โคลงนิราศหริภุญชัย: ความสัมพันธ์ทางวรรณศิลป์ระหว่างโคลงนิราศล้านนาและภาคกลาง

Main Article Content

นิพัทธ์ แย้มเดช

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางวรรณศิลป์ของโคลงนิราศหริภุญชัยกับโคลงนิราศล้านนา คือ โคลงมังทรารบเชียงใหม่ โคลงนิราศดอยเกิ้ง และโคลงนิราศภาคกลาง คือ ทวาทศมาสโคลงดั้น และกำสรวลโคลงดั้น ผลการศึกษาพบว่าโคลงนิราศหริภุญชัย มีสถานะเป็นโคลงนิราศชั้นครู เห็นได้จากความสัมพันธ์ทางวรรณศิลป์ที่มีต่อโคลงนิราศล้านนาและภาคกลางในด้านสำนวนโวหารและการนำเสนออารมณ์สะเทือนใจ จากการศึกษาความสัมพันธ์ทางวรรณศิลป์ระหว่างโคลงนิราศหริภุญชัยกับโคลงนิราศเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะโคลงนิราศสมัยอยุธยาตอนต้นพบว่ามีลักษณะร่วมทางวรรณศิลป์คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้โคลงนิราศหริภุญชัยจึงน่าจะจัดเป็นโคลงนิราศในสมัยอยุธยาตอนต้นได้

Article Details

How to Cite
แย้มเดช น. (2019). โคลงนิราศหริภุญชัย: ความสัมพันธ์ทางวรรณศิลป์ระหว่างโคลงนิราศล้านนาและภาคกลาง. วรรณวิทัศน์, 19(1), 1–33. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2019.1
บท
บทความประจำฉบับ

References

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2530). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

ฉัตรยุพา สวัสดิพงษ์ และ อยู่เคียง แซ่โค้ว. (2559). วรรณกรรมล้านนาคัดสรร: วรรณกรรมพรรณนาอารมณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์. (2512). ทวาทศมาศโคลงดั้น. พระนคร: โรงพิมพ์ศิริมิตรการพิมพ์.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2544). วรรณคดีอยุธยาตอนต้น: ลักษณะร่วมและอิทธิพล. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตรงใจ หุตางกูร. (บรรณาธิการ). (2560). อุปาทวาทศมาศโคลงดั้น:วรรณกรรมเพชรน้ำเอกแห่งกรุงพระนครศรีอโยธยา. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

นิยะดา เหล่าสุนทร. (บรรณาธิการ). (2541) สารนิพนธ์ประเสริฐ ณ นคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประเสริฐ ณ นคร. (2547). โคลงนิราศหริภุญชัย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

เปลื้อง ณ นคร. (2543). ประวัติวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

เปลื้อง ณ นคร. (2545). จินตวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว. (2543). อุสสาบารสโคลงดั้นล้านนา. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รวิวงศ์ ศรีทองรุ่ง. (2528). วิเคราะห์วรรณกรรมนิราศภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ภาคเหนือ โคลงมังทรารบ เชียงใหม่. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รื่นฤทัย สัจจพันธ์. (2516). นิราศคำโคลง: การศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับนิราศชนิดอื่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลมูล จันทน์หอม. (2532). โคลงนิราศหริภุญชัย: การวินิจฉัยต้นฉบับ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2553) .กำสรวลสมุทร สุดยอดกำสรวลศิลป์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศิลปากร, กรม. (2530). วรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.

ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2552). ศักดิ์ศรีนิพนธ์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี วีระวงศ์. (2553). “ทวาทศมาส”. นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 178-181.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2546). วรรณกรรมล้านนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.