การศึกษามูลบททางวัจนปฏิบัติศาสตร์ที่ปรากฏบนเพจเฟซบุ๊ก “วุ้นแปลภาษา”

Main Article Content

ชนนิกานต์ ศรีพิทักษ์
ปัญญาพร ศรีเปารยะ
อลิสา คุ่มเคี่ยม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบททางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ที่ปรากฏบนเพจเฟซบุ๊ก“วุ้นแปลภาษา” ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2562 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ผลการศึกษาพบมูลบททาง วัจนปฏิบัติศาสตร์พบทั้งหมด 3 มูลบท มูลบทที่พบมากที่สุด คือ มูลบทปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิดข้อความ ลำดับต่อมาคือมูลบทความคิด ความเชื่อและค่านิยม และมูลบทพื้นฐานที่มีร่วมกัน พบน้อยที่สุด มูลบททางวัจนปฏิบัติศาสตร์ที่ปรากฏบนเพจเฟซบุ๊ก “วุ้นแปลภาษา” แสดงให้เห็นถึงกลวิธีในการเลือกข้อความมาตีความหมายให้ตรงกับความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์และบริบทในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของข้อความและความหมาย อีกทั้งการตีความหมายนั้นเป็นการหยิบยกสิ่งที่เป็นเสมือนส่วนหนึ่งในชีวิตมาถ่ายทอดอย่างน่าสนใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และธีรนุช โชคสุวณิช. (2551). วัจนปฏิบัติศาสตร์. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2564). ศปถ. เสนอสรุป ผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนน. http://roadsafety.disaster.go.th/in.roadsafety-1.196/

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทย. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2554). สหบท: มุมมองใหม่ในการวิเคราะห์ภาษาและวาทกรรม. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 29(2), 1-26.

ชิษณุพงศ์ อินทรเกษม. (2559). กลวิธีทางภาษาในการนําเสนอความคิดเกี่ยวกับ “การศึกษา” และ “การเรียนกวดวิชา” ในวาทกรรมโฆษณาสถาบันกวดวิชา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(2), 98-110.

ณัฐชา ตะวันนาโชติ. (2562). ‘วุ้นแปลภาษา’ ความหมายของภาษานอกพจนานุกรม. Creative Thailand Magazine ภาษาดิ้นได้, 10(11), 20-22. https://issuu.com/creativethailand/docs/ct-magazine-119

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2564). ผลกระทบของ Covid-19 ต่อเศรษฐกิจไทยและคนทำธุรกิจ SME. https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/covid19-newnormal-with-sme

บอส อยู่วิทยา: ไทยเตรียมขอส่งตัวทายาทกระทิงแดงเป็นผู้ร้ายข้ามแดน. (6 ตุลาคม 2563). BBC News. https://www.bbc.com/thai/thailand-54424489

บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563. ศธ. 360 องศา. https://moe360.blog/2020/05/08/การเตรียมความพร้อมของก/

เปิดความหมาย ปีชง หมายถึงอะไร. (14 พฤศจิกายน 2560). ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/horoscope/belief/1128792

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). https://dictionary.orst.go.th/

พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร. (14 กรกฎาคม 2560). ตัดสินจากหน้าตา พิพากษาจากรูปลักษณ์ วัฒนธรรมการ ‘เหยียด’ ในสังคมไทย ตลกที่ไม่ขำ ความเหลื่อมล้ำที่ต้องทบทวน. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_602911

เพจวุ้นแปลภาษา [Facebook page]. Facebook. https://www.facebook.com/woonplaepasa

มธุรดา สุวรรณโพธิ์ และนันทวัช สิทธิรักษ์. (2558). นิยามรัก 2015. https://new.camri.go.th/_admin/file-content-downlaod/FM-1216-1590752788.pdf

รุจิรา บำรุงกาญจน์ และกิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา. (2560). คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์ และวัจนปฏิบัติของรูปปฏิเสธ เปล่า ในภาษาไทย. วารสารอักษรศาสตร์, 46(2), 295-343.

วันที่ไทยรู้จัก COVID-19. (28 มีนาคม 2563). ข่าวไทยพีบีเอส. https://news. thaipbs.or.th/content/290347

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. (ม.ป.ป.). พี่น้องทะเลาะกัน. สืบค้น 28 กันยายน 2564 จาก https://www.childrenhospital.go.th

สมาคมโฆษณาดิจิทัล ประเทศไทย. (6 กรกฎาคม 2559). DAAT เผยข้อมูลผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทย ไตรมาส 1 ประจำปี 2559. MarketingOops. https://www.marketingoops.com/reports/infographic-reports/thailand-online-overview-q1-2016/?fbclid=IwAR3QgvuaqrcxH5unburZ8zaDA4MwDRBA-Gt3l49zfRRu-20sDL66t_iQb0Y

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564. https://www.cpn1.go.th/2021/wp-content/uploads/2021/01/นโยบายการรับนร.-2564-สพฐ.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสองปี 2564. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5492&filename=socialoutlook_report

สิริญญา สุขสวัสดิ์. (2558). ลักษณะภาษาและกลวิธีการใช้ภาษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ ในหน้าแฟนเพจ “ข้อความโดนๆ” ในเฟซบุ๊ก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Kempson, R. (1975.) Presupposition and the Delimitation of Semantics. Cambridge University Press.

MGR Online. (16 ธันวาคม 2556). รู้หรือไม่? ปลาก็มีสมอง. MGR Online. https://mgronline.com/live/detail/9560000154503