ประชาคมอาเซียนกับความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ จุดเริ่มต้น พัฒนาการของรูปแบบความร่วมมือ และกระบวนทัศน์การจัดการภัยพิบัติในภูมิภาค
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพัฒนาการความร่วมมือและกระบวนทัศน์ความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติของประชาคมอาเซียน (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตลอดจนรูปแบบความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติของประชาคมอาเซียน และ (3) นำเสนอการพัฒนาการดำเนินการความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติของประชาคมอาเซียน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิจัยเอกสาร ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปจากข้อมูลเชิงบรรยายนำมาซึ่งบทสรุปที่ค้นพบและมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย และสังเคราะห์กรอบการวิจัยจากแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ แนวคิดเกี่ยวกับสถาบันและการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันของความร่วมมือ แนวคิดการบูรณาการและภารกิจนิยม แนวคิดความมั่นคงรูปแบบใหม่ และหลักการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการทูตภัยพิบัติ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติของอาเซียนและกระบวนทัศน์สามารถแบ่งได้เป็นยุค ได้แก่ ยุคก่อตั้งสมาคมอาเซียนและริเริ่มพัฒนาความร่วมมือภายใต้สมาคมอาเซียน (ค.ศ. 1967-1978), ยุคความร่วมมือชะงักงันอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์เวียดนามบุกกัมพูชา (ค.ศ. 1980-1991), ยุคการบูรณาการความร่วมมือให้ลึกซึ้งและขยายกว้างขึ้นหลังสงครามเย็น: พัฒนาความเป็นสถาบันด้านการจัดการภัยพิบัติ (ค.ศ. 1992-2005), ยุคความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติภายใต้การสร้างประชาคมและการพัฒนากลไกเชิงสถาบันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (ค.ศ. 2006-2015) จนกระทั่งยุคสร้างแนวทางการประสานงานให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นภายใต้กระบวนทัศน์การลดความเสี่ยงภัยพิบัติ และแนวคิดใหม่ ๆ (ค.ศ. 2016-ปัจจุบัน) จากผลการศึกษา ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะในการมีความสัมพันธ์ทางการทูตภัยพิบัติระหว่างอาเซียนกับนานาประเทศ โดยใช้เหตุภัยพิบัติเป็นแรงขับดัน สนับสนุนการนำหลักการ R2P ลงมาปฏิบัติในระดับท้องถิ่นสู่การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน และการรับแนวคิดและกรอบการดำเนินงานโลกโดยไม่ทิ้งการออกแบบการดำเนินงานจากภายในภูมิภาคเอง
Article Details
References
ทวิดา กมลเวชช และ นิตยา โพธิ์นอก, “หน่วยที่ 11 นโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติในบริบทโลก,” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 82328 นโยบายสาธารณะในบริบทโลก, (นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561).
สมพร คุณวิชิต, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัยแบบเบ็ดเสร็จ, พิมพ์ครั้งที่ 1, (สงขลา: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561).
Amitav Acharya, “Human Security,” In Globalization of world Politics: an introduction to international relations, edited by John Baylis, Steve Smith, and Patricia Owens, (New York, N.Y.: Oxford University Press, 2011).
Caballero-Anthony, Mely and Alistair D. B. Cook, eds., Non-Traditional Security in Asia: Issues, Challenges and Framework for Action, (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2013).
Haas, Ernst B., The Obsolescence of Regional Intention Theory, (Berkeley: Institute of International Studies, 1975).
Keohane, Robert O., International Institutions and State Power: Essays in International Relations Theory, (Boulder, CO: Westview Press, 1989).
Krasner, Stephen D., “Structural Causes and Regime Consequences: Regimes as Intervening Variables.” In International Regime, edited by Stephen D. Krasner. Ithaca, (NY: Cornell University Press, 1983).
Levi, Magaret, “A Model, a Method and a Map: Rational Choice in Comparative Historical Analysis.” In Comparative Politics: Rationality, Culture and Structure, edited by Mark Irving Lichbach and Alan S. Zuckerman, (Cambridge: Cambridge University Press, 1997).
Streeck, Wolfgang and Kathleen Thelen, “Introduction: institutional change in advanced political economies,” In Beyond continuity: institutional change in advanced political economies, edited by Wolfgang Streeck and Kathleen Thelen, (New York: Oxford University Press, 2005), 1-39.
พรรณวดี ชัยกิจ, “นัยยะทางการทูตภัยพิบัติของญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,” วารสารสหวิทยาการ 13,
ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2558 - มีนาคม 2559), 113-143.
De Ville, Ferdi, “The Promise of Critical Historical Institutionalism for EU Trade Policy Analysis,” Journal of Contemporary European Research 9, No. 4 (2013), 618-632.
Mitrany, David, “A Working Peace System: An Argument for the Functional Development of International Organization,” International Affairs 20, No. 1 (1944), 107-109.
Nye, Joseph S. and Robert O. Keohane, “Transnational Relations and World Politics: An Introduction,” International Organization 25, No. 3 (1971), 329-349.
Tallberg, Jonas, “Formal Leadership in Multilateral Negotiations: A Rational Institutionalist Theory,” The Hague Journal of Diplomacy 1, No. 2 (2006), 117-141