หนุนนำอำนาจรัฐ : รัฐศาสตร์สำนักธรรมศาสตร์ (2492 – 2526)

Main Article Content

พชร ล้วนวิจิตร

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันปรากฎเรื่องเล่าของคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นมีอยู่มากมายทั้งจากบันทึกความทรงจำ และงานเขียนที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยหรือบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ยังคงมีอยู่ค่อนข้างน้อย อาทิ งานวิจัยของ อ. อนุสรณ์ ลิ่มมณี และบทความของ อ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ บทความชิ้นนี้จึงมีความประสงค์ที่จะเติมเต็มช่องว่างของเรื่องราวในคณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยอาศัยการศึกษาทางมิติประวัติศาสตร์ (Historical Perspective) ในการบอกเล่าเรื่องราวของคณะ โดยผ่านจุดกำเนิดของคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรของคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ความสัมพันธ์ของคณาจารย์ในคณะและความเกี่ยวข้องของคณะรัฐศาสตร์กับการเมืองภายในประเทศ การเกิดขึ้นและความเปลี่ยนแปลงของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งบทความชิ้นนี้จะบอกเล่า และเติมเต็มเรื่องราวเหล่านี้ให้มีความครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
Articles

References

ในส่วนของเรื่องเล่าของจุดกำเนิดของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถดูได้จากหนังสืออนุสรณ์งานศพจากอดีตดคณาจารย์ในคณะ อาทิ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจตรี ยุทธพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง 26 เมษายน 2515, 51-60., สุนทรพิพิธ, “สืบประวัติรัฐศาสตร์,” ใน ธวัชชัย ไชยชนะ (บก.), มหาวิทยาลัย ฉบับ จุฬาฯ นิยม, (พระนคร: 2492), 20-40. เป็นต้น

อนุสรณ์ ลิ่มมณี, พัฒนาการรัฐศาสตร์ในกระแสการเปลี่ยนแปลง: การปรับทิศทางและหลักสูตรการศึกษา, (วิจัย, โครงการวิจัยกาญจนาภิเษกสมโภช, 2540).

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, “วิชารัฐศาสตร์ไทยในบริบทของประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง,” รัฐศาสตร์สาร, ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (2542).

ดิเรก ชัยนาม, “การก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,” ใน รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เกียรติตระการ, (กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2555), 33.

อังคณานุรักษ์, “การก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์ยุคล่าสุด” ,ใน อนุสรณ์จาก หลวงอังคณานุรักษ์ ๒๔ มีนาคม ๒๕๑๓, (พระนคร: แสงทองการพิมพ์, 2513), 57. ได้กล่าวเอาไว้ว่า “วัตถุประสงค์ที่จัดตั้งคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณขึ้น เพื่อเป็นแม่พิมพ์ปั้นนักปกครอง ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Administration ส่วนรัฐศาสตร์ของธรรมศาสตร์นั้นมุ่งปลุกปั้นนักการเมืองเพื่อเป็นผู้แทนหรือเป็นรัฐมนตรี ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Political Science ภาษาไทยเราไม่มีคำแปลโดยเฉพาะ จึงใช้คำว่า “รัฐศาสตร์” รวม ๆ กันไป” แต่สิ่งที่น่าสงนสงสัยต่อมาจากข้อความข้างต้นก็คือเหตุใดถึงได้มีการพูดถึง “คณะรัฐศาสตร์” ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพราะ คณะรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 ในขณะที่คณะรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ตั้งในปี พ.ศ. 2491 หรือเป็นการกล่าวถึงในการศึกษาในระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือเป็นความเข้าใจผิดของผู้เขียนบทความดังกล่าว (เรื่องนี้ผู้เขียนก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้แน่ชัด).

ดิเรก ชัยนาม, “การก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,” ใน รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เกียรติตระการ, (กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2555), 33-35.

เพิ่งอ้าง, 34, โดยหลักสูตรดังกล่าวนั้น ดิเรก ระบุว่าเข้าได้รับคำแนะนำจาก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์, พระยาสุนทรพิพิธ, มาลัย หุวะนันทน์, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร์ และประเสริฐ ปทุมานนท์ เป็นต้น ในการร่างหลักสูตรของคณะรัฐศาสตร์.

ไม่ปรากฏ, “ประวัติสังเขป,” ใน อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาสุนทรพิพิธ ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ. (เชย สุนทรพิพิธ) ณ เมรุหน้าศาลาทักษิณาประดิษฐ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน 18 กันยายน 2516, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2516), 7.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง, 13-18.

สุนทรพิพิธ, “สืบประวัติรัฐศาสตร์,” ใน ธวัชชัย ไชยชนะ (บก.), มหาวิทยาลัย ฉบับ จุฬาฯ นิยม, (พระนคร: 2492), 39.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.21/10, ที่ระลึกวันสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 41 ปี (27 มิถุนายน 2518). และ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.), รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 31/2493 (พิเศษ) วันที่ 19 มิ.ย.2493. คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีมติให้ทำการแก้ไขกฎ ก.พ. ฉบับที่ 110 เพื่อให้บัณฑิตจากคณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสิทธิและอัตราที่เท่าเทียมกันในการเข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทย รวมไปถึงการปรับปรุงหลักสูตรของทั้งสองมหาวิทยาลัย ให้มีความพร้อม และเหมาะสมในการทำงานให้กับกระทรวงมหาดไทย)

คณะรัฐศาสตร์ได้จัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี พ.ศ. 2492 พร้อม ๆ กับการแยกคณะอีก 3 คณะภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันได้แก่ 1. คณะนิติศาสตร์ 2. คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี 3. คณะรัฐศาสตร์ และ 4. คณะเศรษฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ใน พ.ศ. 2495

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.21/36, 27 มิถุนายน 2525 จุลสารธรรมศาสตร์ (ฉบับพิเศษ) วันสถาปนา ครบรอบ 48 ปี (2525). อย่างไรก็ตามแต่บทความข้างต้นน่าจะมีความผิดพลาดทางด้านข้อมูลในส่วนของคณบดี เพราะ ทวี จะเข้ามาดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์แทนที่มาลัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.8/1, หลักสูตรคณะรัฐศาสตร์ พ.ศ. 2495 (26 พ.ย. 2495).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.16/1, การประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 12/2495 (25-28 ต.ค.2495).

