ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยกับการเขียนสะกดคําาของนักศึกษาจีนหลังจากใช้แอปพลิเคชันฝึกออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการใช้แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนภาษามีจำนวนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดงานวิจัยนี้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยกับการเขียนสะกดคำของนักศึกษาจีนหลังจากใช้แอปพลิเคชันฝึกออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทย (Thai Tone Application) ของนักศึกษาจีนที่ใช้แอปพลิเคชันฝึกออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยและที่ไม่ได้ใช้แอปพลิเคชันฝึกออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทย ผู้วิจัยจำแนกนักศึกษาจีนออกเป็นกลุ่มที่ใช้แอปพลิเคชัน (จัดเป็นกลุ่มที่ 1) และกลุ่มที่ไม่ได้ใช้แอปพลิเคชัน (จัดเป็นกลุ่มที่ 2) เพื่อให้มีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองสำหรับเปรียบเทียบผลการวิจัย โดยในกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ได้เรียนในห้องเรียนและใช้แอปพลิเคชันที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ส่วนกลุ่มที่ 2 เรียนในห้องเรียนแต่ไม่ได้ใช้แอปพลิเคชันโดยเสียงที่ใช้ทดสอบการรับรู้นี้เป็นคำพยางค์เดียว ส่วนการเขียนสะกดคำเป็นการเขียนสะกดคำพยางค์เดียวเช่นกัน ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้และทักษะการเขียนสะกดคำมีความสัมพันธ์กันโดยหากเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวความสัมพันธ์ของทั้งสองทักษะจะเป็นไปในทิศทางตรงข้ามคือการรับรู้เสียงดีไม่ได้หมายความว่าทักษะการเขียนสะกดคำจะดีตามไปด้วยแต่เมื่อใช้แอปพลิเคชันฝึกออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองทักษะเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือการรับรู้ดีจะมีทักษะการเขียนสะกดคำที่ดี อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันนี้อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าผู้สอนยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาภาษาของผู้เรียนผ่านปฏิสัมพันธ์ส่วนแอปพลิเคชันใช้เป็นสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ดีขึ้นควบคู่กับการสอนของผู้สอนได้
Article Details
References
จิตรลดาวรรณ ศรีสุนทรไท. (2556). อิทธิพลของภาษาแม่ที่มีต่อการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีน. ภาษาและภาษาศาสตร์ 32(1), 90–121.
จินตนา พุทธเมตะ. (2554). การศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาในโครงการความร่วมมือทางวิชาการวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาภาษาไทยคณะภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2552. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 3(5), 23–30.
ฉัตรชัย วรวรรโณทัย. (2551). การศึกษาผลการตรวจการได้ยินของเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.บนอ.สถาบันฝึกอบรมกองโสต ศอ นาสิกกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ.
ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ. (2558). ต้นแบบฝึกออกเสียงภาษาไทย (คู่มือครู) โครงการวิจัยวิจัยและพัฒนาแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านออกเสียงและการพูดภาษาไทยไม่ชัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
ผณินทรา ธีรานนท์. (2558). ลักษณะกลสัทศาสตร์และการรับรู้เสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยในผู้เรียนชาวต่างชาติ. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ.
ผณินทรา ธีรานนท์. (2559). การทดสอบแอปพลิเคชันฝึกออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยในผู้เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ. รายงานการวิจัย สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2557). สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลกปี 2557. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สันติ ใจจ้อง. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคประสาทหูเสื่อมจากการทําางานของคนงานในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาการจัดการระบบสุขภาพ). มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สิริกร จิเจริญ. (2554). แบบฝึกการผันวรรณยุกต์สําาหรับผู้เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
สุพักตร์ พิบูลย์. (2559). Research-based learning. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องResearch-based learning ณ โรงแรม KM วันที่ 4–5 กรกฎาคม 2559.
สุรีย์วรรณ เสถียรสุคนธ์. (2 ธันวาคม 2553). ข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีการศึกษา 2551–2552. สืบค้นจาก http://www.utcc.ac.th/thesis/academicweek/2553/huminities/sureewan.pdf
อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล. (2556a). Read and Write Thai. สืบค้นจาก https://research.rdi.ku.ac.th/forest/Search.aspx?keyword=learn%20to%20read%20and%20write%20Thai.
อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล. (2556b). Thai Speech Tablet. สืบค้นจาก https://play.google.com/store/apps/details?id=com.simple.thaisoundtablet&hl=en.
Aoyama, K., Flege, J. E., Guion, S. G., Akahane-Yamada, R., & Yamada, T. (2004). Perceived phonetic dissimilarity and L2 speech learning: The case of Japanese /r/ and English /l/ and /r/. Journal of Phonetics 32, 233–250.
