อุดมคติที่ปรากฏในตัวพระรามซึ่งสะท้อนให้เห็นในวาลมีกิรามายณะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ ศึกษาลักษณะอุดมคติที่ปรากฏในตัวพระรามซึ่งสะท้อนให้เห็นในวาลมีกิรามายณะ และตรวจสอบอิทธิพลวาลมีกิรามายณะที่มีต่อการสร้างจารึกภาษาสันสกฤตในอาณาจักรกัมพูชา ผลการศึกษาพบว่า พระรามหรือศรีราม เป็นพระเอกในวาลมีกิรามายณะ จำแนกลักษณะอุดมคติได้ 3 ด้าน คือ 1. ความเป็นผู้กตัญญู 2. ความเป็นผู้ยึดมั่นในคำสัตย์ และ 3. ความเป็นผู้ยึดมั่นในรักที่มีต่อนางสีตา ส่วนอิทธิพลของรามายณะที่มีต่อประเทศไทยและกัมพูชาพบจากหลักฐานทางจารึกว่ามีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เช่น จารึก เวียลกันเตล (K.359) ในกัมพูชา และจารึกพบที่ศรีเทพในประเทศไทย จารึกปราสาทพระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษที่ 18 กวีได้กล่าวถึงพระรามในมุมมองของผู้นับถือศาสนาพุทธที่สดุดีกษัตริย์ผู้นับถือศาสนาพุทธว่า พระองค์ถมถนนข้ามมหาสมุทรไปกรุงลงกา เทียบกับกษัตริย์ผู้นับถือพระพุทธศาสนา (ชัยวรรมันที่ 7) ที่ทรงสร้างสะพานด้วยทองคือการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเพื่อส่งสัตว์โลกให้พ้นวัฏสงสาร การศึกษาในประเด็นนี้เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำให้มีการขยายการศึกษาให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นในอนาคต หวังว่าผู้สนใจภารตวิทยาจะได้ศึกษาให้แพร่หลายถึงชีวิตของพระราม ที่ไม่จำกัดเฉพาะในดินแดนอินเดีย
Article Details
References
จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. (2544). ภาษา-จารึกฉบับที่ 7 คุรุบูชาเนื่องในวาระเกษียณอายุราชการของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนุมานราชธน, พระยา. (2531). รวมเรื่องเกี่ยวกับรามเกียรติ์. กรมศิลปากร องค์การค้าของคุรุสภา และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป.
Barth, A. (1885). Inscriptions Sanscrites du Cambodge, no I. Imprimerie nationale.
Basham, A. L. (1982). The wonder that was India. Fountain Book in Association with Rupa & Co.
Cœdès, G. (1941). “La stèle du Práh Khằn d'Ankor” in BEFEO XLI (pp. 255-302).
Majumdar, R.C. (1953). Inscriptions of Kambuja. Asiatic Society.
Nene, Gopāla Śāstrī. (1982).The Manusmrti with Manvartha-Muktāvalī of Kullūka Bhatta. Chaukhambha Sanskrit Samsthan.
Sen, Makhanlal. (1989). The Ramayana of Valmiki. Rupa & Co.