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.8/6, หลักสูตรคณะรัฐศาสตร์ พ.ศ. 2497 (15 พ.ย. 2497).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/1, พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ข้อบังคับ และระเบียบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2495-2500).

ยุทธพงษ์ พงษ์สวัสดิ์, “ชีวิตหนึ่ง,”ใน ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจตรี ยุทธพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง, (กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์, 2515), 56.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/1, พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ข้อบังคับ และระเบียบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2495-2500).

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.2/20, ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการสมัครเข้าเป็นนักศึกษาชั้นปริญญาตรี ในคณะรัฐศาสตร์ประเภทประจำกินนอน พุทธศักราช 2496 (10 มี.ค. 2496). เนื้อความของข้อบังคับในเอกสารได้มีการระบุถึง จะต้องมีผู้รับรองความประพฤติในการเข้าสมัครคือ “... ผู้รับรองความประพฤติจะต้องเป็นเนติบัณฑิตหรือผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือน หรือผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์เเละรัฐศาสตร์ เเห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ ผู้ที่ได้รับปริญญาใดปริญญาหนึ่งเเห่งมหาวิทยาลัยนี้ หรือข้าราชการตั้งเเต่ชั้นประจำเเผนกขึ้นไป...”

ซึ่งปรากฏอยู่ใน เอกสาร หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/1, พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ข้อบังคับ และระเบียบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2495-2500).

เพิ่งอ้าง.

สำหรับนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จในชีวิตราชการ หลังจากจบการศึกษาในหลักสูตรประเภทประจำ “กินนอน” ขอยกตัวอย่าง อาทิ พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ (พ.ศ. 2536-2537) จากบทสัมภาษณ์ของเขา เขาได้ระบุว่า ตนเป็น “สิงห์แดงรุ่นที่ 6” ที่เลือกเรียนคณะรัฐศาสตร์ก็เพราะตั้งใจที่จะรับราชการตำรวจ (อันเนื่องมาจากสิทธิประโยชน์ของผู้ที่จบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ จะติดยศเป็นว่าที่ร้อยตำรวจโท ขณะที่ผู้สำเร็จการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยตำรวจจะติดยศ ว่าที่ร้อยตำรวจตรี) และระบุว่า การเรียนการสอนรุ่นนั้นเป็นแบบ “นักเรียนประจำ มีหอพักกินนอนอยู่ที่หอพักในธรรมศาสตร์” อ้างถึงในประทิน สันติประภพ, สัมภาษณ์โดย สมเกียรติ สมคำ, ใน รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เกียรติตระการ, (กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2555), 253.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม.4.1.1.11/2, คำให้การเเละเอกสารประกอบการสอบสวนความทุจริตเกี่ยวกับการทะเบียนเเละการสอบไล่ (16 พ.ย. 2494-13 ม.ค. 2497), ในเอกสารฉบับดังกล่าวมีข้อมูลของทำเนียบข้าราชการเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2495 ปรากฏว่า ม.จ. ลักษณเลิศ ชยางกูร เป็น “อาจารย์ประจำคณะ” ของคณะรัฐศาสตร์ เพียงคนเดียวในมหาวิทยาลัย (คณะอื่น ๆ ในขณะนั้น ไม่มีอาจารย์ประจำคณะ) แม้ว่าจะมี น.ส. นวลนาฎ อมาตยกุล เป็นอาจารย์ประจำ เช่นกัน แต่ก็อยู่ใน แผนกภาษาต่างประเทศ.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.16/4, การประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2498 (14 ก.พ. 2498).

เพิ่งอ้าง, สุกิจ จุลละนันท์, “ความเป็นเลิศ” ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ พันตรี หม่อมเจ้าลักษณเลิศ ชยางกูร ต.ม., (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, 2518), 27. สุกิจ จุลละนันท์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร (ในขณะนั้น) เป็นศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 2 พ.ศ. 2492 ซึ่งระบุว่าเคยได้ศึกษากับ ม.จ. ลักษณเลิศ ชยางกูร.

ตำแหน่ง “อาจารย์ผู้ปกครอง” มีหน้าที่ในการดูแลนักศึกษาในหลักสูตรกินนอนทั้งในเรื่องระเบียบวินัย, การรักษาข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวของนักศึกษา การรักษาความสะอาด การแต่งกาย ระเบียบการรับประทานอาหาร ตลอดจนเป็นผู้กำหนดข้อปฏิบัติในห้องบรรยาย หรือเปรียบตำแหน่งนี้ได้กับ “อาจารย์ฝ่ายปกครองในโรงเรียน” โดยอ้างอิงมาจากความเห็นของนักศึกษาหลักสูตรกินนอนรุ่นแรกของคณะ อ้างถึงใน อรุณ แก้วประสิทธิ์, “ป๋าของพวกเรา”, ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจตรี ยุทธพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง, (กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์, 2515), ไม่ระบุเลขหน้า. ดังนี้ “...พวกเราเป็นนักเรียนหอพักรุ่นแรกของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...ที่ต้องเรียกตัวเองว่า “นักเรียน” ก็เพราะพวกเราทั้ง ๒๓ คน และรุ่นที่สองอีกกว่าสามสิบคน ต้องอยู่ ต้องกิน ต้องเล่น มีวินัย และมีเวลาพักผ่อนเหมือนกับนักเรียนประจำ...ประตูแดงกำแพงเหลืองเปิดโล่งทั้งวันทั้งคืนก็จริง แต่พวกเราออกไปชมโลกข้างนอกได้เฉพาะตั้งแต่วันศุกร์ อย่างดีก็เพียงเกร่ไปเกร่มาแถวท่าน้ำท่าพระจันทร์ จนพวกเราหลายคนในจำนวนกว่าห้าสิบได้แฟนสาวชาวท่าพระจันทร์เป็นคู่นอน จนบัดนี้...ถึงแม้ระเบียบและข้อบังคับของหอพักคณะรัฐศาสตร์รุ่นแรกจะไม่เข้มงวดนัก แต่พวกเราน้อยคนที่จะละเมิดกฎที่ว่านี้...เพราะอะไรหรือ...เพราะเรายำเกรงและเคารพท่านอาจารย์ผู้ปกครอง ที่เราพากันเรียกว่า...ป๋า.จนติดปากอาจารย์ผู้ปกครองของพวกเราซึ่งโอนมาจากกรมตำรวจเพื่อมาทำหน้าที่อาจารย์ปกครองพวกเราโดยเฉพาะ...”

