พระลักษมณ์และราวณะในปอุมจริยะ : การดัดแปลงนิทานพระรามให้เป็นวรรณคดีทางศาสนา

Main Article Content

บุณฑริกา บุญโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเรื่องราวที่แสดงความสัมพันธ์ในฐานะคู่ขัดแย้งระหว่างพระลักษมณ์และราวณะในปอุมจริยะของวิมลสูริและรามายณะของวาลมีกิ และวิเคราะห์ลักษณะการดัดแปลงนิทานพระรามในบริบทศาสนาเชนที่ปรากฏผ่านเรื่องราวความสัมพันธ์ของตัวละครทั้งสอง ผลการศึกษาพบว่าเรื่องราวที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระลักษมณ์และราวณะในรามายณะฉบับวาลมีกิแทบจะมิได้ปรากฏ เนื่องด้วยรามายณะฉบับวาลมีกินั้นเน้นเสนอภาพความขัดแย้งระหว่างพระรามกับราวณะ ในขณะที่ปอุมจริยะของวิมลสูริมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครทั้งสองผ่านเรื่องราวความขัดแย้งที่ดำเนินมาตั้งแต่อดีตชาติ ลักษณะความสัมพันธ์ของตัวละครทั้งสอง ได้แก่ (1) การเกิดร่วมกันในทุกภพชาติ (2) การมีชะตาต้องสังหารกัน และ (3) การก้าวผ่านอีกฝ่ายเพื่อเปลี่ยนสถานภาพ ผลการวิเคราะห์ลักษณะการดัดแปลงนิทานพระรามในบริบทศาสนาเชนจากเรื่องราวความสัมพันธ์ของตัวละครทั้งสอง พบว่ามีการดัดแปลงนิทานพระราม 2 ลักษณะ คือ (1) ดัดแปลงโดยรักษาโครงเรื่องนิทานดั้งเดิมไว้ และ (2) สร้างสรรค์เรื่องราวใหม่ การดัดแปลงนิทานพระรามเช่นนี้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางศาสนาเรื่องศลากาปุรุษะและเรื่องกรรมกับสังสารวัฏ ทำให้ปอุมจริยะ รามายณะฉบับของศาสนาเชนกลายเป็นวรรณคดีทางศาสนาที่มีการนำเสนอแนวคิดทางศาสนาสอดแทรกอยู่ในเรื่องอย่างลงตัว

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

บุณฑริกา บุญโญ, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย

South Asian Languages Section, Department of Eastern Languages,

References

กุสุมา รักษมณี, มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์, สยาม ภัทรานุประวัติ, และ นาวิน วรรณเวช. (2557) มหากาพย์รามายณะของวาลมีกิฉบับภาษาไทย. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ชลลดา มงคล. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบตัวละครทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับต่าง ๆ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชวรินทร์ คำมาเขียว, วรวรรธน์ ศรียาภัย, บุญยงค์ เกศเทศ, และ จารุวรรณ เบญจาธิกุล. (2564). พระราม-พระยาพรหมจักร: พลวัตอุดมคติจากวรรณกรรมลายลักษณ์อินเดีย-ไทยวน. วิวิธวรรณสาร, 5(3), 239-266.

ธิติ แจ่มขจรเกียรติ. (2553). การสื่อสารแนวคิดอธรรมผ่านตัวละครทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ [ปริญญานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาวิน วรรณเวช. (2557). ตัวละครปรปักษ์ในวรรณคดีสันสกฤต: กรณีศึกษาราวณะในรามายณะฉบับวาลมีกิ. กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

บุณฑริกา บุญโญ. (2562). ลักษณะเด่นของตัวละครราวณะในปอุมจริยะของวิมลสูริ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

วุฒินันท์ ชัยศรี. (2554). พรหมจักร: การศึกษารามเกียรติ์ฉบับล้านนาในฐานะวรรณคดีชาดก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

ศิราพร ฐิตะฐาน. (2522). รามเกียรติ์: ศึกษาในแง่การแพร่กระจายของนิทาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

สมพร สิงห์โต. (2517). ความสัมพันธ์ระหว่างรามายณะของวาลมีกิและรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

หรรษา ติ่งสุวรรณ. (2548). บทบาทสตรีในรามเกียรติ์: ศึกษาเปรียบเทียบนางสีดาของอินเดียและไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

Chandra, K. R. (1970). A Critical study of Paumacariyaṃ. Research Institute of Prakrit, Jainology and Ahimsa Vaishali.

De Clercq, E. (2005). The Paümacariya - Padmacarita - Paümacariu: the Jain Rāmāyaṇa-Purāṇa. In P. Koskikallio & Ježic Mislav (Eds.), Epics, khilas, and puranas: continuities and ruptures; Proceedings of the third Dubrovnik International Conference on the Sanskrit Epics and Puranas (pp. 597-608). Croatian Academy of Sciences and Arts.

De Clercq, E. (2010). Jaina Jaṭāyus or the story of King Daṇḍaka. In N. Balbir (Ed.), Svasti: essays in honour of Prof. Hampa Nagarajaiah for his 75th birthday (pp. 168-175). K.S. Muddappa Smaraka Trust.

De Clercq, E. (2011). A Note on Sītā as Rāvaṇa’s Daughter in the Jain Rāmāyaṇas. Journal of Vaishnava Studies, 20(1), pp. 197-207.

De Clercq, E. (2013). Karman and compassion: Animals in the Jain Universal history. In F. Ferrari & T. Dähnhardt (Eds.), Charming beauties and frightful beasts non-human animals in South Asian myth, ritual and folklore (pp. 129-146). Equinox Publishing.

De Clercq, E. (2015). Śūrpaṇakhā in the Jain Rāmāyaṇas. In M. Brockington & J. Brockington (Eds.), Rejection and response in the Rama tradition: the Portrayal of secondary women (pp. 18-30). Routledge.

Goldman, R. P. (1990). The Ramayana of Valmiki: An epic of ancient India V.1 Bālakāṇḍa. Motilal Banarsidass Publishers.

Jain, H. (2006). Literature of Jainism. In S. K. Chatterji (Ed.), The cultural heritage of India Vol. V: Languages and literatures (pp. 152-163). The Ramakrishna Mission Institute of Culture.

Jaini, P. S. (2000). Collected papers on Jaina studies. Motilal Banarsidass.

Jaini, P. S. (2001). The Jaina path of purification. Motilal Banarsidass.

Kulkarni, V. M. (1990). The story of Rāma in Jain literature. Saraswati Pustak Bhandar.

Monier-Williams, M. (1899). A Sanskrit-English dictionary: Etymologically and philologically arranged with special reference to Cognate indo-european languages. The Clarendon Press.

Shah, U. P. (1987). Jaina-rūpa-maṇḍana. Shakti Malik.

Wiley, K. L. (2006). The A to Z of Jainism. Vision Books.