กลวิธีโน้มน้าวใจในประเพณีเทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาราช

Main Article Content

ธนวัฒน์ เนียมนิล
อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีโน้มน้าวใจในประเพณีเทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาราช โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากวีดิทัศน์ประเพณีเทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาราชเฉพาะภาคกลางที่มีการเผยแพร่เป็นสาธารณะในเว็บไซต์เฟซบุ๊กช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 และเว็บไซต์ยูทูบ โดยคัดเลือกเฉพาะวีดิทัศน์ที่พระผู้เทศน์มีการโน้มน้าวใจคนที่มาฟังเทศน์ให้ร่วมทำบุญไถ่ตัวกัณหาชาลีเท่านั้น ซึ่งมีทั้งหมด 5 วีดิทัศน์ และจากการเก็บข้อมูลภาคสนามในงานเทศน์มหาชาติ “พระเวสสันดร” 13 กัณฑ์ หนึ่งพันพระคาถา วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ วัดทุ่งครุ แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร โดยใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการโน้มน้าวใจ กรอบแนวคิดการเล่าเรื่อง กรอบแนวคิดเกี่ยวกับพิธีกรรมในฐานะการแสดง และกรอบแนวคิดบทบาทหน้าที่ของคติชนเป็นแนวทางในการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่ามีกลวิธีโน้มน้าวใจในประเพณีเทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาราช 10 กลวิธี โดยจัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลวิธีทางภาษา 3 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้คำหรือวลีแสดงความชื่นชมยกย่อง การใช้อุปมาอุปไมย และการใช้คำแสดงปริมาณเพื่อเสนอแนะแนวทางในการติดกัณฑ์เทศน์ กลุ่มที่ 2 กลวิธีทางเนื้อหา 4 กลวิธี ได้แก่ การอ้างอานิสงส์ การยกตัวอย่างขนบธรรมเนียมโบราณ การใช้แหล่นอกเล่าเรื่อง และการให้พร และกลุ่มที่ 3 กลวิธีทางการแสดง 3 กลวิธี ได้แก่ การใช้น้ำเสียง การใช้ท่าทาง และการใช้อุปกรณ์ ทั้งนี้กลวิธีที่พบยังแสดงให้เห็นบทบาทสำคัญของประเพณีเทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาราชที่มีต่อสังคมไทยภาคกลาง ได้แก่ บทบาทด้านการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ในสังคม บทบาทด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น บทบาทด้านการสร้างความสามัคคีในท้องถิ่นสังคมไทยภาคกลาง บทบาทด้านการสั่งสอน คุณธรรมให้แก่คนในสังคม และบทบาทด้านการสร้างความบันเทิง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2563). กาพย์พระมหาชาติ. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

ดีเลิศประเสริฐศรี. (2556). เทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาราช [วีดิทัศน์]. Youtube. https://youtu.be/fhsuRNwk6QE

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และคณะ. (2543). นิเทศศาสตร์กับเรื่องเล่าและการเล่าเรื่อง: วิเคราะห์การศึกษาจินตคดี-จินตทัศน์ในสื่อร่วมสมัย. ภาพพิมพ์.

ทศพล ศรีพุ่ม. (2562). บทแหล่เทศน์มหาชาติในสังคมไทยร่วมสมัย: บทบาทและความสำคัญในฐานะวรรณคดีประกอบพิธีกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

พระครูโฆสิตธรรมากร. (2560). 11 กัณฑ์ มหาราช วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร 29-2-ตค.-59 [วีดิทัศน์]. Youtube. https://youtu.be/UgwhmImotFU

พระครูพิพิธธรรมภาณ และ พระมหาปิยณัฐ กิตฺติโสภโณ. (2565). พระผู้เทศน์ในงาน เทศน์มหาชาติ “พระเวสสันดร” 13 กัณฑ์ หนึ่งพันพระคาถา [วีดิทัศน์ภาคสนาม]. วัดทุ่งครุ.

พระครูพิมลธรรมภาณ (มานพ ปาละพันธ์). (2556). เทศน์มหาชาติกัณฑ์มหาราช ณ มสธ [วีดิทัศน์]. Youtube. https://youtu.be/mLv14z5k_no

พระครูโอภาสจริยานุวัตร (สมคิด อาภากโร). ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดทุ่งครุ แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร - ประธานจัดงานเทศน์มหาชาติ “พระเวสสันดร” 13 กัณฑ์ หนึ่งพันพระคาถา. (25 กันยายน 2565). สัมภาษณ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. http://dictionary.orst.go.th

วัดนาคปรก. (2565). เทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 11 : มหาราช แสดงพระธรรมเทศนาโดย : พระมหาวุฒิวร วุฑฺฒินาโค วัดนาคปรก [วีดิทัศน์]. Facebook. https://web.facebook.com/watnakprok/videos/624775085726942

วันชัย โมรัญยา. (2564). เทศน์มหาชาติกัณฑ์ที่ 11 มหาราช – พระมหาสมสุทธิปภาโส วัดหลักสี่ กทม [วีดิทัศน์]. https://youtu.be/ti0EfnN0H40

วิชนี รัตนพันธ์, บรรณาธิการ. (2560). เอกสารประกอบงาน "100 ปี จุฬาฯ เทศน์มหาชาติ ถวายพระราชกุศล" แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช วันที่ 20-22 พฤษภาคม 2560 ณ หอประชุมจุฬาฯ. เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2547). เพลงบอกบุญจังหวัดตราด: กลวิธีโน้มน้าวใจและบทบาทต่อสังคม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Rothenbuhler, E. W. (1998). Ritual communication. Sage Publications.

Bascom, W. R. (1954). Four functions of folklore. The Journal of American Folklore, 67(266), 333-349.