ศิษย์รัฐศาสตร์ มธ. รุ่น 1, “คำไว้อาลัย แด่ อาจารย์ พ.ต.ต. ยุทธพงษ์ พงษ์สวัสดิ์,” ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจตรี ยุทธพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง, (กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์, 2515), ไม่ปรากฏเลขหน้า.

สาเหตุที่ พ.ต.ต. ยุทธพงษ์ ได้โอนย้ายมาเป็น อาจารย์ผู้ปกครอง ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าตัวของเขานั้นไม่ได้รับความยุติธรรมในการโยกย้ายตำแหน่ง จึงทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้อยากจะลาออกจากราชการตำรวจไปประกอบอาชีพอื่น จึงได้ไปปรึกษากับ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ตามความใน ยุทธพงษ์ พงษ์สวัสดิ์, “ชีวิตหนึ่ง,”ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจตรี ยุทธพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง, (กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์, 2515), 54. ว่า

“...ข้าพเจ้าได้นำความไปปรึกษากับ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ท่านอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งข้าพเจ้ามีความเคารพท่านประดุจพี่ชาย...พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฝ่ายวิชาการอยู่ด้วย เมื่อท่านทราบความประสงค์ของข้าพเจ้าก็ยิ้มเฉยไม่พูดว่าอะไร เป็นแต่บอกว่า ฯ พณ ฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้นซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังต้องการผู้ที่สมัครใจไปปฏิบัติงานพิเศษอยู่ ให้ข้าพเจ้าอดใจไว้ก่อน...”

เพิ่งอ้าง, 55.

โดย พ.ต. ม.จ. ลักษณเลิศ ชยางกูร ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก (ทรงสอบไล่ได้เป็นลำดับที่ 1) อีกทั้งยังทรงสำเร็จการศึกษาจากสถาบันทางการทหารชั้นสูงของต่างประเทศอีกหลายแห่ง ขณะที่ พ.ต.ต. ยุทธพงษ์ พงสวัสดิ์ จบจาก โรงเรียนายร้อย จปร. หลักสูตรพิเศษ.

อนุสรณ์ ลิ่มมณี, พัฒนาการรัฐศาสตร์ในกระแสการเปลี่ยนแปลง: การปรับทิศทางและหลักสูตรการศึกษา, (วิจัย, โครงการวิจัยกาญจนาภิเษกสมโภช, 2540), บทที่ 3, ได้มีการระบุถึง ยวด เลิศฤทธิ์ อาจารย์พิเศษในคณะ ผู้เป็นข้าราชการกระทรวงต่างประเทศ ที่จบปริญญาโททางด้านการทูตมาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก สอนในวิชาความรู้ทั่วไปในทางรัฐศาสตร์ในปี พ.ศ. 2493 และเป็นผู้เสนอให้คณะเพิ่มวิชาประวัติทฤษฎีทางการเมือง ซึ่งเป็นศาสตร์แบบอเมริกา เข้าไปไว้ในหลักสูตรของคณะ.

ลักษณเลิศ ชยางกูร, “คำบรรยายประวัติศาสตร์สากล พ.ศ. 2494,” ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์พันตรี หม่อมเจ้าลักษณเลิศ ชยางกูร ณ เมรุวัดธาตุทอง, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, 2518), 123.

อนุสรณ์ ลิ่มมณี, พัฒนาการรัฐศาสตร์ในกระแสการเปลี่ยนแปลง: การปรับทิศทางและหลักสูตรการศึกษา, (วิจัย, โครงการวิจัยกาญจนาภิเษกสมโภช, 2540), บทที่ 3.

เพิ่งอ้าง..

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.16/4, การประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2498 (14 ก.พ. 2498).

ไม่ทราบผู้เขียน, “ประวัติส่วนตัวและประวัติงาน ของ ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์,” ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, 2522), 8. ระบุว่า มาลัย ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2498.

โดยอาจารย์ทั้งสองท่านมีส่วนในการก่อตั้งคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังต่อไปนี้ นายมาลัย หุวะนันทน์ ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคนแรก (11 ส.ค. 2498 - 31 มี.ค.2509) และเป็นผู้เสนอให้มีการก่อตั้งคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วน ม.จ. ลักษณเลิศ ชยางกูรนั้น ทรงเป็นกรรมการทำสัญญา จัดตั้งคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับมหาวิทยาลัยอินเดียนาแห่งสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2498 โดยอิทธิพลส่วนหนึ่งจากการได้รับการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกาของ มาลัย หุวะนันท์นี้เองที่ทำให้เกิดการผลักดันให้มีการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์อย่างเป็นเอกเทศขึ้นในประเทศไทย รวมไปถึงในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาลัย หุวะนันทน์, “สิ่งที่ข้าพเจ้าภูมิใจ,” ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, 2522), 72.

