ระบบวรรณยุกต์และการแปรกับการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ในภาษาลาว (น้ำปั้ว)

Main Article Content

พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล

บทคัดย่อ

การแปรและการเปลี่ยนแปลงภาษาอาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอก เช่น การสัมผัสภาษา หรือปัจจัยภายใน เช่น การออกเสียงให้ง่ายขึ้น (simplification/ease of articulation) อย่างไรก็ตาม  ในแง่ของการแปรและการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์อันเนื่องมาจากปัจจัยภายในยังไม่มีผู้กล่าวถึงมากนัก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลการวิจัยเกี่ยวกับระบบวรรณยุกต์และการแปรกับการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ในภาษาลาว (น้ำปั้ว) ที่พูดในจังหวัดน่านในภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในตัวภาษาเอง ในแง่ของระบบวรรณยุกต์ ภาษาลาว (น้ำปั้ว) มีวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง ได้แก่ (1) สูง-ตก-ขึ้น /434/ (2) ต่ำ-ขึ้น-ตก /232/ (3) ต่ำ-ตก /21/ (4) สูงระดับ (มีเสียงกักที่เส้นเสียงในตอนท้าย) /44(ˀ)/ และ (5) กลาง-ขึ้น (มีเสียงกักที่เส้นเสียงในตอนท้าย) /35(ˀ)/ ในแง่ของการแปรและการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์พบว่า วรรณยุกต์ที่ 1 /434/ มีเสียงแปร 2 เสียง ได้แก่ เสียงสูง-ตก-ขึ้น [434] และเสียงกลาง-ขึ้น [34] และวรรณยุกต์ที่ 2 /232/ มีเสียงแปร 2 เสียง ได้แก่ เสียงต่ำ-ขึ้น-ตก [232] และเสียงต่ำ-ขึ้น [23] การใช้รูปแปรของวรรณยุกต์แตกต่างกันตามกลุ่มอายุของผู้พูด นั่นคือ ผู้พูดกลุ่มอายุน้อยใช้วรรณยุกต์ที่เป็นเสียงแปร [34] และ [23] เท่านั้น ในขณะที่ผู้พูดกลุ่มสูงอายุและกลุ่มกลางคนใช้ทุกเสียงแปรปะปนกัน ผลการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ที่กำลังเกิดขึ้นในภาษาลาว (น้ำปั้ว) นั่นคือ วรรณยุกต์เลื่อนระดับ [434] และ [232] มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวรรณยุกต์ที่มีสัทลักษณะง่ายขึ้นหรือซับซ้อนน้อยลงนั่นคือ [34] และ [23] ตามลำดับซึ่งงานวิจัยนี้สันนิษฐานว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์อันเนื่องมาจากปัจจัยภายในตัวภาษาเอง

Article Details

How to Cite
อัครวัฒนากุล พ. (2020). ระบบวรรณยุกต์และการแปรกับการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ในภาษาลาว (น้ำปั้ว) . วรรณวิทัศน์, 20(1), 1–36. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2020.1
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา ติงศภัทิย์, ม.ร.ว. (2533). วรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นสุพรรณบุรี: การศึกษาเปรียบเทียบวรรณยุกต์ในคำกับวรรณยุกต์ในถ้อยคำต่อเนื่อง (รายงานผลการวิจัย). ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา ติงศภัทิย์, ม.ร.ว., ดารณี กฤษณะพันธุ์, และอุษณา บัณฑิตกุล. (2538). ภาษาเมืองเพชร. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “เพชรบุรี: พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม” (น. 103–125). กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษาฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระพันธ์ ล. ทองคำ และนิสิตบัณฑิตศึกษา ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์. (2554). เสียงภาษาไทย: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2546). การเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์: กรณีศึกษาภาษากลุ่มลาว (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2555). การแปรและการเปลี่ยนแปลงทางศัพท์และเสียงในภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัดน่าน (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วริษา กมลนาวิน. (2556). วรรณยุกต์ในภาษาลาวหลวงพระบาง. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 32(2), 43–74.

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2556). การแปรและการเปลี่ยนแปลงวรรณยุกต์ไทดำ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 32(2), 19–41.

Abramson, A. S. (1962). The vowel and tones of Standard Thai: Acoustical measurements and experiments. International Journal of American Linguistics, 28(2), 1-146.

Abramson, A. S. (1979). The coarticulation of tones: An acoustic study of Thai. In L. Thongkum, P. Kullavanijaya, V. Panupong, & M. R. K. Tingsabadh (Eds.), Studies in Tai and Mon-Khmer phonetics and phonology in honour of Eugenie J. A. Henderson (pp. 1–9). Bangkok, Thailand: Indigenous Languages of Thailand Research Project.

Akharawatthanakun, P. (2010). Phonological variation in Phuan. MANUSYA, 13(2), 50–87.

Anttila, A. (2002). Variation and phonological theory. In J. K. Chambers, P. Trudgill, & N. Schilling-Estes (Eds.), The handbook of language variation and change (pp. 206–243). Oxford, UK: Blackwell Publishing.

Brown, J. M. (1965). From ancient Thai to modern dialects. Bangkok, Thailand: White Lotus.

Campbell, L., & Mixco, M. J. (2007). A glossary of historical linguistics. Edinburgh: Edinburgh University Press.

Crowley, T., & Bowern, C. (2010). An introduction to historical linguistics (4th ed.). USA: Oxford University Press.

Gedney, W. J. (1972). A checklist for determining tones in Tai dialects. In M. E. Smith (Ed.), Studies in linguistics in honor of George L. Trager (pp. 423–437). The Hague: Mouton.

Hyman, L. M. (2007). Universals of tone rules: 30 years later. In T. Riad & C. Gussenhoven (Eds.), Tones and tunes: Studies in word and sentence prosody (pp. 1–34). Berlin, Germany: Mouton de Gruyter.

Labov, W. (1972). Sociolinguistics pattern. Philadelphia, PA: University of Pennsylvania Press.

Osatananda, V. (1997). Tone in Vientiane Lao (Unpublished doctoral dissertation). University of Hawaii, Manoa.

Pittayaporn, P. (2007). Directionality of tone change. In J. Trouvain & W. Barry (Eds.), Proceedings of the 16th International Congress of Phonetic Sciences (ICPhS2007) (pp. 1421–1424). Dudweiler, Germany: Pirrot.

Tingsabadh, M. R. K. (1980). A phonological study of the Thai languages of Suphanburi province (Unpublished doctoral dissertation). University of London, London, England.

Tingsabadh, M. R. K. (2001). Thai tone geography. In M. R. K. Tingsabadh & A. S. Abramson (Eds.), Essays in Tai linguistics (pp. 205–228). Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University Press.