ขายหัวเราะ - มหาสนุก ฉบับในหลวงรัชกาลที่ 9: การ์ตูนกับการเทิดพระเกียรติและการแสดงความอาลัย

Main Article Content

วัชราภรณ์ ดิษฐ์ป้าน

บทคัดย่อ

ขายหัวเราะฉบับรอยยิ้มของพระราชาและมหาสนุกฉบับเมื่อเจ้าชายกลายเป็นพระราชาเป็นนิตยสารการ์ตูนฉบับพิเศษที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จุดประสงค์และเนื้อหาของนิตยสารการ์ตูนฉบับพิเศษทั้งสองฉบับแสดงให้เห็นการเทิดพระเกียรติและการแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  โดยนำเสนอผ่านศาสตร์ของการ์ตูน  บทบาทสำคัญของนิตยสารการ์ตูนฉบับพิเศษทั้งสองฉบับคือบทบาทด้านการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  ด้านการเป็นสื่อบันเทิงที่ปลอบประโลมจิตใจคนไทยให้คลายจากความเศร้าหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และการเป็นสื่อที่บันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 รวมถึงความรู้สึกของคนไทยและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของความเศร้าโศก

Article Details

How to Cite
ดิษฐ์ป้าน ว. (2017). ขายหัวเราะ - มหาสนุก ฉบับในหลวงรัชกาลที่ 9: การ์ตูนกับการเทิดพระเกียรติและการแสดงความอาลัย. วรรณวิทัศน์, 17, 84–131. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2017.5
บท
บทความประจำฉบับ

References

ขายหัวเราะฉบับรอยยิ้มของพระราชา. (2559). กรุงเทพฯ: บรรลือสาส์น.

จตุพร มีสกุล. (2556). การศึกษาวรรณคดีโศกาลัยในสมัยรัตนโกสินทร์ในฐานะวรรณคดีเฉพาะประเภท. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาไทย.

จารุณี สุขชัย. (2550). การศึกษา "มิติความเป็นไทย" ในหนังสือการ์ตูนไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ.

จิรศุภา ปล่อยทอง. (2550). การศึกษาลักษณะภาษาสื่ออารมณ์ขันในมุมขำขันของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาศาสตร์.

มหาสนุกฉบับเมื่อเจ้าชายกลายเป็นพระราชา. (2559). กรุงเทพฯ: บรรลือสาส์น.

มาณิษา พิศาลบุตร. (2533). การสื่อความหมายในนิตยสารการ์ตูนขายหัวเราะฉบับกระเป๋า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, ภาควิชาการสื่อสารมวลชน.

ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์.

เสาวณิต จุลวงศ์. (2550). ความซับซ้อนของการเล่าเรื่อง: ลักษณะหลังสมัยใหม่ในบันเทิงคดีร่วมสมัยของไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ.

ขายหัวเราะฉบับพิเศษ "รอยยิ้มของพระราชา". (4 พฤศจิกายน 2559). สืบค้นจาก http://news.thaipbs.or.th/content/257361

ขายหัวเราะฉบับรอยยิ้มของพระราชาและมหาสนุกฉบับเมื่อเจ้าชายกลายเป็นพระราชา. (3 ตุลาคม 2560). คอลัมน์ถนนวรรณกรรม. สืบค้นจาก http://www.ryt9.com/s/tpd/2562645

ดอกฝน. (4 พฤศจิกายน 2559). เจาะลึก 'รอยยิ้มของพระราชา' บนหน้ากระดาษของ 'ขายหัวเราะ' พร้อมภาพตัวอย่างบางส่วน. สืบค้นจาก http://www.matichon.co.th/news/346753

"นายช่าง ยื่นมือมาสิ จะทายาให้" น้ำพระทัยที่ทรงมีให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด. (18 ตุลาคม 2559). สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_59832

เปิดใจเด็กน้อยก้มกราบพระบาทในหลวง. (18 ตุลาคม 2559). สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net/news/hotclip/246485

TEEPAGORN CHAMP WUTTIPIYAMONGKOL. (28 ตุลาคม 2559). กว่าจะมาเป็น "ขายหัวเราะฉบับรอยยิ้มของพระราชา" และพลิกดูด้านในก่อนใคร. สืบค้นจาก https://thematter.co/pulse/smileoftheking/11493

www.facebook.com/kaihuaror. (31 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)