เพิ่งอ้าง, 74.

ปูมหลังที่น่าสนใจอีกประการคือ ประวัติการศึกษาของ นายมาลัย หุวะนันทน์ ซึ่งเคยมีประวัติการศึกษาดังนี้ ได้รับปริญญา M.A. (Political Science) on University of The Philippines เมื่อ พ.ศ. 2480 ได้รับปริญญา M.A. (Public administration) on University of Michigan เเห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2482 และได้รับปริญญา Ph.D. (Political Science) on University of Michigan เเห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2485 สำหรับทางด้านการสอนตั้งเเต่ พ.ศ. 2491 ถึง พ.ศ. 2493 เคยเป็นอาจารย์ประจำ ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์เเละการเมือง เเละโรงเรียนเสนาธิการทหารบก อ้างถึงใน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.16/4, การประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2498 (14 ก.พ. 2498). และนอกจากนี้ นายมาลัย ยังถือว่าเป็นคนไทยคนแรกที่จบปริญญาเอกทางด้านรัฐศาสตร์จากประเทศสหรัฐอเมริกา อ้างถึงใน มาลัย หุวะนันทน์, “สิ่งที่ข้าพเจ้าภูมิใจ,” ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, 2522), 71.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สบ.5.11.4/4 การประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2500 (พ.ศ. 2500)

เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์, การศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ การศึกษาเฉพาะกรณี : นักศึกษาคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วิทยานิพนธ์, รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2508), บทที่ 1.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.17/1, บันทึกการประชุมคณบดี ครั้งที่ 2/2498 วันที่ 18 เม.ย. 2498 (18 เม.ย. 2498). เนื้อความในเอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

“...คณบดีคณะรัฐศาสตร์ (มาลัย หุวะนันท์ - ผู้เขียน) เสนอเรื่องการจัดตั้งคณะรัฐประศาสนศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัย โดยให้อาจารย์ชุบ (กาญจนประกร/ผู้เขียน) เป็นผู้ชี้เเจงว่าเนื่องจากรัฐบาลเราเเละสหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือช่วยเหลือกันในทางเศรษฐกิจ เเละทางมหาวิทยาลัยก็ได้ขอความช่วยเหลือบ้างโดยขอรับความช่วยเหลือในสาขาวิชา Pubilc Administration ซึ่งท่านอธิการบดี (จอมพล ป. พิบูลสงคราม - ผู้เขียน) ได้เห็นชอบเเละเซ็นสัญญากับมหาวิทยาลัยอินเดียนาเเล้ว มีหลักการที่สำคัญคือ 1. จัดการสอนวิชานี้เเก่นักศึกษา 2. ฝึกอบรมข้าราชการของเรา 3. จัดห้องสมุดขึ้นในมหาวิทยาลัย ตามสัญญากำหนดว่า เขาช่วยเงิน 60% (13 ล้าน) เราส่ง 7 ล้าน อายุสัญญามีกำหนด 3 ปี ตามหลัก 3 ข้อนี้ การสอน เขาจะส่งครูมา 5-6 คน ร่วมสอนกับอาจารย์เราตลอดเวลา 3 ปี นักศึกษาที่จะรับเข้าต้องได้ชั้นปริญญาตรีก่อน คือเปิดสอนชั้นปริญญาโท สำหรับชั้นปริญญาตรีนั้นจะจัดหลักสูตรในปีต่อ ๆ ไป สมัยการศึกษา เเบ่งเป็น 2 ภาคตามอย่าง ส.ร.อ. (สหรัฐอเมริกา - ผู้เขียน) คือ มิถุนายน – มีนาคม การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่จะใช้ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยอินเดียนา ห้องสมุดจะจัดผู้ชำนาญของเขามาอบรมพนักงานให้เเละมีโครงการส่งนักศึกษาไป ส.ร.อ. ด้วย ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องจัดตั้งเป็นคณะใหม่ขึ้นอีกคณะหนึ่ง (ต้นเรื่องอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์)...”

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.21/44, จุลสารธรรมศาสตร์ 49 เนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2526 (พ.ศ. 2526).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/10, รายงานการดำเนินงานของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ (พ.ศ. 2500). รายงานดังกล่าวจัดทำโดย มหาวิทยาลัยอินเดียนา เป็นการรายงานผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2499 จนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2500.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/10, รายงานการดำเนินงานของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ (พ.ศ. 2500).

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง, ในพ.ศ. 2500 ได้มีนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือก และถูกส่งไปศึกษาที่ มหาวิทยาลัยอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วจำนวน 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 1) บุญชนะ อัตถากร 2) มานพ เทพวัลย์ 3) ชุบ กาญจนประกร4) อาษา เมฆสวรรค์ 5) ศักดิ์ ผาสุกนิรันดร์ 6) เชื้อ ปริญญาธวัช

จริญญา พึ่งแสง 8) มัลลี อนุมานราชธน 9) อมร รักษาสัตย์ 10) นวนิตย์ โรนเสนา 11) ศรีพงษ์ สระวาศรี 12) อเนก สิทธิประศาสน์ 13) ฉันท์ สมิตเวช14) ชุลิต สุขวิวัฒน์ 15) เสรี เวชชาชีวะ

รุ่นที่ 2 1) ขัติยา อมรทัต 2) บรรโลม ภุชงค์กุล 3) เพ็ญศรี เจริญพาณิชย์ 4) ธวัช ฉัตรเนตร 5) สุกิจ จุลนันทน์ 6) กฤษณ์ เกษแก้ว 7) จรัส ปัตตะพงษ์ 8) เชวง เรียงสุวรรณ 9) สมคิด สารทูลสิงห์ 10) สงัด ศรีวณิก 11) สมศรี สุทธิสำแดง 12) สมบูรณ์ สุพรรณดิษฐ์ 13) อาชวัน วายวานนท์

กลศ วิเศษสุรกาญจน์

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องนี้ โปรดดู, เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์, การศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ การศึกษาเฉพาะกรณี : นักศึกษาคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วิทยานิพนธ์, รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2508), บทที่ 1.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/10, รายงานการดำเนินงานของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ (พ.ศ. 2500).

