“วัฒนธรรมอาหาร”: ปรุง “ความเป็นอื่น” ในวรรณคดีไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์

Main Article Content

ธนภัทร พิริย์โยธินกุล
น้ำผึ้ง ปัทมะลางคุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมอาหารในวรรณคดีไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่แสดงให้มโนทัศน์ต่อวัฒนธรรมอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่าวัฒนธรรมอาหารสะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรมประกอบด้วยวัฒนธรรมแขก จีน ฝรั่ง และลาว ละว้า ซึ่งวัฒนธรรมอาหารได้สะท้อนมโนทัศน์ของคนไทยต่อกลุ่มคนดังกล่าวแตกต่างกัน ทั้งการให้คุณค่าและลดทอนคุณค่า เช่น การมองวัฒนธรรมแขกแยกเป็นสองกลุ่มคือ แขกขาวผู้เป็นอารยชนและแขกดำผู้เป็นอนารยชน และการมองลาว ละว้า ในฐานะคนป่า เป็นต้น มโนทัศน์ดังกล่าวทำให้เข้าใจความคิดของ “เรา” ที่มีต่อ “เขา” ต่างๆ ในหลายมิติ วัฒนธรรมอาหารในวรรณคดีจึงไม่เป็นเพียงบันทึกวัฒนธรรม หากแต่ยังสะท้อนให้เห็นความคิดเบื้องหลังในการสร้างสรรค์วรรณคดีอย่างสัมพันธ์กับบริบททางสังคมวัฒนธรรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์

Article Details

How to Cite
พิริย์โยธินกุล ธ., & ปัทมะลางคุล น. (2019). “วัฒนธรรมอาหาร”: ปรุง “ความเป็นอื่น” ในวรรณคดีไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์. วรรณวิทัศน์, 19(2), 29–56. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2019.10
บท
บทความวิจัย

References

กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม. (2532). บรั่นดี และ 6 ตระกูลเหล้ากลั่นชั้นยอดของโลก (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : น้ำค้าง.

กรมศิลปากร. (2545). พระบวรราชนิพนธ์ เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

กอบแก้ว นาจพินิจ. (2542). อาหารไทย. กรุงเทพฯ: โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป คณะวิททยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

กาญจนาคพันธุ์. (2540). ภูมิศาสตร์สุนทรภู่ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2560). จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี พิมพ์พร้อมกับฉบับเพิ่มเติม (พ.ศ. 2310- 2381) และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะตอน พ.ศ. 2310 – 2363) (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์. (2550). เรื่องเล่าจากยะหมาด: ศาสนาและความเชื่อเกี่ยวกับการกินการอยู่ของเจ้าเซ็น. ใน รวมบทความวิจัย ยำใหญ่ใส่สารพัด: วัฒนธรรมอาหารไทย-เทศ. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์. (2555). มุสลิมเชื้อสายอินโด- อิหร่านนิกายชีอะฮ์ในประเทศไทย พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และบทบาทในสังคมไทย. ใน หลากมิติมุมมอง มุสลิมในแผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ. (2555). ปริศนาวงศาคณาญาติ ลัวะ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2552). กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่นิราศแรมรสร้าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2544). คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ถาวร สิกขโกศล (บรรณาธิการ). เสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ฉบับสมบูรณ์สามภาคและฉบับต่างสำนวน 2 เล่ม. (2558). กรุงเทพฯ: บริษัท ซี.พี.ออลล์ จำกัด (มหาชน).

นายทองพับ, นามแฝง. (2555). พาชิมอาหารอร่อย ตามรอยตำนานเก่า เล่าเรื่องจีนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเล่ม 1-4 (พิมพ์ครั้งที่ 9). (2540). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และบ่อเกิดรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2544). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พิมพ์ครั้งที่ 14). (2543). กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.

บังอร ปิยะพันธุ์. (2529). ประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวลาวในหัวเมืองชั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (พิมพ์ครั้งที่ 7). (2554). กรุงเทพฯ: คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน.

ประชุมหมายรับสั่งภาคที่ 4 เล่ม 1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว.(2536). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

ปาลเลอกัวซ์, ฌอง แบปติสต์. (2549). เล่าเรื่องกรุงสยาม (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ศรีปัญญา.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริสเบเคอร์. (2546). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ (พิมพ์ครั้งที่ 3 (ปรับปรุงเพิ่มเติม)). กรุงเทพฯ: Silkworm Books.

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์. (2558). อาหารและวัฒนธรรมการกินคนอาเซียน. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

พรพรรณ ทองตัน. (2556). เล่าเรื่องรังนกนางแอ่นในสยาม ใน นานาสารประวัติศาสตร์จากเอกสารต่างประเทศ เล่ม 2.กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร. สำเภาสยาม: ตำนานเจ๊กบางกอก (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2545).บทละครเรื่องอุณรุท. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

รวมเรื่องแปลหนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ 3. (2539). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานกุรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วัชรี กาชัย และคนอื่น. (2553). ปลาในวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ปันรู้.

วิไลเลขา ถาวรธนสาร. (2545). ชนชั้นนำไทยกับการรับวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ศุกลรัตน์ ธาราศักดิ์. (2540). ฝรั่ง ใน อภิธานศัพท์คำไทยที่มีต้นเค้ามาจากภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

สกินเนอร์, จอร์จ วิลเลียม. (2548). สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 2).(พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

สมพร สิงห์โต. (2517). ความสัมพันธ์ระหว่างรามายณะของวาลมีกิ และรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1. (วิทยานิพนธ์หลักสูตร ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, แผนกวิชาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุกัญญา สุจฉายา. (2548). ภาษากับอาหาร. ใน อาหาร มิติแห่งศาสตร์และศิลป์. กรุงเทพฯ: หลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา สุจฉายา. (2555). มุสลิมกับตำรับอาหารไทย. ใน หลากมิติมุมมอง มุสลิมในแผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มุสลิมศึกษา

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทรภู่. (2553). พระอภัยมณี (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

สุบิน ก กา และศรีสวัสดิ์วัด. (2559). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2557). พระอภัยไม่เคยเสวยเหล้า อาหารการกินกับมิติทางสังคมวัฒนธรรม. ใน สุนทรภู่ อาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว. กรุงเทพฯ: สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

เสฐียรโกเศศ. (2509). รู้ไว้. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

เสาวลักษณ์ กีชานนท์, (2556). คนจีนในไทย: ต่างด้าวที่มิใช่ต่างชาติ ใน นานาสาระประวัติศาสตร์จากเอกสารต่างประเทศ เล่ม 2.กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

อดุลย์ รัตนมั่นเกษม. (2551). กินข้าวกับอาม่า. กรุงเทพฯ: แสงแดด.

ฮ.ศุภวุฒิ จันทสาโร. (2560). หอเจี๊ยะตึ้ง: ตำนานอาหารจีน. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป.

Crawfurd, John. (1987). Journal of an Embassy to the Courts of Siam and Cochin China.Singapore: Oxford University Press.

Kittler, Pamela Goyan, Sucher, Kathryn P. and Nelms, Marcia Nahikian. (2012).Food and Culture, (Sixth edition). Belmont: Wadsworth Cengage learning.

Panu Wongcha-um. (2010). What is Thai Cuisine? Thai Culinary Identity construction from the rise of the Bangkok

Dynasty to its revival. (Master’s Thesis, Department of History). National University of Singapore.

Philip, Thangam. (2003). Southern India. In Solomon H. Katz, editor. Encyclopedia of food and culture v.2 (p. 258-267). Farmington Hills, MI: Thomson/Gale.