ข้อบกพร่องในการเขียนของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 2 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Main Article Content

สุรัตน์ ศรีราษฎร์
รจเรข รุจนเวช

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนเรียบเรียงสาระสำคัญที่ได้จากการอ่านของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นจำนวน 74 คน โดยพิจารณาจากการเขียนเรียบเรียงให้เป็นย่อหน้าที่ดีและการใช้ภาษา โดยศึกษาจากการเรียบเรียงสาระสำคัญที่ได้จากการอ่านบทความทางวิชาการเรื่อง “โครงสร้างสังคมญี่ปุ่น” ความยาว 29 หน้า  ผลการศึกษาพบว่ามีนักศึกษาเรียบเรียงเนื้อหาแต่ละย่อหน้าโดยขาดเอกภาพร้อยละ 98.64  ขาดสัมพันธภาพร้อยละ 85.03  และขาดสารัตถภาพร้อยละ 79.73  การเขียนที่ขาดสารัตถภาพนี้มีปริมาณข้อบกพร่องระดับปานกลางถึงระดับมากที่สุดมากกว่าครึ่งหนึ่ง  ส่วนการขาดความสมบูรณ์คิดเป็นร้อยละ 9.46  ด้านการใช้ภาษามีการใช้ภาษาที่บกพร่องทั้งเรื่องการใช้คำ การใช้ประโยค การใช้เครื่องหมายและวรรคตอน  รวมทั้งการใช้สำนวนอยู่บ้าง  แต่ไม่มีนัยสำคัญ

Article Details

How to Cite
ศรีราษฎร์ ส., & รุจนเวช ร. (2017). ข้อบกพร่องในการเขียนของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 2 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วรรณวิทัศน์, 17, 219–250. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2017.9
บท
บทความประจำฉบับ

References

คณะกรรมการวิชาการภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (2549). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. ศูนย์วิชาบูรณาการ หมวดการศึกษาทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2558). การใช้ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนิกา คำพุฒ, และนวพร คำเมือง. (2551). การแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทย ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

ชูศรี ศรีแก้ว. (2526). การเปรียบเทียบข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2525. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาไทย.

ฐานะมนตร์ กลิ่นจันทร์แดง. การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2552. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, สาขาวิชาภาษาไทย.

ธวัช วันชูชาติ. (2543). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการเรียนการสอนภาษาไทย ระหว่างปีการศึกษา 2535-2540. สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.

บุญเรือง ชื่นสุวิมล. (ผู้แปล) (2543) โครงสร้างสังคมญี่ปุ่น (พิมพ์ครั้งที่สอง) แปลจาก NIHON SHAKAI NO KOZO เขียนโดย FUKUTAKE TAKESHI. กรุงเทพฯ: บริษัทธนบรรณ.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (มกราคม-มิถุนายน 2553). ภาษาไทย: ความจำเป็นต่อการเรียนรู้และกรศึกษาทางศิลปศาสตร์. วารสารศิลปศาสตร์, 10, 119-156.

ภณิดา จิตนุกูล. (2551). ลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สาขาภาษาไทย.

ภาควิชาภาษาไทย, คณะศิลปศาสตร์. (2555). รายงานการศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาการใช้ภาษาไทย (ท.161). โครงการวิจัยในสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน: การศึกษากระบวนการการจัดการเรียนการสอนวิชาการใช้ภาษาไทย (ท.161), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2553). รายงานวิจัยเรื่อง รูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษาศิลปศาสตร์ (Liberal Arts Education) ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

ศรีจันทร์ วิชาตรง. (2542). ลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาสถาบันราชภัฏพระนคร. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏพระนคร.

เสาวณิต จุลวงศ์. (2553). ภาษาไทย: ความจำเป็นต่อการเรียนรู้และการศึกษาทางศิลปศาสตร์. วารสารศิลปศาสตร์, 10, 59-90.

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2539). เอกสารการสอนชุดวิชา การใช้ภาษาไทย หน่วยที่ 1-15. (ฉบับปรับปรุง). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์.

สุจิตรา จรจิตร. (2542). สภาพและความต้องการในการปรับปรุงการใช้ภาษาของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ (ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), 5(1), 61-74.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร. (2523). รายงานวิจัยเรื่องสมรรถภาพในการใช้ภาษาไทยขั้นต่างๆ ของคนไทย โครงการปีที่ 1: ข้อบกพร่องในการใช้ภาษาไทยของนิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.

อุดมศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการ, สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.