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 18.1/18, ประวัติและผลงานคณะรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ท.)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.8/1, เรื่อง เชิญประชุมสภามหาวิทยาลัยแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2499 (พ.ศ. 2499).

โดยข้อเสนอนี้ ผู้ที่เสนอก็คือ ประธานสภามหาวิทยาลัยแห่งชาติ โดยเห็นได้จากใน ระเบียบวาระการประชุมสภามหาวิทยาลัยแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2499 วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม 2499 เวลา 9.30 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล... 2. เรื่อง พิจารณาตั้งแผนกวิชาอาชญาวิทยา สังกัดอยู่ในคณะรัฐศาสตร์ ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ประธานสภาเสนอ).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.8/1, เรื่อง เชิญประชุมสภามหาวิทยาลัยแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2499 (พ.ศ. 2499).

เพิ่งอ้าง.

อรุณ แก้วประสิทธิ์, “ป๋าของพวกเรา”, ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจตรี ยุทธพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง, (กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์, 2515), ไม่ปรากฏเลขหน้า.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/10, รายงานการดำเนินงานของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ (พ.ศ. 2500).

สฤษดิ์ ธนะรัชต์, “คำกล่าวเปิดประชุมปลัดจังหวัด และนายอำเภอทั่วราชอาณาจักร,” ใน ประมวลสุนทรพจน์ของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๔, (พระนคร: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2507), 3.

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแค่เพียงนักวิชาการที่มีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับทางด้าน “รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์” ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในแง่มุมที่เกี่ยวข้องในแง่มุมทางการศึกษาเท่านั้น

หอจดหมายเหตุเห่งชาติ, สบ. 18.11/45, บทความเรื่องท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2507).

กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์, “ชีวประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ,” ใน บุญสม อัครธรรมกุล, กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์, ยุคลธร เตชะวนากร (บก.), 90 ปีอดุล วิเชียรเจริญชีวิตและงาน, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559), 29-30.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 18.1/14, นโยบายที่เกี่ยวกับสัญญาการช่วยเหลือทางวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอินเดียนา (29 ธ.ค. 2503).

บุญชนะ อัตถากร, “ท่านรัฐมนตรี มาลัย หุวะนันทน์” ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิง ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นกรมการปกครอง, 2522), ไม่ปรากฏเลขหน้า.

เพิ่งอ้าง, 7.

บุญชนะ อัตถากร, “ระลึกถึง ศาสตราจารย์ทวี แรงขำ,” ใน อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์ ทวีแรงขำ, (ม.ป.พ.), 36.

เพิ่งอ้าง, 35-37.

เพิ่งอ้าง, 37.

เพิ่งอ้าง.

ประภาส จารุเสถียร, “ไม่มีชื่อเรื่อง,” เพิ่งอ้าง, ไม่ระบุเลขหน้า.

ระดม วงษ์น้อม, “ไว้อาลัยท่านศาสตราจารย์ทวี แรงขำ,” เพิ่งอ้าง, 68. และ สนธิ์ บางยี่ขัน, “แบบอย่างของสิงห์ทั้งหลาย,” เพิ่งอ้าง, 69.

หอจดหมายเหตุเห่งชาติ, สบ. 18.11/45, บทความเรื่องท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2507).

นาม พูนวัตถุ, “เพื่อนรักร่วมรุ่น,” ใน หนังสือที่ระลึกในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ ที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2547, (ม.ป.พ.), 116-117. ข้อมูลจากหนังสือระบุว่า โดยที่พวกเขายังคงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนกฎหมายตามเดิม และอาจารย์ชุดเดิมจนจบการศึกษา.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, “วิชารัฐศาสตร์ไทยในบริบทของประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง,” รัฐศาสตร์สาร, ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (2542), 27-28. ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาใน “วิชารัฐศาสตร์” กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2476 เกิดการยุบรวมโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมแล้วจัดตั้งขึ้นเป็น คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามการยุบรวมดังกล่าวก็เกิดขึ้นได้เพียงแค่หนึ่งปีเท่านั้น เพราะภายในปีเดียวกันนั้นเอง (พ.ศ. 2476) ก็ได้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น

นาม พูนวัตถุ, “เพื่อนรักร่วมรุ่น,” ใน หนังสือที่ระลึกในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ ที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2547, (ม.ป.พ.), 118.

ปกรณ์ อังศุสิงห์, “อาลัย ฯพณฯ ทวี แรงขำ,” ใน อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์ ทวีแรงขำ, (ม.ป.พ.), 41.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1/51, รายงานผลการปฏิบัติงานในรอบปีการศึกษา 2501-2502 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (13 ธ.ค. 2501-9 ต.ค. 2503).

หอจดหมายเหตุเห่งชาติ, สบ. 18.11/45, บทความเรื่องท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2507).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1/51 รายงานผลการปฏิบัติงานในรอบปีการศึกษา 2501-2502 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (13 ธ.ค. 2501-9 ต.ค. 2503).

