ปัญหาการออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยในเด็กกัมพูชา จากผลการศึกษาเชิงกลสัทศาสตร์

Main Article Content

กมลรัตน์ สืบเสาะ
สุธาสินี ปิยพสุนทรา
ชมนาด อินทจามรรักษ์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีกลุ่มเด็กกัมพูชาในประเทศไทยจำนวนมากที่จำเป็นต้องติดตามบิดามารดาซึ่งเข้ามาทำงานในประเทศไทย ด้วยเหตุที่ภาษาเขมรซึ่งเป็นภาษาแม่กับภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาที่สองของเด็กเหล่านี้มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ ส่วนภาษาเขมรไม่มีวรรณยุกต์ บทความนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยของเด็กกัมพูชาในคำพูดเดี่ยวทั้งพยางค์เป็นและพยางค์ตาย จากผลการศึกษาทาง
กลสัทศาสตร์ที่ได้เก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษาเด็กกัมพูชาและเด็กไทยวัย 6-12 ปี รวม 20 คน


ผลการศึกษาพบว่า เด็กกัมพูชามีสัทลักษณะวรรณยุกต์ภาษาไทยทั้งที่เหมือนและแตกต่างไปจากเด็กไทย ทั้งนี้ความแตกต่างดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นถึงปัญหาในการออกเสียง โดยเด็กกัมพูชามีการออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยแตกต่างไปจากเด็กไทยในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ประการแรกการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงมากกว่าเด็กไทย ซึ่งพบมากในกลุ่มวรรณยุกต์ระดับ (สามัญและเอก) ประการที่สองการขึ้นตกของระดับเสียงน้อยกว่าเด็กไทย ซึ่งพบมากในกลุ่มวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ (โทและจัตวา) ประการที่สามการที่เด็กกัมพูชาบางคนมีทิศทางการขึ้นตกแตกต่างไปจากเด็กไทย ประการที่สี่การออกเสียงวรรณยุกต์หนึ่งไปคล้ายคลึงกับอีกวรรณยุกต์หนึ่งในระบบเสียง ประการที่ห้าความหลากหลายในการออกเสียงวรรณยุกต์มากกว่าเด็กไทย และประการสุดท้ายเรื่องพิสัยระดับเสียงยังพบว่า เด็กกัมพูชามีพิสัยระดับเสียงที่แคบกว่าเด็กไทยอีกด้วย ลักษณะดังกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงภาวะของภาษาในระหว่างหรืออันตรภาษา

Article Details

How to Cite
สืบเสาะ ก., ปิยพสุนทรา ส., & อินทจามรรักษ์ ช. (2020). ปัญหาการออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยในเด็กกัมพูชา จากผลการศึกษาเชิงกลสัทศาสตร์. วรรณวิทัศน์, 20(2), 138–172. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2020.13
บท
บทความประจำฉบับ

References

กมลรัตน์ สืบเสาะ. (2562). วรรณยุกต์ภาษาไทยของผู้พูดชาวกัมพูชาวัย 6-12 ปี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กมลรัตน์ สืบเสาะ, สุธาสินี ปิยพสุนทรา, และชมนาด อินทจามรรักษ์. (2563). วรรณยุกต์ภาษาไทยในเด็กกัมพูชาวัย 6-12 ปี. ต้นฉบับได้รับการตอบรับตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2564.

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2532). รายงานผลการศึกษาคำพื้นฐานที่ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.

กันตินันท์ เพียสุวรรณ. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่พูดโดยคนไทยและคนอินเดีย: กรณีศึกษาปัจจัยเพศ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 33(2), 65-89.

ชมนาด อินทจามรรักษ์. (2559). โครงการสระและวรรณยุกต์ภาษาไทยที่ออกเสียงโดยผู้พูดภาษาเขมร เวียดนาม พม่า และมลายู: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์และการรับรู้ (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณัฐพงษ์ วงษ์อำไพ. (2552). วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่ออกเสียงโดยเด็กอายุ 6-7 ปี ซึ่งพูดภาษามลายู ถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์และการรับรู้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธนภัทร สินธวาชีวะ. (2552). วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่ออกเสียงโดยคนญี่ปุ่น: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์และการรับรู้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นรเศรษฐ์ พิสิฐพันพรม. (2548). การพัฒนาของวรรณยุกต์ในภาษาเขมรพนมเปญ. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 1(3), 107-120.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2558). การเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส. สารานุกรมศึกษาศาสตร์, 50, 63-68.

ปราณีรัตน์ ปานประณีต. (2557). การรับรู้และการออกเสียงวรรณยุกต์ของเด็กไทยในต่างช่วงอายุ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปิ่นแก้ว กังวานศุภพันธ์. (2550). การศึกษาเปรียบต่างวรรณยุกต์ภาษาไทยระหว่างนักเรียนไทยเชื้อสายเขมรกับนักเรียนที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่: นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแกใหญ่ และมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไผทสมันต์จังหวัดสุรินทร์ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ผณินทรา ธีรานนท์. (2545). การเปลี่ยนแปลงสัทลักษณะของวรรณยุกต์เสียงตรีในภาษาไทย. วารสารอักษรศาสตร์, 24(1-2), 188-209.

ผณินทรา ธีรานนท์. (2559). กลสัทศาสตร์และโสตสัทศาสตร์เสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยโดยชาวเวียดนามและชาวกัมพูชา. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 35(1), 81-100.

ฟ. ฮีแลร์. (2561). ดรุณศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 58). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์.

ฤทัยวรรณ ปานชา. (2560). วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่พูดโดยคนกัมพูชาที่มีประสบการณ์ภาษาไทยแตกต่างกัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์. (2555). การปรับค่าความถี่มูลฐานโดยการแปลงค่าเฮิร์ตเป็นเซมิโทน: แนวทางในการเสนอผลการวิเคราะห์วรรณยุกต์. The Journal of the Faculty of Arts, 8(2), 19-45.

สมพร มีสมบัติ และสุพรรณี อยู่นิ่ม. (2559). แบบฝึกอ่านภาษาไทยสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: ส.เอเซีย เพรส (1981).

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2558). ปัญหาการออกเสียงคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น เชื้อสายกะเหรี่ยงและมอญ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวรรณวิทัศน์, 15(ฉบับพิเศษ), 319-344.

เสนอ ตรีวิเศษ. (2542). การวิเคราะห์ปัญหาการพูดและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ในเขตอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ใช้ภาษาเขมรและภาษาส่วยในชีวิตประจำวัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Brown, H. D. (2000). Principles of language learning and teaching (4th ed.). New York, NY: Addison Wesley Longman.

Ding, H., Jokisch, O., & Hoddmann, R. (2011). An investigation of tone perception and production in German learners of Mandarin. Archives of Acoustics, 36(3), 509-518. doi: 10.2478/v10168-011-0036-6

Eliasson, S. (1997). The cognitive calculus and its function in language. In J. Gvozdanovic (Ed.), Language change and functional explanations (pp. 53-70). New York, NY: Mouton de Gruyter.

Intajamornrak, C. (2017). Thai tones produced by tonal and non-tonal language speakers: An acoustic study. Manusya, 20(2), 1-26.

Lian, A. P. (1980). Intonation patterns of French (Teacher’s Book). Melbourne, Australia: River Seine.

Selinker, L. (1972). Interlanguage. International Review of Applied Linguistics in Language Teaching, 10(3), 209-231.