความเห็นเกี่ยวกับการบ้านเมือง (Political opinion) (พ.ศ.2475).

ดู มังกร สามเสน, โครงการณ์เศรษฐกิจ พาณิชยการ กสิกรรม และอุตสาหกรรม, (พระนคร: โรงพิมพ์ใต้เชียง, 2490); หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร 0201.25/536, เรื่องส่งร่างแผนโภคกิจสำหรับประเทศสยามของนายโชติ คุ้มพันธ์ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา; หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร 0201.8/14, เรื่องนายโชติ คุ้มพันธุ์ (พ.ศ.2475-2476); หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร. 0201.25/ 42, เรื่องนายประสิทธิ นาโต ขอให้ช่วยเหลือกรรมกร และชาวนาโดยเร็ว หรือให้ตั้งกรรมการแก้ไชเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร. 0201.25/ 105, เรื่องนายทาเสนอความเห็นว่ารัฐบาลควรจะทำเหรียญทองใช้ และขอกู้เงินจากสหกรณ์ชาวนาเพื่อช่วยกรรมกรที่ไม่มีงานทำ (พ.ศ. 2475); หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร.0201.40/ 41, เรื่องนางเภา สุดใจ ขอกู้เงินจากคณะราษฎร (พ.ศ. 2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร 0201.25/239, เรื่องความเห็นของราษฎรขอให้ลดเงินค่ารัชชูปการ (พ.ศ.2475); หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร 0201.25/146, เรื่องความเห็นเรื่องเงินรัชชูปการ (พ.ศ.2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สร 0201.25/614, เรื่องบัตรสนเท่ห์ เสนอความเห็นช่วยเหลือราษฎร (พ.ศ.2476).

สมศักดิ์ มหาทรัพย์สกุล, การเก็บเงินรัชชูปการและผลกระทบต่อสังคมไทย ระหว่าง พ.ศ. 2444-2482, (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. (ประวัติศาสตร์), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2534).