หิมพานต์: จากไตรภูมิกถา สู่การ์ตูนแอนิเมชันสามมิติ เรื่องปังปอนด์ตะลุยโลกหิมพานต์

Main Article Content

ศุภธัช คุ้มครอง

บทคัดย่อ

“หิมพานต์” เป็นป่าที่ปรากฏในวรรณคดี เรื่อง “ไตรภูมิกถา” พระราชนิพนธ์ในพญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ป่าแห่งนี้มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีไทยสมัยต่อมา รวมถึงนวนิยาย ภาพยนตร์ และการ์ตูนในยุคปัจจุบันด้วย หนึ่งในนั้น คือ การ์ตูนแอนิเมชันสามมิติ เรื่อง “ปังปอนด์ตะลุยโลกหิมพานต์”  ซึ่งผู้ผลิตได้นำอนุภาคจาก “ไตรภูมิกถา” มาสร้างสรรค์ใหม่ในวัฒนธรรมประชานิยม บทความนี้มุ่งศึกษาว่าการ์ตูนแอนิเมชันเรื่องดังกล่าวมีกลวิธีและปัจจัยในการสร้าง “โลกหิมพานต์” อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า การ์ตูนแอนิเมชันเรื่องนี้สร้าง “โลกหิมพานต์” ขึ้นมาใหม่ด้วยกลวิธีต่าง ๆ เช่น กำหนดให้สัตว์และสิ่งต่าง ๆ จากไตรภูมิกถา มีบทพูด เพิ่มฉากที่ไม่เกี่ยวข้องกับไตรภูมิกถาเข้ามา รวมถึงการเพิ่มมุกตลก ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ผลิตสร้างสรรค์การ์ตูนแอนิเมชันออกมาในลักษณะนี้ คือ การผลิตขึ้นในบริบทอุตสาหกรรมบันเทิงร่วมสมัยซึ่งผู้ผลิตต้องสร้างสรรค์ให้แปลกใหม่ มีความเป็นสากล ตลอดจนสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา ตันติพิมล. (2538). ศึกษาวรรณคดีไทยสมัยกรุงสุโขทัย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นตามลักษณะคำประพันธ์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

เขมพัทธ์ พัชรวิชญ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพภาพยนตร์แอนิเมชันไทยร่วมสมัย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 26(1), 322-331. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/132930/99727

คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต. (2559). โครงการการจัดทำมาตรฐานจริยธรรมและการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว. สืบค้นจาก https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/600100000001.pdf

ณัฐพร กาญจนภูมิ, จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า, นพดล อินทร์จันทร์, และอรัญ วานิชกร. (2562). ปรากฏการณ์วัฒนธรรมแฟนตัวละครการ์ตูนไทย. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal,Silpakorn University, 12(2), 739-757 สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/177806/146618

นิศารัตน์ เกิดสุข. (2559). จิตรกรรมไทย: สัตว์หิมพานต์ (ศิลปนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นจาก http://cai.oas.psu.ac.th/~badul/55/8.pdf

ปราณี เชียงทอง. (2526). วรรณกรรมสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรินดา องค์สุรกุล. (2547). กระบวนการสร้างความหมายเชิงมายาคติในภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สืบค้นจาก https://cuir.car.chula.ac.th/

“ปังปอนด์ เมจิคมาร์เบิ้ล” Puzzle เรียงลูกแก้วบนมือถือ. (2549, ธันวาคม 28). สืบค้นจาก https://mgronline.com/game/detail/9490000159001

มัลติกา หนูสาย. (2558). หิมพานต์ (ศิลปนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/ 6534/p42558002.pdf?sequence=1&isAllowed=y

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (10 กันยายน 2563). แอนิเมชัน. สืบค้นจาก http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=36&chap=7&page=t36-7-infodetail01.html

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2556). อิทธิพลของคติไตรภูมิต่อการสร้างสรรค์วรรณคดี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 1-34. สืบค้นจาก http://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/83/pdf_58

รัชรินทร์ อุดเมืองคำ. (2551). การศึกษาวรรณกรรมแนววัฒนธรรมประชานิยม เรื่อง สังข์ทองฉบับต่าง ๆ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/2/263768

ลิไท, พญา. (2528). วรรณกรรมอาเซียน เล่ม 1 ก. ไตรภูมิกถา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ.

วิภาภรณ์ อรุณปลอด, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, นพดล อินทร์จันทร์, และจักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า. (2561). ภาพยนตร์แอนิเมชั่น: กรณีศึกษาภาพยนตร์การ์ตูน 3 มิติของไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, (6)1, 180-187. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/138075/102699

วิธิต อุตสาหจิต (บรรณาธิการ). (2559). การ์ตูนมหาสนุก ตอนพิเศษ ปังปอนต์ ตะลุยโลกหิมพานต์. กรุงเทพฯ: บรรลือสาส์น.

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (1 ตุลาคม 2562). animated films. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/RatchabanditThai/photos/a.2616307661760646/2616308861760526/?type=3

สิทธา พินิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2554). วรรณคดีสมัยสุโขทัย-อยุธยา พ.ศ. 2172. ใน เอกสารการสอนชุดวรรณคดีไทย หน่วยที่ 1-7 (ปรับปรุงครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรพงษ์ ชูเดช. (2544). เอกสารประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

BANLUESARN. (2563). Publishing house for comic books and magazines. Retrieved from http://www.banluegroup.com/wp-content/uploads/2018/05/port_banluesarn_01.pdf

PangPondClub. (25 ธันวาคม 2560). การ์ตูนปังปอนด์ตะลุยโลกหิมพานต์ [ตอนยาว] | PangPond the Himmapan Adventure [Full] | PangPondClub. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=qm0gdpbY3Rc

Ryt9. (2550). วิธิตาจับมือไซเบอร์แพลนเน็ตร่วมสร้างจินตนาการกับแฟน ๆ “ปังปอนด์” ในรูปแบบเกมคอมพิวเตอร์ “ปังปอนด์ ตะลุยโลกหิมพานต์”. สืบค้นจาก https://www.ryt9.com /s/prg/95791.

VithitaAnimation. (2563). A full service animation house with our own original IPs ready for global broadcasting and licensing. Retrieved from http://www.banluegroup. com /wp-content/uploads/2018/05/port_vithita_01.pdf

VithitaAnimation. (2563). การ์ตูน คาแรคเตอร์ ปังปอนด์. สืบค้นจาก http://www.vithita.com/series_pangpond.php?mulang=th

ปยุต. (18 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.

Dechawat Nettayakul. (18 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.

Smatiwatchara Unsomsri. (18 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.

HRK. (18 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.