คำเชื่อมในชื่อเรื่องบทนิพนธ์ภาษาไทยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Main Article Content

ซัลมาณ ดาราฉาย
วิมลลักษณ์ ใจแจ้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคําเชื่อมที่ปรากฏใช้ในชื่อเรื่องบทนิพนธ์ภาษาไทยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลภาษาจากชื่อเรื่องบทนิพนธ์ภาษาไทย จํานวน 1,519 เรื่อง ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคืออัตราส่วน ร้อยละ ผลการศึกษาปรากฏว่าคําเชื่อมในชื่อเรื่องบทนิพนธ์ภาษาไทยสามารถ จําแนกเป็น 10 ชนิด เรียงตามลําดับความถี่ในการปรากฏจากมากไปน้อย ดังนี้ ชนิดแรก คําเชื่อมบอกเจ้าของ มีจํานวนร้อยละ 33.09 ชนิดที่ 2 คําเชื่อมบอก ความสัมพันธ์ทางสถานที่มีจํานวนร้อยละ 21.23 ชนิดที่ 3 คําเชื่อมบอกการขยายความ มีจํานวนร้อยละ 15.86 ชนิดที่ 4 คําเชื่อมบอกจุดหมาย มีจํานวนร้อยละ 15.51 ชนิดที่ 5 คําเชื่อมบอกความคล้อยตาม มีจํานวนร้อยละ 8.83 ชนิดที่ 6 คําเชื่อมบอกผู้มีส่วนร่วม มีจํานวนร้อยละ 2.11 ชนิดที่ 7 คําเชื่อมบอกแหล่งเดิม มีจํานวนร้อยละ 1.45 ชนิดที่ 8 คําเชื่อมบอกลักษณะ มีจํานวนร้อยละ 1.30 ชนิดที่ 9 คําเชื่อมบอกเครื่องมือ มีจํานวนร้อยละ 0.50 และชนิดสุดท้าย คําเชื่อมบอกความสัมพันธ์ทางเวลา มีจํานวนร้อยละ 0.12 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามักตั้งชื่อเรื่องเพื่อตอบคําถามว่า “ใคร” “ที่ไหน” และ “อย่างไร” โดยใช้ คําเชื่อมชนิดต่างๆ ได้แก่ คําเชื่อมบอกเจ้าของคําเชื่อมบอกความสัมพันธ์ทางสถานที่และคําเชื่อมบอกการขยายความ ตามลําดับ ชื่อเรื่องบทนิพนธ์ที่มีความหมายแสดงเจ้าของ สถานที่และการขยายความจึงน่าจะเป็นชื่อที่เหมาะสม ชัดเจน และตรงประเด็นมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ดาราฉาย ซ., & ใจแจ้ง ว. (2018). คำเชื่อมในชื่อเรื่องบทนิพนธ์ภาษาไทยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. วรรณวิทัศน์, 18, 85–104. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2018.4
บท
บทความประจำฉบับ

References

นววรรณ พันธุเมธา. (2558). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. (8 มีนาคม 2561). วัตถุประสงค์ของบัณฑิตวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://grad.kbu.ac.th/ปรัชญาและปณิธาน

ปรีชาอช้างขวัญยืน. (2552). เทคนิคการเขียนและผลิตตํารา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจินตนา ภาณุพงศ์ และอนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2555). ชนิดของคํา. ในสถาบันภาษาไทย, บรรทัดฐานภาษาไทยเล่ม 3: ชนิดของคําวลีประโยคและสัมพันธสาร (น. 16–65). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2556). เคล็ดลับการเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี สังข์ศรี. (2553). การเขียนโครงร่างการวิจัย. ในนภาลัยสุวรรณธาดาและคณะ, การเขียนผลงานวิชาการและบทความ (น. 188–200). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

อัศวิน ตีระวัฒนพงษ์. (2542). คู่มือจัดพิมพ์บทนิพนธ์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

Alyousef, H. S., & Alnasser, S. M. (2015). A study of cohesion in international postgraduate business students’ multimodal written texts: An SF-MDA of a key topic in finance. The Buckingham Journal of Language and Linguistics, 8, 56–78.

Grant, M. J. (2013). What makes a good title?. Health Information and Libraries Journal, 30(4), 259–260.

Ketabi, S. (2012). A corpus-based study of conjunction devices in English international law texts and its Farsi translation. International Journal of Linguistics, 4(4), 362–371.

Leedy, P. D. & Ormrod, J. E. (2015). Practical research: planning and design(11th ed.). Boston, MA: Pearson.

Li, T. C. (2014). A study of conjunctive adverbials in academic journal articles.Journal of Humanity and Sociology, 23(2), 145–161.