โหราศาสตร์กับการสร้างสรรค์นวนิยายเรื่องฤกษ์สังหารของ วรรณวรรธน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของโหราศาสตร์กับการสร้างสรรค์นวนิยายเรื่องฤกษ์สังหารของ วรรณวรรธน์ และมีจุดมุ่งหมายในการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูลทางโหราศาสตร์ในนวนิยาย ตลอดจนมีความมุ่งหวังที่จะวิเคราะห์สังคมไทยผ่านการใช้โหราศาสตร์ในการสร้างสรรค์นวนิยาย โดยขอบเขตในการศึกษาคือใช้แหล่งข้อมูลจากนวนิยายเรื่องฤกษ์สังหารของ วรรณวรรธน์ ฉบับพิมพ์รวมเล่มครั้งที่ 10 เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 โดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม รวมทั้งหมดจำนวน 2 เล่ม คือ ฤกษ์สังหาร เล่ม 1 และฤกษ์สังหาร เล่ม 2 ทั้งนี้ผู้วิจัยได้คัดเลือกวิเคราะห์เฉพาะข้อมูลทางโหราศาสตร์ที่มีผลต่อการดำเนินเรื่องเท่านั้น ผลการวิจัยพบว่านวนิยายเรื่องฤกษ์สังหารได้นำโหราศาสตร์ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ภาคคำนวณ ภาคพยากรณ์ และภาคพิธีกรรม มาใช้ในการสร้างสรรค์นวนิยาย ซึ่งโหราศาสตร์ล้วนมีอิทธิพลต่อการสร้างองค์ประกอบนวนิยาย ได้แก่ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร ฉาก และบทสนทนา ผลจากการนำโหราศาสตร์มาใช้เป็นหลักสำคัญในการสร้างสรรค์นวนิยายทำให้เห็นถึงภาพสะท้อนปัญหาสังคม ได้แก่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศ ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหากิเลสของมนุษย์ และยังสะท้อนให้เห็นความสำคัญของโหราศาสตร์ในฐานะเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์อีกด้วย โหราศาสตร์ที่ผู้เขียนนำมาประกอบสร้างในนวนิยายทำให้เห็นถึงความสำคัญและความน่าสนใจของการนำข้อมูลทางคติชนที่เกี่ยวกับพิธีกรรมความเชื่อของคนไทยเรื่องฤกษ์ยามและดวงดาวมาใช้สร้างสรรค์วรรณกรรม ที่สำคัญทำให้เห็นว่านวนิยายเรื่องฤกษ์สังหาร ของ วรรณวรรธน์ สามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสะท้อนภาพสังคมไทยในปัจจุบันผ่านมิติความสัมพันธ์ระหว่างโหราศาสตร์กับวรรณกรรมได้อย่างสมบูรณ์
Article Details
References
กรมศิลปากร, กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (2544). เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
กาญจนา วิชญาปกรณ์. (2534). หลักเบื้องต้นในการศึกษาเรื่องสั้นและนวนิยาย. พิษณุโลก: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุลทัศน์ พยาฆรานนท์. (2542). โหราศาสตร์. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม 15 (น. 7242-7247) (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
ดาราเดลี่. (2562ก). ฤกษ์สังหารรับศึกหนักต่อใบไม้ที่ปลิดปลิว แต่เรตติ้งตอนแรกสอบผ่าน. สืบค้น 27 เมษายน 2563 จาก https://www.daradaily.com/news/83977/read
ดาราเดลี่. (2562ข). ปิดฉาก “ฤกษ์สังหาร” มีคนสังเวยชีวิต. สืบค้น 27 เมษายน 2563 จาก https://www.daradaily.com/news/86044/read
เทพย์ สาริกบุตร. (2551). โหราศาสตร์ปริทรรศน์. พระนคร: เกษมบรรณกิจ.
ไทยรัฐออนไลน์. (13 พฤศจิกายน 2562). ฤกษ์สังหารตอนจบ แฟน ๆ แห่ชมสนั่นโซเชียล. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/entertain/news/1703380
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. ปทุมธานี: นาคร.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2541). บทบาทของข้อมูลคติชนในเรื่องสั้นของนักเขียนอีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 17(1), 31-47.
ประเสริฐ รุนรา. (2557). พิธีสวดนพเคราะห์: พลวัตของพิธีกรรมประดิษฐ์ในสังคมไทยปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พัชรี แก้วผลึก. (2561). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องฤกษ์ตามคัมภีร์โหราศาสตร์ไทยที่มีผลต่อพุทธศาสนิกชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
วกุล มิตรพระพันธ์ และอนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2552). โหราศาสตร์ในมหาชาติไทลื้อ. วารสารอักษรศาสตร์, 38(2), 1-29.
วรรณวรรธน์ (นามแฝง). (2562ก). ฤกษ์สังหาร เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ณ บ้านวรรณกรรม.
วรรณวรรธน์ (นามแฝง). (2562ข). ฤกษ์สังหาร เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ณ บ้านวรรณกรรม.
วีรวัฒน์ อินทรพร. (2552). สรรพลี้หวน: การศึกษาในแง่สังคมวิทยาวรรณคดี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ศรันย์ภัทร์ บุญฮก. (2558). คติชนในนวนิยายของพงศกร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
อชิรพจณิชา พลายนาค.(2553). การใช้โหราศาสตร์เป็นวิถีทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.