Bergman, O. (1999). Wait for me! Reader control of narration rate in talking books, International Reading Association’s Reading Online. Retrieved fromhttp://www.readingonline.org/articles/art index.asp?HREF=/articles/bergman/index.html.
Berninger, V. W. (2000). Development of language by hand and its connections to language by ear, mouth and eye. Topics in Language Disorders 20(4), 65–84.
Bozorgian, H. (2012). The relationship between listening and other language skills in International English Language Testing System. Theory and Practice in Language Studies 2(4), 657–663.
Flege, J. E., & Schmidt, A. M. (1995). Native speakers of Spanish show rate-dependent processing of English stop consonants. Phonetica 52, 90–111.
Flege, J. E., Bohn, O-S., & Jang, S. (1997). The production and perception of English vowels by native speakers of German, Korean, Mandarin, and Spanish. Journal of Phonetics 25, 437–470.
Gardner, R. C., Masgoret, A. M. Tennant, J., & Mihic, L. (2004) Integrative motivation: changes during a long ntermediate level language course. Language Learning 54(1), 1–34.
Hattori, K., & Iverson, P. (2009). Examination of the Relationship between L2 Perception and Production: An Investigation of English/r/-/l/Perception and Production by Adult Japanese Speakers. Second Language Studies: Acquisition, Learning, Education and Technology. Retrieved from http://www.gavo.t.u-tokyo.ac.jp/L2WS2010/papers/L2WS2010_P2-04.pdf
Jia, G., Strange, W., Wu, Y., Collado, J., & Guan, Q. (2006). Perception and production of English vowels by Mandarin speakers: Age-related differences vary with amount of L2 exposure. Journal of the Acoustical Society of America 119, 1118–1130.
Johnston, J. (2005). Factors that influence language development. Retrieved January 14, 2011, from http://www.child-encyclopedia.com/Pages/PDF/JohnstonANGxp.pdf
Keys, K., & Walker, R. (2002). Ten questions on the phonology of English as an international language. ELT Journal 56(3), 298–302.
Kim, C.-W., & Park, S.-G. (1995). Pronunciation problems of Australian students learning Korean: Intervocalic liquid consonants. Australian Review of Applied Linguistics 12, 183–202.
Kim, H. S. (2013). Emerging mobile apps to improve English listening skills. Multimedia-Assisted Language Learning 16(2), 11–30.
Levis, J. (2005). Changing contexts and shifting paradigms in pronunciation teaching. TESOL Quarterly 39(3), 369–377.
McArthur, T. (2001). World English and world Englishes: Trends, tensions, varieties, and standards. Language Teaching 34, 1–20.
Peperkamp, S., & Dupoux, E. (2003). Reinterpreting loanword adaptations: The role of perception. In: M.J. Solé, D. Recasens & J. Romero (éds.). Proceedings of the 15th International Congress of Phonetic Sciences. Adelaide: Causal Productions, 367–370.
Sakai, M., & Moorman, C. (2018). Can perception training improve the production of second language phonemes? A meta-analytic review of 25years of perception training research. Applied Psycholinguistics 39(1), 187–224.
Schmidt, A. M., & Flege, J. E. (1995). Effects of speaking rate changes on native and non-native production. Phonetica 52, 41–54.
Seymour, D. (1970). What Do You Mean, “Auditory Perception”? The Elementary School Journal 70(4), 175–179.
Shanahan, T. (2006). Relations among oral language, reading and writing development,” in Handbook of Writing Research, A. C. MacArthur, S. Graham, & J. Fitzgerald, Eds., The Guidford Press, 2006.
Suwantarathip, O., & Orawiwatnakul, W. (2015). Using mobile-assisted exercises to support students' vocabulary skill development. TOJET: The Turkish Online Journal of Educational Technology 14(1), 163–171.
Vellutino, F. R., & Scanlon, D. M. (1987). Phonological coding, phonological awareness and reading ability: evidence from a longitudinal and experimental study. Merrill-Palmer Quarterly 33, 321–363.
Viberg, O., & Grönlund, Å. (2012). Mobile assisted language learning: A literature review. The 11th World Conference on Mobile and Contextual Learning, mLearn 2012, Helsinki. Retrieved from http://urn.kb.se/resolve?urn=urn:nbn:se:du-10659.
Walker, D., Greenwood, C., Hart, B., & Carta, J. (1994). Prediction of school outcomes based on early language production and socioeconomic factors. Child Development, 65, 606–621.
Yalcinkaya, F., Muluk, N. B., & Sahin, S. (2009). Effects of listening ability on speaking, writing and reading skills of children who were suspected of auditory processing difficulty. International Journal of Pediatric torhinolaryngology 73(8), 1137–1142.