วิวัฒนาการการใช้คำว่า “แก่” ในภาษาไทย

Main Article Content

ทัดดาว รักมาก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการการใช้คำว่า “แก่” ในหมวดคำบุพบทที่ปรากฏตั้งแต่สมัยสุโขทัยเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับการใช้ในปัจจุบัน ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้รวบรวมจากเอกสารประเภทต่างๆ อาทิ จารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร ความเรียง บทความ และค้นคว้าข้อมูลภาษาปัจจุบันจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ (Thai National Corpus) เป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ “แก่” มีดังนี้ ในสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-3 “แก่” ปรากฏหลังคำกริยาและมีหน้าที่นำหน้าคำนามได้หลากหลายกว่าปัจจุบัน ขณะที่ปัจจุบัน “แก่” ใช้จำกัดมากขึ้น คือปรากฏหลังคำกริยาบางคำและนำหน้าคำนามบอกที่หมายและบอกเจ้าของเท่านั้น นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีคำบุพบทคำอื่นที่ปรากฏใช้ลักษณะเดียวกับคำว่า “แก่” เช่น คำว่า กับ แด่ และต่อ

Article Details

How to Cite
รักมาก ท. (2019). วิวัฒนาการการใช้คำว่า “แก่” ในภาษาไทย. วรรณวิทัศน์, 19(2), 142–178. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2019.14
บท
บทความวิจัย

References

จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. (2541). ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หมวดวรรณคดีและหมวดโบราณคดีและประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ภาคปกิณกะ. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2530). การสร้างคำในภาษาไทยสมัยสุโขทัย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์. (2526). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติและภาษาไทเปรียบเทียบ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

นพรัฐ เสน่ห์. (2556). การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของ "ด้วย". (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นัทธ์ชนัน เยาวพัฒน์. (2551). พัฒนาการของพหุหน้าที่ของคำว่า ซึ่ง ในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นันทกา พหลยุทธ. (2526). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำบุพบทในสมัยสุโขทัย อยุธยา กับสมัยปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นิติพงศ์ พิเชฐพันธุ์. (พฤศจิกายน 2556). แนวคิดเกี่ยวกับคำบุพบทในภาษาไทย. วารสารวรรณวิทัศน์, 13, 140-169.

ปิ่นกาญจน์ วัชรปาณ. (2548). "อยาก": การศึกษาเชิงประวัติ. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พรทิพย์ เฉิดฉินนภา. (พฤศจิกายน 2549). ลักษณะสำคัญของภาษาไทยสมัยสุโขทัย. วารสารวรรณวิทัศน์, 6, 161-188.

ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (7 มกราคม 2562). โครงการคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://www.arts.chula.ac.th/~ling/TNCII/

มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์. (2546) การศึกษาเชิงประวัติของคำว่า แล้ว อยู่ อยู่แล้ว. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราตรี แจ่มนิยม. (2546). การศึกษาคำบุพบทที่กลายมาจากคำกริยาในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ราตรี แจ่มนิยม. (พฤษภาคม - สิงหาคม 2549) การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของคํากริยาที่กลายเป็นคําไวยากรณ์ในภาษาไทย. วารสารวิชาการ ม.อบ., 8 (2), 122-137.

วัลยา วิมุกตะลพ. (2513). การเปลี่ยนแปลงความหมายของคำ สำนวน และลำดับของคำในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2553). 100 เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิลปากร,กรม. 2526. จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ศรีสุนทรโวหาร, พระยา. (2515). มูลบรรพกิจ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2509) คำบุพบทในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. (2551). ยัง: การศึกษาเชิงประวัติ. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. (2555). พัฒนาการของคำว่า "เป็น" ในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อุดมสมบัติ, หลวง. (2517). จดหมายหลวงอุดมสมบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2549). พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Hopper, P. J., & Traugott, E. C. (2003). Grammaticalization (2 ed). United Kingdom: Cambridge University.