รูปภาษาที่เกิดจากการแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาเกาหลีในบทบรรยายละครโทรทัศน์เกาหลีเป็นภาษาไทย

Main Article Content

จูยอง คิม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปภาษาที่เกิดขึ้นจากการแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกในบทบรรยายละครโทรทัศน์จากภาษาเกาหลีมาเป็นภาษาไทย โดยข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนี้มาจากคำบรรยายภาษาไทยในละครโทรทัศน์เกาหลีทั้งหมด 6 เรื่องซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์อย่างเป็นทางการและมีการแปลบทบรรยายจากต้นฉบับภาษาเกาหลีโดยตรง
ผลการวิจัยพบว่า รูปภาษาไทยที่เกิดขึ้นจากการแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาเกาหลีมีความหลากหลาย ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) รูปภาษาไทยที่คงประธานตามภาษาเกาหลี แบ่งได้เป็น 5 หน่วยสร้าง ได้แก่ หน่วยสร้างกรรมวาจก หน่วยสร้างประธานรับการกระทำ หน่วยสร้างอกรรมกริยา หน่วยสร้างกริยาที่เป็นได้ทั้งอกรรมกริยาและสกรรมกริยา และหน่วยสร้างสกรรมกริยา 2) รูปภาษาไทยที่ไม่คงประธานตามภาษาเกาหลี แบ่งเป็น 4 หน่วยสร้าง ได้แก่ หน่วยสร้างกรรตุวาจก ซึ่งมีหน่วยสร้างย่อยอีก 3 หน่วยสร้าง หน่วยสร้างการดำรงอยู่ หน่วยสร้างแก่นความ-เนื้อความ และหน่วยสร้างการีต

Article Details

How to Cite
คิม จ. (2020). รูปภาษาที่เกิดจากการแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาเกาหลีในบทบรรยายละครโทรทัศน์เกาหลีเป็นภาษาไทย. วรรณวิทัศน์, 20(1), 196–225. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2020.7
บท
บทความวิชาการ

References

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภีมพสิษฐ์ เตชะราชันย์. (2558). กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของตัวบ่งชี้นามวลีแปลง การ และ ความ ในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

รัฐพล ทองแตง. (2552). หน่วยสร้างประธานรับการกระทำในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วิภาส โพธิแพทย์. (2561). ภาษาไทยในมุมมองแบบลักษณ์ภาษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริมา ภิญโญสินวัฒน์. (2533). หน่วยสร้างภาษาไทยที่เทียบเท่ากับหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษในข่าวต่างประเทศผ่านดาวเทียม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (บรรณาธิการ). (2549). หน่วยสร้างที่มีข้อขัดแย้งในไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lee, J. T. (2001). A study of the passive which have one of the verbs ‘toeda, patta, tanghada’. Korean Linguistics, 22(2), 335-354.

Lee, J. T. (2004). The definition of passive and passive predicate. Korean Linguistics, 22(2), 335-354.

Nam, S. K. (2007). A grammatical study on Korean passive sentences (Unpublished doctoral dissertation). Seoul National University, Seoul, Korea.

Prasithrathsint, A. (2003). A typological approach to the passive in Thai. MANUSYA: Journal of Humanities, 6, 1-17.

Iwasaki, S., & Ingkaphirom, P. (2005). A reference of grammar of Thai. Cambridge, England: Cambridge University Press.

Song, B. H. (1979). Passive voice in Korean (한국어의 수동태). Korean Journal of Linguistics, 4(2), 87-113.