ทุนและการสร้างทุนของผู้นำสตรีภาคประชาสังคม จังหวัดชลบุรี ด้วยแนวคิดทุนของ ปิแอร์ บู ร์ดิเออ

Main Article Content

รุ้งนภา ยรรยงเฏษมสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องทุนกับผู้นำชุมชนสตรี ในจังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษาทุนและการสร้างทุนตามกรอบแนวคิดของปิแอร์ บูร์ดิเออ กับการเป็นผู้นำชุมชนสตรี โดยได้ทำการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนสตรี จำนวน 8 คน การทำงานในระดับชุมชน  ทุนมีความสำคัญต่อการทำงานและการเป็นผู้นำชุมชน กล่าวคือ 1) ทุนทางเศรษฐกิจ การทำงานภาคประชาสังคม ไม่มีเงินเดือนค่าจ้าง มีเพียงเบี้ยประชุม และค่าน้ำมันในการเดินทาง ผู้นำชุมชนจึงต้องมีอาชีพที่พอเลี้ยงชีพได้ เพื่อจะได้ไปทำงานชุมชนได้ 2) ทุนทางวัฒนธรรม พบว่า สำหรับทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในร่างกายหรือฮาบิตุส มีความสำคัญกับการเป็นผู้นำอย่างมาก และสามารถเห็นทุนนี้ผ่านการแสดงออกแนวกิริยา หรือปฏิบัติการ ทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในรูปของสถาบันการศึกษามีความสำคัญในแง่ของการเป็นพื้นที่ในการสร้างและบ่มเพาะคุณลักษณะของความเป็นผู้นำ แต่ไม่ได้มีความสำคัญในแง่ของการรับประกันคุณสมบัติ และทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในรูปวัตถุ ที่พบว่ามีความสำคัญต่อผู้นำชุมชนน้อยมาก 3) ทุนทางสังคม คือเครือข่ายความสัมพันธ์ตั้งแต่ระดับชุมชนจนระดับชาติ การมุ่งมั่นทำงาน พบปะบ้าน เข้าร่วมประชุม คือที่มาสำคัญของทุนทางสังคม  4) ทุนสัญลักษณ์ ได้มาจากการทำงานจนเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยกย่อง ทุนเหล่านี้ถูกสร้างและสั่งสมผ่านยุทธศาสตร์การผลิตซ้ำที่ครอบครัวและสถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญ และยุทธศาสตร์การแปลงซ้ำที่ต้องใช้เวลาในการแปลงทุน รูปแบบและปริมาณของทุนมีส่วนสำคัญในการกำหนดตำแหน่งและความสัมพันธ์กับตำแหน่งอื่นๆ ในสนาม และในฐานะผู้นำชุมชนสตรี การใช้คุณลักษณะของความเป็นผู้หญิง การวางตัว และการปรับตัว ได้แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์ และการครอบงำของเพศชาย

Article Details

บท
Articles

References

Claire Bénit-Gbaffou and Obvious Katsaura, Community Leadership and the Construction of Political Legitimacy: Unpacking Bourdieu's ‘Political Capital’ in Post-Apartheid Johannesburg. International Journal of Urban and Regional Research, Vol. 38, Issue 5, (September 2014), 1807 https://www.researchgate.net/publication/263670602_Community_Leadership_and_the_Construction_of_Political_Legitimacy_Unpacking_Bourdieu's_'Political_Capital'_in_Post-Apartheid_Johannesburg (accessed 10 January 2018).

เอมอร แสนภูวา, บทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา กรณีศึกษา อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ : รายงานวิจัยชุมชนฉบับสมบูรณ์, (กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า, 2561).

มะพาริ กะมูนิง, มารุยูกี รานิง และ ตายูดิน อุสมาน, รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์: บทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดของกลุ่มเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, https://shorturl.asia/fWJr5 (สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562).

สภาองค์กรชุมชน, https://ref.codi.or.th/2015-08-04-11-01-52/11049-2010-03-09-08-35-38 (สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562).

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP00002.php (สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2565).

ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 125 ตอนที่ 31 ก, 8 กุมภาพันธ์ 2551, 26.

ปิรญญา, https://shorturl.asia/FpZXf (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564).

จังหวัดชลบุรี, http://dn.core-website.com/public/dispatch_upload/backend/core_dispatch_223624_1.pdf (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564).

