บทบาทการควบคุม : ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง

Main Article Content

วรุณญา อัจฉริยบดี

บทคัดย่อ

บทความเรื่องบทบาทการควบคุม : ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในวรรณคดีคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทการควบคุมที่เกิดจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ปรากฏในคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของขุนเทพกระวี เมืองสุโขทัย คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างสมัยกรุงศรีอยุธยา และคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างสมัยรัตนโกสินทร์ ผลการศึกษาพบว่าบทบาทการควบคุมในคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างเกิดจากคู่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ 4 ลักษณะ ได้แก่ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเทพกับพระมหากษัตริย์ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์กับข้าราชการ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้สอนกับผู้ถูกสอน และความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างพื้นที่เมืองกับพื้นที่ป่า

Article Details

How to Cite
อัจฉริยบดี ว. (2020). บทบาทการควบคุม : ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง. วรรณวิทัศน์, 20(2), 29–62. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2020.10
บท
บทความประจำฉบับ

References

คำฉันท์ดุษฎีสังเวย คำฉันท์กล่อมช้าง ครั้งกรุงเก่า และคำฉันท์คชกรรมประยูร. (2545). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

คำยวง วราสิทธิชัย, หม่อมหลวง. (2547). คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง จากพิธีกรรมสู่วรรณกรรมคำสอน. วารสารเมืองโบราณ, 30(1), 105-113.

คำยวง วราสิทธิชัย, หม่อมหลวง. (2549). มองวรรณกรรมพระราชพิธีในฐานะวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ. วรรณวิทัศน์, 6, 31-71.

จารุณี วงศ์ละคร. (2561). อำนาจชีวะในทัศนะของ มิเชล ฟูโกต์. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา, 14(1), 136-162.

ชัยรัตน์ พลมุข. (2552). วรรณคดีประกอบพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์: แนวคิดธรรมราชากับกลวิธีทางวรรณศิลป์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556). วรรณคดีสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: นาคร.

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2555). ลิลิตพระบวนพยุหยาตราทางสถลมารคและชลมารค: จากพระราชพิธีสู่วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ. วารสารมนุษยศาสตร์, 19(1), 39-62.

บาหยัน อิ่มสำราญ. (2559). วรรณคดีพระราชพิธี. นครปฐม: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประชุมคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง. (2533). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ราชบัณฑิตยสภา. (2563). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2563 จาก http://www.royin.go.th/dictionary/index.php

สมเกียรติ วันทะนะ. (2557). อำนาจของประเทศ 2. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 40(2), 1-18.

สมเกียรติ วันทะนะ. (2561). โองการแช่งน้ำ: อำนาจของการสาปแช่ง หรืออำนาจของการจับจ้อง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(1), 19-40.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2559ก). ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2559ข). อ่านเมือง เรื่องคนกรุง: วรรณกรรม วิถีความสัมพันธ์ และภาพแทนของพื้นที่. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวณิต จุลวงศ์. (2555). ร่วมอภิรมย์ หรือข่มขืน: มุมมองใหม่ต่อบทอัศจรรย์ในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วารสารศิลปศาสตร์, 12(2), 175-209.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2562). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

เอนก มากอนันต์. (2562). จักรพรรดิราช คติอำนาจเบื้องหลังชนชั้นนำไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.