บทละครเรื่องดาหลังฉบับสมุดไทยเลขที่ 375 : ลักษณะเด่นในฐานะบทละครพันทาง

Main Article Content

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี

บทคัดย่อ

บทละครเรื่องดาหลังฉบับสมุดไทยเลขที่ 375 เขียนในสมุดไทยดำ 1 เล่ม เก็บรักษาอยู่ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ ไม่ปรากฏประวัติการแต่งและสำนวนต่างกับบทละครเรื่องดาหลังพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 บทความนี้มุ่งศึกษาลักษณะเด่นของบทละครเรื่องดาหลังฉบับดังกล่าวในฐานะบทละครรำ ผลการศึกษาพบว่าลักษณะเด่นของบทละครเรื่องดาหลังฉบับสมุดไทยเลขที่ 375 ได้แก่ การมีบทที่เอื้อแก่การแสดงกระบวนรำที่งดงามโดดเด่นแทรกอยู่หลายช่วงสอดคล้องกับขนบของเรื่องดาหลังที่เป็นเรื่องละครในมาแต่เดิม ขณะเดียวกันก็มีลักษณะพิเศษที่ต่างกับบทละครเรื่องดาหลังในขนบเดิมผสานอยู่ด้วย ได้แก่ การแทรกเนื้อหาที่สนุกขบขัน การดำเนินเรื่องอย่างกระชับ การแทรกเจรจาไว้มาก และการบรรจุเพลงไทยตามขนบผสมกับเพลงออกภาษาซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพลงสำเนียงแขกตามเชื้อชาติชวาของตัวละคร ลักษณะเด่นดังกล่าวสะท้อนกระบวนแสดงแบบพิเศษที่สอดคล้องกับลักษณะของละครพันทาง จึงทำให้สันนิษฐานว่าบทละครเรื่องดาหลังฉบับนี้คงเป็นบทสำหรับเล่นละครพันทางและน่าจะปรุงขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 - รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคที่ละครดังกล่าวถือกำเนิดขึ้นและได้รับความนิยม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว.. (2532). ขุนช้างขุนแผนฉบับอ่านใหม่. สำนักพิมพ์สยามรัฐ.

ดาหลัง (พลัด). (ม.ป.ป.). สมุดไทยดำ. เลขที่ 375 ตู้ 114 ชั้น 2/1 มัดที่ 30/5. หมู่กลอนบทละคร. สำนักหอสมุดแห่งชาติ.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2508). ตำนานละครอิเหนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). คลังวิทยา.

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2562ก). บทละครเรื่องดาหลังฉบับสมุดไทยเลขที่ 516/1: เรื่องดาหลังสำนวนแปลก. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 36(2), 67-109.

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2562ข). บทละครเรื่องดาหลังฉบับหมื่นจำเนียร: เรื่องดาหลังสำนวนเก่าที่เพิ่งพบ. วารสารอักษรศาสตร์, 48(2), 146-173.

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2563). บทละครเรื่องดาหลังฉบับเลขที่ 35: เรื่องดาหลังสำนวนอยุธยาที่ขาดหาย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 8(1), 46-71.

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2564ก). ดาหลังฉบับ “ทรงแปลงแต่งใหม่”: การดัดแปลงเรื่องดาหลังและวรรณศิลป์ในฐานะนิทานคำกลอน. วารสารอักษรศาสตร์, 50(1), 41-65.

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2564ข). ดาหลังพิจักษ์: รวมบทความว่าด้วยเรื่องดาหลังพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2527). ปากไก่และใบเรือ รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์. อมรินทร์การพิมพ์.

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ. (2499). ดาหลัง. โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2499)

มนตรี ตราโมท และ วิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. โรงพิมพ์ไทยเขษม.

สำเนาพระราชหัตถ์เลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชทาน กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับ โคลงกลอนพระโอวาทและพระพร ซึ่งพระชนกทรงอำนวยแก่พระนางเธอลักษมีลาวัณ. (2474). โสภณพิพรรฒธนากร.

เสาวณิต วิงวอน. (2547). วรรณคดีการแสดง: ความแตกต่างกับวรรณคดีสำหรับอ่าน. ใน อิราวดี ไตลังคะ (บรรณาธิการ), วิวิธมาลี (น. 26-34). ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสาวณิต วิงวอน. (2555). วรรณคดีการแสดง (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาควิชาวรรณคดี และคณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.