มโนอุปลักษณ์ความรักในเพลงลูกทุ่งอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนอุปลักษณ์ความรักที่สะท้อนผ่านถ้อยคำอุปลักษณ์ในเพลงลูกทุ่งอีสานและเพื่อศึกษามิติทางสังคมวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านมโนอุปลักษณ์ความรักในเพลงลูกทุ่งอีสาน โดยใช้ข้อมูลจากเนื้อร้องเพลงลูกทุ่งอีสานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักระหว่างชายกับหญิงของนักร้องลูกทุ่งอีสานในสังกัดบริษัทแกรมมี่ โกลด์ จำนวน 358 เพลง และใช้แนวคิดมโนอุปลักษณ์ของเลคอฟและจอห์นสัน (Lakoff & Johnson, 1980) เป็นกรอบการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่ามโนอุปลักษณ์ความรักที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งอีสานมี 8 มโนอุปลักษณ์ ได้แก่ [ความรัก คือ การเดินทาง] [ความรัก คือ การรักษาโรค] [ความรัก คือ การแข่งขัน/กีฬา] [ความรัก คือ การศึกษาเล่าเรียน] [ความรัก คือ ธุรกิจ] [ความรัก คือ การแสดง] [ความรัก คือ ต้นไม้] และ [ความรัก คือ ดาว/เดือน] ส่วนมิติทางสังคมวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านมโนอุปลักษณ์ความรักที่ปรากฏสะท้อนมิติทางสังคมวัฒนธรรมอีสานได้ 2 ประการ คือสะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวชนบทอีสานและสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคม
Article Details
References
กรกต กลิ่นเดช และ ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2562). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความรักที่ประพันธ์โดยแก้ว อัจริยะกุล. วารสารมังรายสาร, 7(2), 33-44.
กรกนก รัมมะอัตถ์. (2556). การเปรียบเทียบอุปลักษณ์ความรักในเพลงลูกทุ่งกับเพลงไทยสากล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กฤติกา ชูผล. (2563). อุปลักษณ์เกี่ยวกับผู้หญิงในบทเพลงสุนทราภรณ์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 3(2), 95-109.
จินตนา ดำรงค์เลิศ. (2533). วรรณกรรมเพลงลุกทุ่ง: ขนบ ธรรมเนียมประเพณี ค่านิยมและการดำเนินชีวิตของชาวชนบทไทยที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งไทย ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน. สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัชวดี ศรลัมพ์. (2548). อุปลักษณ์ตามแนวคิดของทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน.วารสารศิลปศาสตร์, 5(1), 1-16.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพวรรณ เมืองแก้ว และ อธิปัตย์ นิตย์นรา. (2564). อุปลักษณ์ความรักในบทเพลงของธงไชย แมคอินไตย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 108-124.
นภสร อิงสถิตธนวันต์ และ สุนทรี คันธรรมพันธ์. (2564). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับความรักจากเพลงภาษาญี่ปุ่น.วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 43(1),49-68.
ปัณณฑัต ลำเฟือย และ อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2564). การแสดงหมอลำคณะ เสียงอีสาน. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3), 76-83.
เพ็ญพิมพ์ พวงสุวรรณ, พรนภา ธนโพธิวิรัตน์, ผกามาศ ชัยรัตน์, และเกริกกิต ชัยรัตน์(2563). วัฒนธรรมอีสานผ่านบทเพลงลูกทุ่งไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(3),139-156.
ภัทรา งามจิตวงศ์สกุล. (2546). การศึกษาอุปลักษณ์ความรักจากบทเพลงไทยสากล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. (2547). เพลงลูกทุ่งอีสานกับการสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น: ศึกษาในผลงานเพลงของศิริพร อำไพพงษ์. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์. (2548). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับผู้หญิงในบทเพลงลูกทุ่งไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิภาวี ฝ้ายเทศ. (2563). ภาพตัวแทนการตอบสนองของชาวชนบทต่อวาทกรรม การพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความทันสมัยที่นำเสนอในเพลงลูกทุ่ง. วารสารวิทยาลัยนครลำปาง, 9(3), 86-105.
ศรณ์ชนก ศรแก้ว.(2560). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับบุคคลที่สามของความรักในเพลงไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศราวุธ โชติจำรัส. (2563). บทเพลงอีสานสมัยนิยมและปัจจัยที่มีผลต่อความนิยมของบทเพลงอีสานในสังคมไทยปัจจุบัน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม, 10(3), 76-84.
สินีนาฏ วัฒนสุข. (2549). อุปลักษณ์แสดงอารมณ์รักในเพลงไทยสากลสำหรับวัยรุ่นไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิริชญา คอนกรีต. (2556). เพลงลูกทุ่งอีสาน: อัตลักษณ์และการเมืองเชิงวัฒนธรรมของคนอีสานพลัดถิ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรเชษฐ์ พิชิตพงศ์เผ่า.(2553). มโนอุปลักษณ์ชีวิตที่สะท้อนผ่านถ้อยคำอุปลักษณ์ในหนังสือแนะนำการดำเนินชีวิต. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 27 (ธันวาคม), 177-220.
สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2534). กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2. อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ.
อันธิกา ดิษฐกิจ.(2555). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในบทเพลงความรักที่ประพันธ์โดยนิติพงษ์ ห่อนาค [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphor we live by. University of Chicago Press.
Suparak Techacharoenrungrueang, & Maliwan Bunsorn. (2022). Conceptual Metaphors of Love in Thai Pop Songs Produced by Nadao Music and Representation of Love in the Digital Age. Manutsat Paritat: Journal of Humanities, 44(1), 80-107.