ยมกในบทประพันธ์ของพาณะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ยมกเป็นศัพทาลังการประเภทหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมในวรรณคดีสันสกฤต หมายถึง การซ้ำพยางค์เป็นคู่ พยางค์ที่ซ้ำกันนั้นต้องมีความหมายต่างกัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ยมกในร้อยกรองของพาณะกวีสันสกฤตคนสำคัญ เพื่อให้เข้าใจรูปแบบการใช้ยมกในการประพันธ์ร้อยกรองในวรรณคดีสันสกฤตโดยมีสมมติฐานว่ายมกสามารถแสดงวัจนลีลาในร้อยกรองของพาณะได้ ผลการศึกษาพบว่า ในร้อยกรองของพาณะ 25 บท มียมกปรากฏอยู่ 29 ครั้ง ซึ่งยมกดังกล่าวล้วนเป็นยมกขนาดสั้น จำนวนพยางค์ที่ซ้ำกันมากที่สุดคือ 2 พยางค์ ยมกส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ตำแหน่งติดกันหรือใกล้กัน มักอยู่กลางบาท หากเป็นยมกรูปแบบที่เคยปรากฏมาก่อน พาณะจะกำหนดให้ยมกนั้นมีเศลษะด้วย ยมกลักษณะเหล่านี้จึงแสดงถึงลีลาเฉพาะของการประพันธ์ร้อยกรองของพาณะได้ และสามารถนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยร้อยกรองของพาณะที่ยังมีปัญหาเรื่องผู้แต่งได้ต่อไป
Article Details
References
วชิราภรณ์ วรรณดี. (2522). ศัพทาลังการในเรือง พุทธจริต ของอัศวโฆษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภาควิชาภาษาตะวันออก.
Chaudhary, Satya Deva. (1987). Yamaka & Anuprasa. A Dictionary of Sanskrit Poetics. Delhi: B.R. Publishing Corporation.
Dwivedi, R.C. (1970). The Poetics Light: Kavyaprakasa of Mammaˁa (vol. 2). Delhi: Jawaharnagar.
Fallon, Oliver. (2009). Bhatti’s Poem: The Death of Ravana. New York: New York University Press.
Kale, M.R. (1968). Kadambari by Bana. Delhi: Motilal Banarsidass.
Kane, P.V. (1973). The Harshacarita of Banabhatta. Bombay: Motilal Banarsidass.
Monier-Williams, Sir Monier. (2008). A Sanskrit English Dictionary. Delhi: Motilal Banarsidass.
Olivelle, Patrick. (2009). Life of The Buddha by Ashvaghosha. New York: New York University Press.
Quackenbos, George Payn. (1917). The Sanskrit Poems of Mayura. New York: Columbia University Press.
Ridding, C.M. 1896. The Kadambari of Bana. London: The Royal Asiatic Society.
Sastry, P.V. Naganatha. (1991). Kavyalankara of Bhamaha. Delhi: Motilal Banarsidass.
Smith, David. (2009). Princess Kadambari (vol. 1). New York: New York University Press.
Sternbach, Ludwik. (1979). On the Unknown Poetry of Bana. Annals of the Bhandarkar Oriental Research Institute. 60, 1/4, pp. 109–135.
Unni, N.P. (1998). Natyasastra (Vol. 3). Delhi: Nag Publishers.
Warder, A.K. (1994). Indian Kavya Literature (vol. 4). Delhi: Motilal Banarsidass.