RECOFTC ประเทศไทย, https://www.recoftc.org/thailand/stories-1 (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564).

George Ritzer and Barry Smart, Handbook of Social Theory, (London: Sage Publications, 2003), 45.

Pierre Bourdieu, Distinction: A Social Critique of the Judgement of Taste, (London: Routledge, 1989).

Pierre Bourdieu and Jean Claude Passeron, The Inheritors: French Students and Their Relation to Culture, (Chicago: University of Chicago Press, 1979).

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, “มโนทัศน์ชนชั้นและทุนของปิแอร์ บูร์ดิเออ,” เศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (2557), 36-41.

Pierre Bourdieu, Outline of a Theory of Practice, (Cambridge: Cambridge University Press, 1977), 83.

Francis Fukuyama, Social Capital and Civil Society, IMF Working Papers from International Monetary Fund No 2000/074 (April 2000), https://www.imf.org/external/pubs/ft/wp/2000/wp0074.pdf (accessed 10 January 2018).

Arta Ante, “Exploring Social Capital, a Missing Link in the State-Building and Development Process in Kosovo,” L'Europe en Formation, No 349-350 (2008), 205-222.

John Harris, Social Capital Construction and the Consolidation of Civil Society in Rural Areas (or, Public Action and Rural Development), Working Paper Series, November 2001, Development Destin Studies Institute, London School of Economics and Political Science, https://www.files.ethz.ch/isn/138127/WP16.pdf (accessed 10 January 2018).

Kenneth Newton, “Trust, Social Capital, Civil Society, and Democracy,” International Political Science Review, Vol 22 No 2, (2001), 201-214, http://www.lead.colmex.mx/docs/s4/02_sociedad%20civil%20y%20ONG/NEWTON_trust%20social%20capital%20civil%20society.pdf (accessed 10 January 2018).

Shelly Mccallum and David O’Connell, (2009). “Social Capital and Leadership Development: Building Stronger Leadership through Enhanced Relational Skills,” Leadership and Organization Development Journal. Leadership and Organization Development Journal, Volume 30, Number 2, 2009,152–166, https://www.researchgate.net/publication/241280243_Social_capital_and_leadership_development_Building_stronger_leadership_through_enhanced_relational_skills (accessed 10 January 2018).

Jeff Zacharakis and Jan Flora, “Riverside: A Case Study of Social Capital and Cultural Reproduction and their Relationship to Leadership Development”, Adult Education Quarterly, Vol 55, Issue 4, 2009, 288-307.

Cyntia Roberts, “Building Social Capital through Leadership Development,” Journal of Leadership Education, Volume 12, Issue1-Winter, 2013, 54-73. https://journalofleadershiped.org/wp-content/uploads/2019/02/12_1_Roberts.pdf (accessed 10 January 2018).

Claire Bénit-Gbaffou and Obvious Katsaura, International Journal of Urban and Regional Research, Cited, 1809-1810.

Kari Keating and Stephen P. Gasteyer, The Role of Cultural Capital in the Development of Community Leadership: Toward an Integrated Program Model, Community Development, Vol.43, Issue 2, (May 2012), 147-168, https://shorturl.asia/YXqe2 (accessed 10 January 2018).

Cornelia Butler Flora, Jan L. Flora and Stephen P. Gasteyer, Rural Communities: Legacy and Change, (Boulder, CO: Westview Press, 2015), 62.

คุณหนู (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 22 มกราคม 2560.

คุณจิ๊บ (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 7 ธันวาคม 2559.

คุณส้ม (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 6 มกราคม 2560.

คุณนิด (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 7 ธันวาคม 2559.

คุณจิ๊บ (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, อ้างแล้ว.

คุณส้ม (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, อ้างแล้ว.

คุณหนู (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, อ้างแล้ว.

คุณยิ้ม (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 16 มกราคม 2560.

คุณตุ๊กตา (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 22 ธันวาคม 2559.

คุณนก (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 5 มกราคม 2560

คุณนิด (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 7 ธันวาคม 2559

คุณยิ้ม (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, อ้างแล้ว.

Pierre Bourdieu, Outline of a Theory of Practice, Cited, 72-79.

คุณหนู (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, อ้างแล้ว.

คุณนกแก้ว (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 6 มกราคม 2560.