เพิ่งอ้าง, โดยเนื้อหาในเอกสารดังกล่าวได้มีการกล่าวถึง ความเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสิ่งที่ได้รับประโยชน์ “ในระยะปฏิวัติ” คือ “๑. ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติสภาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ พระราชบัญญัติโอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๐๒”

กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์, “ชีวประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ,” ใน บุญสม อัครธรรมกุล, กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์, ยุคลธร เตชะวนากร (บก.), 90 ปีอดุล วิเชียรเจริญชีวิตและงาน, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559), 42.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/16, การประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 5/2501 (พ.ศ.2501).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/17, การประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 6/2501 (พ.ศ.2501). ระบุว่า คณบดีคณะรัฐศาสตร์ (ทวี แรงขำ) ได้ตอบแก่ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิพิเศษจากกระทรวงมหาดไทยว่า “ความจริงนั้นกระทรวงมหาดไทยไม่ได้เป็นผู้ยกเลิกสิทธิอันนี้ แต่ ก.พ. แจ้งขัดข้องไป โดยให้สอบคัดเลือกเช่นเดียวกับผู้ที่จบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ”

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1/51 รายงานผลการปฏิบัติงานในรอบปีการศึกษา 2501-2502 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (13 ธ.ค. 2501-9 ต.ค. 2503), หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/16, การประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 5/2501 (พ.ศ.2501).

สนธิ์ บางยี่ขัน, “อาจารย์ ไม่ตาย,” ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจตรี ยุทธพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง, (กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์, 2515), 37.

วิเชียร วัฒนคุณ, “ศาสตราจารย์ดิเรก ชัยนาม ในความทรงจำของศิษย์ผู้หนึ่ง,” ใน นายดิเรก ชัยนาม ตามทัศนะของคนรู้จัก, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2510), 51.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/32, การประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 4/2502 (พ.ศ. 2502)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1/69, กำหนดเวลาเรียนตามหลักสูตร แต่ละคณะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (4 ก.ค.-23 ส.ค. 2503).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.2/43, ประกาศ เรื่อง กำหนดวิชาที่ทำการสอนในภาคการศึกษา ตามหลักสูตรชั้นปริญญาตรี เเละชั้นปริญญาโทของคณะรัฐศาสตร์ (30 เม.ย. 2503).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.17/6 การประชุมคณบดี ครั้งที่ 1/2506-ครั้งที่ 4/2506 (4 ม.ค.-3 พ.ค. 2506).

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุเห่งชาติ, สบ. 5.9/39, เชิญประชุมกรรมการบริหารครั้งที่ 14/2503 (พ.ศ. 2503).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.9/61, เชิญประชุมกรรมการบริหารครั้งที่ 13/2504 (พ.ศ. 2504).

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.9/62, เชิญประชุมกรรมการบริหารครั้งที่ 1/2505 (พ.ศ. 2505).

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.9/64, เชิญประชุมกรรมการบริหารครั้งที่ 2/2505 (พ.ศ. 2505).

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

อุกฤษ มงคลนาวิน, “คำไว้อาลัย,” ใน อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์ ทวีแรงขำ, (ม.ป.พ.), ไม่ระบุเลขหน้า.

นรนิติ เศรษฐบุตร, “นึกถึงท่านอาจารย์ทวี,” ใน เพิ่งอ้าง., 66-67.

ณรงค์ สินสวัสดิ์, “คิดถึงอาจารย์,” ใน บรรจบ อิศดุลย์, (กรุงเทพฯ: วัชรินทร์การพิมพ์, 2528), 61.

ไม่ทราบผู้เขียน, “ประวัติของ นายไพโรจน์ ชัยนาม ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว.,” ใน อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์ไพโจรน์ ชัยนาม ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 มีนาคม 2539, (กรุงเทพฯ: ส่องศยาม, 2538), 29.

ถนอม นพวรรณ, “แด่ท่านอาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม นักปราชญ์เห่งกฏหมายรัฐธรรมนูญ,” ใน เพิ่งอ้าง., 242.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ. 0701.9.10.5/26, สภาการศึกษาแห่งชาติ โครงการ การศึกษา (มหาวิทยาลัย 2) (เล่ม 7) (พ.ศ. 2504-2509).

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

นรนิติ เศรษฐบุตร, “นึกถึงท่านอาจารย์ทวี,” ใน อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์ ทวีแรงขำ, (ม.ป.พ.), ไม่ระบุเลขหน้า.

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ. 0701.1/123, ทำเนียบข้าราชการ มธ. ปี 2506 (พ.ศ. 2506).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, น.ศธ. 0701/11 กล่อง 1, ทำเนียบข้าราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2507 (พ.ศ. 2507).

หอจดหมายเหตุเห่งชาติ, น.ศธ. 0701/12 กล่อง 1, ทำเนียบข้าราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2508 (พ.ศ. 2508).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.4/5, การเขียนโครงการพัฒนาตามเเผนพัฒนาเศรษฐกิจเเห่งชาติ (10-16 ก.พ. 2509).

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/17, การประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2501 (พ.ศ. 2501). ในเอกสารได้มีการระบุถึงข้าราชการกระทรวงกลาโหม ที่ทางกระทรวงต้องการให้เข้ามาศึกษาในระดับชั้นปริญญาโท ของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ปรากฏชื่อของนายทหารที่มีความน่าสนใจอยู่ 3 ชื่อ คือ 1. พล.จ. ชาญ อังศุโชติ 2. พ.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ 3. พ.อ. ฉลาด หิรัญศิริ โดยนายทหารเหล่านี้ทั้งหมด จะสำเร็จการศึกษามาจาก โรงเรียนเสนาธิการทหารบกของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือได้ว่าเป็นนายทหารระดับ "หัวกะทิ” ต่อมานายทหารเหล่านี้จะมามีบทบาททางการเมืองที่สำคัญกับการเมืองไทยในอนาคต

