ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนพระสงฆ์ผู้กระทำผิดในวาทกรรมข่าวออนไลน์ : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์

Main Article Content

ยุทธการ ปัทมโรจน์
ศิริพร ภักดีผาสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนพระสงฆ์ผู้กระทำผิดในวาทกรรมข่าวออนไลน์ตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของ Fairclough (1992, 1995a, 1995b) ผลการศึกษาพบว่ามีการใช้กลวิธีทางภาษาเพื่อนำเสนอตัวแทนพระสงฆ์ผู้กระทำผิด ได้แก่ การใช้คำเรียก การใช้กริยาวลี การเลือกใช้คำ การเล่าเรื่อง การใช้มูลบท การใช้สหบท และการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ กลวิธีทางภาษาดังกล่าวนำเสนอภาพตัวแทนพระสงฆ์ผู้กระทำผิดได้ 3 ภาพหลัก ได้แก่ 1) พระสงฆ์ผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับความเป็นพระ 2) พระสงฆ์ผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่สร้างความเสื่อมเสียให้แก่สังคมและศาสนา และ 3) พระสงฆ์ผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่สมควรถูกตำหนิ ประณามและขับไล่ให้พ้นไปจากสถาบันพระพุทธศาสนาและวงการพระสงฆ์โดยรวม ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อวาทกรรมข่าวพระสงฆ์ผู้กระทำผิด ได้แก่ กฎหมาย พระธรรมวินัย ระเบียบคณะสงฆ์ และแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ ผลการศึกษาทำให้เห็นว่าสื่อมวลชนนำเสนอประเด็นปัญหาพระสงฆ์บางรูปที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเพื่อเป็นจุดขายและดูเหมือนจะเป็นการขจัดมลทินให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาโดยการประณามพระสงฆ์ผู้กระทำผิดอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามสื่อมวลชนก็ไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุอย่างจริงจังหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน ท้ายที่สุดปัญหาก็ยังคงมีอยู่และถูกนำเสนอซ้ำดังที่พบในการรายงานข่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020.aspx

กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับมุมมองในข่าววัดพระธรรมกายที่เสนอในหนังสือพิมพ์ไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2548). สื่อสารมวลชนกับความมั่นคงแห่งพุทธศาสนา. สถาบันวิจัยพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2543). พุทธศาสนากับสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สหายบล็อกและการพิมพ์.

ธีระยุทธ สุริยะ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนของนักโทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตในหนังสือพิมพ์รายวันไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

นครินทร์ สำเภาพล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและภาพตัวแทนบุคคลพ้นโทษในวาทกรรมสนับสนุนบุคคลพ้นโทษในสื่อสาธารณะ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

พระเทพดิลก ฐิตญาโณ. (2543). พระธรรมวินัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาพนม เนี่ยวกูล. (2544). ความคาดหวังของพุทธศาสนิกชนต่อบทบาทพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.

พุทธทาสภิกขุ. (2550). ปฏิจจสมุปบาท: เรื่องสำคัญที่สุดสำหรับพุทธบริษัท. ธรรมสภา.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2537). หลักการทำหนังสือพิมพ์เบื้องต้น. ประกายพรึก.

รัตนวดี เทพช่วยสุข. (2539). การรับรู้ของชาวพุทธต่อภาพลักษณ์ของพระสงฆ์กับการนำเสนอผ่านสื่อมวลชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทาง การนำมาศึกษาภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชากร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (18 กรกฎาคม 2561). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505. https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=308233&ext=pdf

สิริภัทร เชื้อกุล. (2563). ภาพตัวแทนผู้เรียนอาชีวะที่ประกอบสร้างผ่านภาษาในวาทกรรมสื่อมวลชนและวาทกรรมสื่อภาครัฐ: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.] Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

สุจิตรา เหลืองชูเกียรติ. (2543). การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพระสงฆ์ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวันกับการเปิดรับข่าวสารและความเชื่อมั่นทางศาสนาของประชาชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัทร แก้วพัตร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนคนอีสานในหนังสือพิมพ์ระดับชาติและหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

อนุรักษ์ สบายสุข. (2552). ความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนต่อข่าวสารพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของพระสงฆ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. ThaiLIS.

Fairclough, N. (1989). Language and power. Longman.

Fairclough, N. (1992). Discourse and social change. Polity Press.

Fairclough, N. (1995a). Media discourse. Edward Arnold.

Fairclough, N. (1995b). Critical discourse analysis: The critical study of language. Longman.

Fowler, R. (1991). Language in the news: Discourse and ideology in the Press. Routledge.

Hall, S. (1997). Representation: cultural representation and signifying practice. SAGE.

Hall, S. (2003). The work of representation. In S. Hall, J. Evans, & S. Nixon (Eds.), Representation (2nd ed., pp. 1-47). Sage.

Levinson, S. (1983). Pragmatics. Cambridge University Press.

SimilarWeb, Ltd. (2020). Top news and media websites in Thailand for Jul - Sep 2020. https://pro.similarweb.com/#/research/marketresearch/webmarketanalysis/trends/News_and_Media/764/3m?webSource=Total