คุณจิ๊บ (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, อ้างแล้ว.

คุณสมควร (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 12 มกราคม 2560. และ คุณสมจิต (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 12 มกราคม 2560.

Pierre Bourdieu and Loic J.D. Wacquant, An Invitation to Reflexive Sociology, (Chicago: The University of Chicago Press, 1992), 16.

Pierre Bourdieu, Language and Symbolic Power, (Cambridge: Polity Press, 1991), 14.

คุณหนู (นามสมมติ), สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, อ้างแล้ว.

Pierre Bourdieu, Masculine domination, (Cambridge: Polity Press, 2001), 2.

Rungnapa Yanyongkasemsuk, “Capital Characteristics of Thai Elite in the Bangkok Period (1782-2007)," Asian Review, Vol. 20, (2007), 165-196.

Pierre Bourdieu, The Logic of Practice, (Cambridge: Polity Press, 1990), 54.

Pierre Bourdieu, The State Nobility: Elite Schools in the Field of Power, (Cambridge, UK: Polity, 1998), 272.

Arthur C. Danto, (1999). “Bourdieu on Art: Field and Individual” in Richard Shusterman, Bourdieu: A Critical Reader, (Oxford, U.K.: Blackwell, 1999), 216.

ณัถฑ์ เขียวงาม, บทบาทผู้นำชุมชนกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน กรณีศึกษา เทศบาลเมืองบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร, (โครงการวิจัย, สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2556).

กัลญา อุปัชฌาย์, วัชรินทร์ สุทธิศัย และสิทธิพรร์ สุนทร, “รูปแบบผู้นำสตรีในศตวรรษที่ 21 กับบทบาทการพัฒนาชุมชนของสตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด,” วารสารการเมืองการปกครอง, ปีที่ 12, ฉบับที่ 1 (2565),189-203.

Francis Fukuyama, Social Capital and Civil Society, IMF Working Papers from International Monetary Fund No 2000/074 (April 2000), https://www.imf.org/external/pubs/ft/wp/2000/wp0074.pdf (accessed 10 January 2022).

John Harris, Social Capital Construction and the Consolidation of Civil Society in Rural Areas (or, Public Action and Rural Development), Working Paper Series, November 2001, Development Destin Studies Institute, London School of Economics and Political Science, https://www.files.ethz.ch/isn/138127/WP16.pdf (accessed 10 January 2022).

อสมา มังกรชัย, “มองโครงสร้างอำนาจชายแดนใต้ผ่านการวิเคราะห์การสะสมทุนของนักการเมืองมุสลมิมลายูกรณีศึกษา อับดุลลาเต๊ะ ยากัด,” วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, ปีที่ 9, ฉบับที่ 2 (2564), 82-101.

Mohd Hisham Ariffin, Abdul Rahman Abdul Rahim, Ruslan Affendy Arshad and Ruzaini Zahari, “Leadership-Relevant Bourdieu Capitals of Design Consultant Firms’ Managers in the Malaysian Construction Industry,” Malaysian Construction Research Journal, Vol. 8, No 3 (2020), 60-76, https://www.researchgate.net/publication/341426123_LEADERSHIP-RELEVANT_BOURDIEU_CAPITALS_OF_DESIGN_CONSULTANT_FIRMS'_MANAGERS_IN_THE_MALAYSIAN_CONSTRUCTION_INDUSTRY (accessed 10 January 2022).

Kari Keating and Stephen P. Gasteyer, “The role of cultural capital in the development of community leadership: toward an integrated program model,” Community Development, Vol 43, No.2 (2012), 147-168, DOI: 10.1080/15575330.2011.575229 (accessed 10 January 2022).

อสมา มังกรชัย, “บทบาททางเพศและการต่อรองของผู้หญิงมุสลิมชายแดนใต้ กรณีผู้บริหารสตรีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ผ่านแนวคิด ทุน ฮาบิตุส และสนาม ของปิแอร์ บูร์ดิเออ,” รัฐศาสตร์สาร, ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 (2565), 1-30.

เอกชัย ปิ่นแก้ว. ผู้หญิง...สร้างบ้าน: จัดพิมพ์เพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิของคนจนเมืองจากประสบการณ์ของผู้หญิงนักสู้ อาภร วงษ์สังข์ ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการด้านสิทธิที่อยู่อาศัย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2560.