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 18.1/2, หลวงวิจิตรวาทการ ขอให้ช่วยค้นหนังสือเพื่อเป็นข้อมูล สำหรับใช้แสดงปาฐกถา (13 พ.ค. 2502). ในเอกสารระบุว่า พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ต้องการข้อมูลสำหรับใช้ในการแสดงปาฐกถา ที่กระทรวงกลาโหม จึงได้มายืมหนังสือที่ห้องสมุดของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ โดยระบุว่า “...ผมจึงขอความช่วยเหลือคุณ (บุญชนะ อัตถากร - ผู้เขียน) ช่วยโปรดหาหนังสือเอกสารอันใด ที่จะเป็นประโยชน์เเก่การเเสดงปาฐกถาทั้ง ๓ เรื่องนี้ให้ผมทำงานได้ จะเป็นที่ขอบคุณยิ่ง ผมเคยเห็นห้องสมุดในคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มีหนังสือใหม่ ๆ ดีมาก ขอความกรุณาช่วยหาให้ด้วย หรือจะมีทางอื่น ขอโปรดช่วยกรุณาต่อไป ผมอ่านได้ทั้งภาษาอังกฤษ เเละฝรั่งเศส...”

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, มท. 0201.2.1.24/17, การศึกษาในคณะรัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2502 (พ.ศ. 2502).

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.11.4/16, การประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5/2501 (พ.ศ. 2501).

กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์, “ชีวประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ,” ใน บุญสม อัครธรรมกุล, กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์, ยุคลธร เตชะวนากร (บก.), 90 ปีอดุล วิเชียรเจริญชีวิตและงาน, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559), 30.

ไม่ทราบผู้เขียน, “ชีวประวัติ ศาสตราจารย์ บุญชนะ อัตถากร,” ใน หนังสือที่ระลึกในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ ที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2547, (ม.ป.พ.), 47.

หอจดหมายเหตุเห่งชาติ, น.ศธ. 0701/12 กล่อง 1, ทำเนียบข้าราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2508 (พ.ศ. 2508).

บุญชนะ อัตถากร, “บันทึกชีวิต,” ใน หนังสือที่ระลึกในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ ที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2547, (ม.ป.พ.), 101.

หอจดหมายเหตุเห่งชาติ, น.ศธ. 0701/12 กล่อง 1, ทำเนียบข้าราชการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2508 (พ.ศ. 2508).

เพิ่งอ้าง.

หอจดหมายเหตุเห่งชาติ, สบ. 18.11/45, บทความเรื่องท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2507).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 5.9/88, เชิญประชุมกรรมการสภาการศึกษาเห่งชาติ (พ.ศ.2508).

เพิ่งอ้าง.

นรนิติ เศรษฐบุตร, “นึกถึงท่านอาจารย์ทวี” ,ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ทวี แรงขำ, (กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 2529), ไม่ระบุเลขหน้า.

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, TU-DEPT-FAPOL-03-03-03-004, ศาสตราจารย์ ดร. กมล เภาพิจิตร.

สุขุม นวลสกุล, สัมภาษณ์โดย สมเกียรติ สมคำ, สรัญญู วุฒินิธิกร, ใน รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เกียรติตระการ, (กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2555), 228.

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, มหาวิทยาลัยชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กำแพง, 2533), 61-62.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.3/5, การประชุมกรรมการประจำคณะรัฐศาสตร์ (6 มิ.ย. 2512-21 ธ.ค. 2516).

ลิขิต ธีรเวคิน, สัมภาษณ์โดย สมเกียรติ สมคำ, ใน รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เกียรติตระการ, (กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2555), 191.

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, TU-DEPT-FAPOL-02-01-001, แผนกวิชารัฐศาสตร์ศึกษา.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.17/15, การประชุมคณบดี ครั้งที่ 9/2513 (8-14 เม.ย. 2513).

วิทยานิพนธ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของบัณฑิตจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ศึกษาคืองานของ สุชิน ตันติกุล ในเรื่อง รัฐประหาร พ.ศ. 2490 ที่ต่อมาพัฒนาเป็นหนังสือ และมักถูกใช้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทยในยุคนั้น.

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, TU-DEPT-FAPOL-02-01-001, แผนกวิชารัฐศาสตร์ศึกษา.

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, มหาวิทยาลัยชีวิต, อ้างแล้ว, 64-65.

ประจักษ์ ก้องกีรติ, และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ, (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2556), 69-71. และเห็นได้จากบทสัมภาษณ์ของ พลตำรวจโท ณัฐพงษ์ วัฒนสุคนธ์ สิงห์แดงรุ่นที่ 19 (เข้าศึกษาในปี พ.ศ. 2510) เขาได้ระบุว่า “...ประทับใจมากเลย แล้วพี่ถูกปลูกฝังมาว่าต้องรับราชการ และคณะนี้เป็นคณะที่เหมาะที่สุดในการรับราชการ ไม่ว่าข้าราชการอะไร แล้วเป็นคณะที่มีซีเนียริตี้ ระบบพี่น้องที่เลือกที่ธรรมศาสตร์เพราะมีสิงห์แดง ถ้าสิงห์แดงไปอยู่ในรามคำแหง ไปอยู่ในจุฬาฯ ไปอยู่ในเกษตร พี่ก็ว่าจะไปตามคณะนะไม่ได้ไปตามมหาวิทยาลัย ตามคำว่าสิงห์แดง สิงห์แดงนี้คือคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เราก็คิดว่าสิงห์แดงเป็นคณะที่เราถูกใจ ความเข้มข้นมันอยู่ในตัว จะไปอยู่มหาวิทยาลัยไหน จะตามไป คิดแค่นี้พอแล้ว ก็สมใจที่ได้มาอยู่คณะนี้ ได้หมดทุกอย่าง...” อ้างถึงใน ณัฐพงษ์ วัฒนสุคนธ์, สัมภาษณ์โดย สมเกียรติ สมคำ, ใน รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เกียรติตระการ, (กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2555), 188.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง, และในปี พ.ศ. 2514 ยังปรากฏการกล่าวถึงการทะเลาะวิวาทระหว่างนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ รวมไปถึงปัญหาที่นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์เตะฟุตบอลที่หน้า “แผนกคำสอน” โดยที่ประชุมอาจารย์คณะรัฐศาสตร์กล่าวว่าผู้ที่ยังฝ่าฝืนเตะฟุตบอลอีกจะโดนลงโทษทางวินัยนักศึกษา อ้างถึงใน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.3/8, การประชุมอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ (8 มี.ค. 2514- 6 ต.ค. 2520).

