คำบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นกลางทั้งในด้านลักษณะของคำบอกเวลา รวมทั้งประเพณี วัฒนธรรม และชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงโลกทัศน์ของชาวไทยภาคกลางที่สะท้อนผ่านคำบอกเวลาเหล่านี้ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากการเก็บข้อมูลจากหนังสือพจนานุกรมภาษาไทยถิ่นกลาง และการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้บอกภาษาที่พูดภาษาไทยถิ่นกลางในเขตภาคกลาง 22 จังหวัด จังหวัดละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 66 คน ผลการศึกษาพบว่าคำบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นกลางมีทั้งสิ้น 3 ประเภท ได้แก่ คำบอกจุดของเวลาภายใน 1 วัน คำบอกวันเดือนปี และคำบอกระยะเวลา นอกจากนี้คำบอกเวลาเหล่านี้ยังสะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวไทยถิ่นกลางในด้านอาชีพ การดำเนินชีวิตของพระสงฆ์ กีฬาและการละเล่นพื้นบ้าน คำบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นกลางสะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ของคนในท้องถิ่นนั้นว่าเวลามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ คน และสัตว์อย่างใกล้ชิด เวลาแบ่งเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต ใน 1 วันสามารถแบ่งเวลาออกเป็นส่วน ๆ ได้ เวลากลางวันและกลางคืนมีความแตกต่างอย่างชัดเจน และเวลาเป็นสิ่งที่หมุนเวียนไปไม่หยุดนิ่ง
Article Details
References
นววรรณ พันธุเมธา. (2527). ไวยากรณ์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
น้อมนิจ วงศ์สุทธิธรรม. (2515). คำบอกเวลาในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
นิโลบล ภู่ระย้า. 2556. “การศึกษาคำบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นอีสานในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน.” (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์. (ธันวาคม 2548). การศึกษาคำบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นใต้. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 22, 160-195.
ราตรี แจ่มนิยม. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบคำบอกเวลาที่สะท้อนโลกทัศน์ในภาษาไทยกับภาษาพม่า. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ราตรี แจ่มนิยม, วิภาวรรณ อยู่เย็น, และพุทธชาติ โปธิบาล. (มกราคม—เมษายน 2559). “คำบอกจุดของเวลาในภาษาพม่า: การศึกษาเชิงวัฒนธรรมและโลกทัศน์.” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 36, 161-186.
วิจินตน์ ภาณุพงศ์.(2520). โครงสร้างภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
หยู, ฮุยถาย. (2547). “การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการบอกเวลาในภาษาไทยกรุงเทพฯ และภาษาจ้วงส้างซี.” (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
อรนุช สุวรรณรัตน์. (2534). “คำบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช.” (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สงขลา.
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2539). หลักภาษาไทย (อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
Kullavanijaya, Pranee. (2003). A Historical Study of Time Markers in Thai. Manusya. 6, 87-106.
Kvalheim, Dale R. (2000). Conceptual metaphors of time in Thai and English. (M.A. Thesis). Faculty of Arts, Chulalongkorn University, Bangkok.