ภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยที่ปรากฏในวรรณคดี เรื่องขุนช้างขุนแผน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งเป็นการกระตุ้นเตือนให้ตระหนักถึงภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทย เพื่อจะนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับวิถีชีวิตปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติและเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ การศึกษาพบว่า วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนได้บันทึกภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยตามความรู้ ความคิดของผู้คนในสมัยนั้น และภูมิปัญญาที่บันทึกไว้นั้นได้กล่าวถึงขั้นตอนการรักษาพยาบาล ความเจ็บป่วยทั้งในด้านการวิเคราะห์หาสมุฏฐานของโรค การบำบัดรักษาความเจ็บป่วย การฟื้นฟูสุขภาพและการป้องกันความเจ็บป่วย นอกจากนี้ยังได้บันทึกเกี่ยวกับการผดุงครรภ์ไว้ด้วย ทั้งในเรื่องการตั้งครรภ์ การแพ้ท้อง การคลอดบุตร การฟื้นฟูสุขภาพของมารดาหลังคลอดและการบริบาลทารกแรกคลอด
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2506). ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ (เล่ม 1-2). นิยมวิทยา.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. สกสค.ลาดพร้าว.
กัลยา เนตรายน. (2551). ภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยที่ปรากฏในวรรณคดีรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คนองยุทธ กาญจนกูล และ ศุภลักษณ์ ฟักคำ. (2550). การอนุรักษ์ การส่งเสริม และการประยุกต์เวชกรรมแผนไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเวชกรรมแผนไทย หน่วยที่ 13-15. อรุณการพิมพ์.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. (2552). วิเคราะห์ความเชื่อจากคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เฉลิมพล เกิดมณี, ศุภลักษณ์ ฟักคำ, และ รังสิมา หุตินันท์. (2551). สถานการณ์ แนวทางการอนุรักษ์และการพัฒนาการแพทย์แผนไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา แนวคิดและทฤษฎีการแพทย์แผนไทย หน่วยที่ 8-15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชุรินทร ก้อนแก้ว. (2547). ภูมิปัญญาที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องสังข์ทอง ตอน “กำเนิดพระสังข์” [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2542). แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์. ใน สารานุกรมแนะนำหนังสือดี 100 เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2506). ว่าด้วยเรื่องขุนช้างขุนแผน. ใน กรมศิลปากร (บรรณาธิการ), ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ (น. 3-12). นิยมวิทยา.
ถนอมศรี อินทนนท์ และ ดารณี อ่อนชมจันทร์. (2550). ภูมิปัญญาหมอบีบหรือหมอนวดภาคใต้. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาการแพทย์ หน่วยที่ 11-15. น่ำกังการพิมพ์.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2546). ภูมิปัญญาไทย. ไทยวัฒนาพานิช.
ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (2549). วรรณคดีกับสังคมไทย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิจนิรันดร์ แจ่มสมบูรณ์. (2546). วิเคราะห์ภาพสะท้อนทางสังคมในวรรณกรรมนิราศของสุนทรภู่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประทีป ชุมพล. (2551). พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์. ใน แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. สกสค.ลาดพร้าว.
พัชรี สายสิทธิ์. (2542). ภูมิปัญญาชาวบ้านจากวรรณคดีไทย. ใน พินิจวรรณกรรม. คุรุสภาลาดพร้าว.
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2544). การแพทย์แผนไทย การแพทย์แบบองค์รวม. เคล็ดไทย.
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2546). การอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย. เอกสารประกอบ การบรรยายในการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546. (เอกสารอัดสำเนา)
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และ กฤตธัช โชติชนะเดชา. (2550). การส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาการแพทย์ หน่วยที่ 11-15. น่ำกังการพิมพ์.
มุกดา ตันชัย และ อภิชาต ลิมติยะโยธิน. (2552). วิทยาศาสตร์ในการนวดและการประคบ ใน เอกสารการสอนชุดวิชา วิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย หน่วยที่ 8-15. อรุณการพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิรูปการศึกษาไทย. มติชน.
วิชิต เปานิล. (2555). ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา วัฒนธรรมพื้นบ้านของไทย หน่วยที่ 8-15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช และ นิยม แก้วแสงเรือง. (2551). คัมภีร์ชวดาร และคัมภีร์บัญชุสารวิเชียร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา แนวคิดและทฤษฎีการแพทย์แผนไทย หน่วยที่ 8-15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริพงษ์ แพทยานนท์. (2551). คัมภีร์ธาตุบรรจบและคัมภีร์สรรพคุณ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา แนวคิดและทฤษฎีการแพทย์แผนไทย หน่วยที่ 8-15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย. (2537). สุนทรภู่รอบรู้วัฒนธรรม. บพิธการพิมพ์.
เสาวภา พรสิริพงษ์. (2550). การสืบทอดภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาการแพทย์ หน่วยที่ 6-10. น่ำกังการพิมพ์.
เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2552). วรรณกรรมเอกของไทย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อัญชลี จูฑะพุทธิ. (2552). สรรพคุณของยาและตัวยา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา วิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย หน่วยที่ 8-15. อรุณการพิมพ์.