การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านรูปแบบและเนื้อหาที่ปรากฎในแบบเรียนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน

Main Article Content

สุนีย์ ลีลาพรพินิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาในแบบเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่ผู้เรียนชาวจีน 15 เล่ม รวมทั้งเสนอแนะแบบเรียนที่มีรูปแบบและเนื้อหาเหมาะสําหรับผู้เรียนชาวจีน


ผลการวิจัยพบว่า แบบเรียนทั้ง 15 เล่มเหมาะสมกับผู้เรียนชาวจีนทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา


รูปแบบที่ปรากฏในแบบเรียนมี 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรก แบบเรียนที่แบ่งเนื้อหาเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนไวยากรณ และส่วนบทสนทนาหรือบทอ่าน พบ 8 เล่ม ลักษณะที่สอง แบบเรียนที่นําเสนอบทสนทนาหรือบทอ่านเป็นหลัก ส่วนไวยากรณ์หรือหลักภาษาแทรกอยู่ในหัวข้อรูปประโยคและการใช้คําหรือ การใช้คําและวลีข้อสังเกตในเนื้อเรื่อง เนื้อความหรือตัวบท และหลักภาษาใน ตัวบท พบ 7 เล่ม


เนื้อหาด้านไวยากรณ ที่ปรากฏในแบบเรียนทั้ง 15 เล่มมี 4 หัวข้อ ได้แก่ ชนิดของคําไทยแบ่งตามหน้ าที่วลีชนิดของประโยคแบ่งตามเนื้อความ และประโยคความเดียวแบ่งตามเจตนาการสื่อสาร ส่วนเนื้อหาด้ านบทสนทนาหรือบทอ่านที่ปรากฏในแบบเรียนมากที่สุดคือ อาหารการกิน ผลไม้ การแนะนําและการสั่งอาหารส่วนผสม รสชาติอาหาร อันดับสองคือ การทักทายและแนะนําตัวเองหรือคนอื่นให้รู้จักกัน และอันดับสาม ได้ แก่ ถ้อยคําที่ใช้ในชีวิตประจําวัน การซื้อของและต่อราคา และสถานที่ต่างๆ


ลักษณะแบบฝึกหัดที่ปรากฏในแบบเรียนมากที่สุดคือ แบบฝึกหัดการอ่าน อันดับสองคือ แบบฝึกหัดการอ่านและการเขียน อันดับสามคือ แบบฝึกหัดการพูด นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้เสนอแนวทางการสร้างแบบเรียนที่มีรูปแบบและ เนื้อหาเหมาะสําหรับผู้เรียนชาวจีนเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนภาษาไทยในชั้นเรียนอีกด้วย

Article Details

How to Cite
ลีลาพรพินิจ ส. (2018). การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านรูปแบบและเนื้อหาที่ปรากฎในแบบเรียนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน. วรรณวิทัศน์, 18, 185–210. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2018.8
บท
บทความประจำฉบับ

References

นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (2556). ทฤษฎีและวิธีสอนภาษาไทยสําหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชัย พินัยกุล. (2549). ตําราเรียนภาษาไทยสําหรับชาวจีน. กรุงเทพฯ: ไทยวรศิลป์การพิมพ์.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2533). สัทศาสตร์และสัทศาสตร์ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เหยาหลิง เหลียง. (2555). การสร้างหนังสือเรียนภาษาไทยธุรกิจสําหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์. (2552). ภาษาไทยเบื้องต้นสําหรับสําหรับผู้พูดภาษาจีน. กรุงเทพฯ:โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

Luo Yiyuan. (2547). เทคนิคในการสอนภาษาไทยขั้นพื้นฐานให้กับนักศึกษาจีน.วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 26(1), 69–74.

Zhang Li. (2557). แบบเรียนภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยวสําหรับนักศึกษาชาวจีนวิชาเอกภาษาไทยมหาวิทยาลัยยูนนานนอร์มอลของสาธารณรัฐประชาชนจีน. (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

潘德鼎, 编著. (2004). หนังสือเรียนภาษาไทย 1泰语教程.第一册. 北京: 北京大学出版社.

潘德鼎, 编著. (2005a). หนังสือเรียนภาษาไทย 2泰语教程.第二册. 北京: 北京大学出版社.

潘德鼎, 编著. (2005b). หนังสือเรียนภาษาไทย 3泰语教程.第三册. 北京: 北京大学出版社.

潘德鼎, 编著. (2005c). หนังสือเรียนภาษาไทย 4泰语教程.第四册. 北京: 北京大学出版社.

廖宇夫, 编著. (2008). ภาษาไทยพื้นฐาน 1 基础泰语(1). 广州: 广东世界图书出版公司.

罗奕原, 编著. (2008). ภาษาไทยพื้นฐาน 2 基础泰语(2). 广州: 广东世界图书出版公司.

黄进炎, 林秀梅, 编著. (2009). ภาษาไทยพื้นฐาน 3 基础泰语(3). 广州: 广东世界图书出版公司.

林秀梅, 黄进炎, 编著. (2009). ภาษาไทยพื้นฐาน 4 基础泰语(4). 广州: 广东世界图书出版公司.

黄进炎, 林秀梅, 编著. (2003). 实用 ภาษาไทย 泰语教程. 广州: 广东世界图书出版公司.

李炳度, 编著. 邓应烈, 翻译. (2013). 我是泰语学习书. 北京: 北京语言大学出版社.

卢居正, 邱苏伦, 编写. (2007). ภาษาไทย 1 基础泰语. 北京: 外语教学与研究出版社.

邱苏伦, 编写. (2002). สนทนาภาษาไทย 泰语会话. 北京: 外语教学与研究出版社.

张君松, 编著. (2012). 大家来学泰语. 曼谷: 统一出版社有限公司.