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, เมื่ออรุณจะรุ่งฟ้า ขบวนการนักศึกษาไทย พ.ศ. 2513-2519, (กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์, 2564), 65.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.8/18, หลักสูตรชั้นปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ พ.ศ. 2514 (การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2517) (2517).

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, มหาวิทยาลัยชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กำแพง, 2533), 61-62.

ลิขิต ธีรเวคิน, “ระดับการพัฒนาทางวิชาการของรัฐศาสตร์ในประเทศไทย,” Thammasat University Digital Collections (เว็บไซด์), https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:131111 (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566), งานวิจัยฉบับดังกล่าวไม่ได้มีการกล่าวถึงวันที่ตีพิมพ์ แต่ได้มีการกล่าวถึงการเรียนการสอนในวิชาทฤษฎีและปรัชญาการเมือง ในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขาวิชานี้เกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสุดของ แผนก “รัฐศาสตร์ศึกษา” หลัง พ.ศ. 2514) รวมไปถึง คณะรัฐศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เสนอหลักสูตรการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ให้ไปถึงระดับปริญญา (คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2516) อีกทั้งยังพูดถึงการเขียนงานวิจัยหากไม่มีความจัดเจนอาจถูกกล่าวหาว่า “เป็นพวกเอียงซ้าย หรือพวกคอมมิวนิสต์” และพูดถึงการล้มลงของระบบการปกครองของทหาร จึงอนุมานได้ว่าบทความชิ้นนี้น่าจะเขียนราว หลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และก่อนหน้า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519, โดยในงานวิจัยชิ้นนี้ ลิขิตระบุว่าใช้ “ระดับการพัฒนาวิชาความรู้ทางรัฐศาสตร์ แบบสหรัฐอเมริกา” ในการประเมินค่าระดับการพัฒนาวิชาความรู้ทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย โดยข้อมูลที่ใช้ได้มาจากการวิจัยจากห้องสมุด และส่งแบบสอบถามไปยังนักรัฐศาสตร์ มีนักรัฐศาสตร์ที่ตอบแบบสอบถาม 57 คน คิดเป็น 60% ของนักรัฐศาสตร์ทั้งหมดที่ได้ส่งแบบสอบถามไป.

เพิ่งอ้าง.

สมบัติ จันทรวงศ์, มรดกกับเกียรติยศของปรัชญาการเมือง บทสนทนาเพื่อรำลึกถึง Prof.Harry V. Jaffa วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ห้อง ร.102 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=KgXeULTHPlg.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, “ประชาธิปไตยไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต กับบทบาทของคณะรัฐศาสตร์ของเรา,” ใน ประจักษ์ ก้องกีรติ (บก.), อดีต ปัจจุบัน และอนาคตประชาธิปไตยไทย, (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักพิมพ์ศยาม, 2562), 79.

สายพิณ ศุพุทธมงคล, “ชัยวัฒน์ สถาอานันท์,” จันจิรา สมบัติพูนศิริ และประจักษ์ ก้องกีรติ (บก.), ระหว่างปริศนาและศรัทธา, (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักพิมพ์ศยาม, 2562), 533.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, ประชาธิปไตยไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต กับบทบาทของคณะรัฐศาสตร์ของเรา, อ้างแล้ว, 89.

ซึ่งสามารถแบ่งหมวดหมู่วิชาที่เพิ่งจะมีภายในคณะรัฐศาสตร์ หลัง พ.ศ. 2510 ตามหลักสูตรชั้นปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ พ.ศ. 2514 ได้ดังนี้ สาขาวิชาทฤษฎีการเมืองและปรัชญาการเมือง ได้แก่ หมวดหมู่วิชา พฤติกรรมศาสตร์และสังคมวิทยาการเมือง ได้แก่ ร.216 ชนชั้นและอำนาจในสังคมการเมือง, ร.217 พฤติกรรมทางการเมืองและมติมหาชน, ร.318 สังคมวิทยาการเมือง, ร.414 สัมนาความขัดแย้งทางสังคมและขบวนการสังคม, ร.415 ปัญหาและอนาคตของสังคมวิทยาการเมือง หมวดหมู่วิชาการพัฒนาทางการเมือง ได้แก่ ร.218 การเมืองของประเทศกำลังพัฒนา, ร.312 ทฤษฎีการเมืองว่าด้วยภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคมการเมือง, ร.313 ปัญหาการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาการเมือง และหมวดหมู่วิชาปรัชญาการเมือง ร.215 ประวัติความคิดทางการเมืองตะวันออก, ร.219 ที่มาของอุดมการณ์ประชาธิปไตย, ร.413 สัมมนาความคิดทางการเมืองของนักคิดคนสำคัญในตะวันออก เป็นต้น

ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, การเมืองการปกครองไทย:พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ.2475-2540), (ปทุมธานี: คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563), 385-386.

เพิ่งอ้าง, 387-389.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, สัมภาษณ์โดย สรัญญู วุฒินิธิกร, ใน รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เกียรติตระการ, (กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2555), 217.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1/199, แผนวิชาการ 5 ปี ของสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ (ม.ท.)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ทม. 4.1.1.8/19, ร่างหลักสูตรพื้นฐานทั่วไปของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหลักสูตรปริญญาตรีของคณะต่าง ๆ พ.ศ. 2526 (2526).