เด็กคือผ้าขาว (?): ความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครเด็กกับสังคมที่นำเสนอผ่าน เรื่องสั้นรางวัลซีไรต์

Main Article Content

ศรัณย์ภัทร์ บุญฮก

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครเด็กกับการนำเสนอประเด็นทางสังคมไทยร่วมสมัย ผ่านกรณีศึกษาจากเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ในทศวรรษ 2540-2560 จำนวน 7 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครเด็กในวรรณกรรมกลุ่มนี้มักมีลักษณะแปลกแยกจากสังคม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา เพศสภาพ ชาติพันธุ์ ความคิด และความเชื่อ การเล่าเรื่องผ่านตัวละครเด็กเป็นสื่อกลางสำคัญที่ถ่ายทอดความรู้สึกและปัญหาที่เด็กเหล่านี้ต้องเผชิญจากความกดดันจากครอบครัว สังคม ตลอดจนระดับรัฐ ได้แก่ สถานะทางสังคม การแข่งขันในสังคม การควบคุมของรัฐ ความขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ กลวิธีดังกล่าวจึงเป็นการใช้ตัวละครเด็กเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการวิพากษ์ประเด็นทางสังคมเหล่านั้นว่ามิได้เป็น “เรื่องของเด็ก” แต่เป็น “เรื่องของผู้ใหญ่” โดยนำวาทกรรมกระแสหลักของสังคม คือ “เด็กคือผ้าขาว” มาเป็นกลวิธีในการตั้งคำถามกับสังคม หากตัวละครเด็กที่ปรากฏในวรรณกรรมมิได้เป็นผ้าขาว แต่มีความซับซ้อนและหลากหลาย

Article Details

How to Cite
บุญฮก ศ. (2020). เด็กคือผ้าขาว (?): ความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครเด็กกับสังคมที่นำเสนอผ่าน เรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ . วรรณวิทัศน์, 20(2), 173–201. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2020.14
บท
บทความประจำฉบับ

References

กฤษตยา ณ หนองคาย. (2544). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่นที่ได้รับรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2542 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). เด็กกับการสื่อสาร: หลากหลายกระบวนทัศน์ในการศึกษาเรื่อง "เด็กกับการสื่อสาร" ใน กาญจนา แก้วเทพ, นันทกา สุธรรมประเสริฐ และเอกธิดา เสริมทอง, ผู้คนที่หลากหลายในการสื่อสาร: เด็ก สตรี และผู้สูงวัย (น.11-151). กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโส คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุสุมา รักษมณี. (2547). ความน่าจะเป็นเรื่องไม่ธรรมดา. ใน 25 ปีซีไรต์: รวมบทวิจารณ์คัดสรร (น. 687-696). กรุงเทพฯ: สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย.

เกริก ยุ้นพันธ์. (2560). การศึกษาวรรณกรรมสำหรับเด็กในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455-2555. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 14-22.

จเด็จ กำจรเดช. (2554). แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะจิบกาแฟ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ผจญภัย.

จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท. (2560). สิงโตนอกคอก. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

แดนอรัญ แสงทอง. (2557). อสรพิษและเรื่องอื่น ๆ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามัญชน.

นิตยา วรรณกิตร์. (2562). วรรณกรรมสำหรับเด็ก (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: อินทนิล.

บินหลา สันกาลาคีรี. (2556). เจ้าหงิญ (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: ไรเตอร์.

ปราบดา หยุ่น. (2560). ความน่าจะเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพฯ: ไต้ฝุ่น.

พิเชฐ แสงทอง. (2561). วรรณกรรมวิจารณ์: แนวคิดและปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: คมบาง.

รื่นฤทัย สัจจพันธ์. (2549). สุนทรียรสแห่งวรรณคดี. กรุงเทพฯ: ณ เพชร.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2556). อ่านได้ อ่านเป็น: วิพากษ์ระหว่างบรรทัด วรรณกรรมร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2563). บทวิจารณ์รับเชิญ สิงโตนอกคอก. สืบค้นจากhttp://www.duangjaivijarn.com/16857085/รื่นฤทัย-สัจจพันธุ์

วัชระ สัจจะสารสิน. (2560). เราหลงลืมอะไรบางอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 20). ปทุมธานี: นาคร.

วินทร์ เลียววาริณ. (2542). สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน. กรุงเทพฯ: 113.

ศิริพร ศรีวรกานต์. (2551). วรรณกรรมเด็กของเยอรมันกับของไทยช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990: การศึกษาเปรียบเทียบ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/

สรณัฐ ไตลังคะ. (2559). หน่วยที่ 7 วรรณกรรมปัจจุบัน พ.ศ. 2516-2553. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย (Thai Literature) เล่มที่ 1 (น. (7)1 – (7)51) (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สายวรุณ น้อยนิมิตร. (2547). อสรพิษ: การปลดปล่อยของจิตวิญญาณขบถ. ใน สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ (บรรณาธิการ), มองข้ามบ่านักเขียน: เรื่องสั้นไทยในทัศนะนักวิจารณ์ (น. 327-334). กรุงเทพฯ: ชมนาด.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2551). รัก ทุกข์ สุข โศก ในงานวรรณกรรมไทย: ภาพสะท้อนสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.