การอ่านวรรณคดีนิราศกวางตุ้ง : ความคลาดเคลื่อนของช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สัมพันธภาพไทย-จีนสมัยกรุงธนบุรี

Main Article Content

ยวู่เหริน เลี่ยว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อจะศึกษานิราศกวางตุ้งหรือนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนซึ่งเป็นวรรณคดีสมัยกรุงธนบุรีที่ได้บันทึกเรื่องพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งราชทูตไปเจริญพระราชไมตรีต่อพระเจ้ากรุงจีน ณ กรุงปักกิ่งไว้อย่างละเอียด โดยมุ่งศึกษาถึงวันออกเดินทาง วันมาถึงกวางตุ้ง และวันที่คณะทูตได้เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงจีนที่กรุงปักกิ่ง โดยจะใช้การศึกษาเปรียบเทียบนิราศกวางตุ้งกับเอกสารประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้บันทึกเหตุการณ์ถวายพระราชบรรณาการของประเทศสยามในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง และศึกษาความแตกต่างของปฏิทินโบราณที่ใช้ทั้งปฏิทินของไทยและจีน ตลอดจนวิธีการแปลงให้เป็นวันเวลาตามปฏิทินสากลที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าวันที่คณะทูตไทยออกเดินทางจากกรุงธนบุรี คือ วันที่ 19  มิถุนายน ค.ศ. 1781 (1781-6-19) วันที่คณะทูตเดินทางมาถึงเมืองกวางโจว คือ วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1781 (1781-7-23) วันที่คณะทูตชุดที่ไปปักกิ่งออกเดินทางไปปักกิ่ง คือ วันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1781 (1781-10-19) วันที่คณะทูตเข้าเฝ้าจักรพรรดิเฉียนหลงนั้น จะอยู่หลังวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1782 (1782-2-12) และก่อนวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1782 (1782-3-13) ซึ่งอาจจะเป็นวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1782 (1782-3-9)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน. (2324). https://vajirayana.org/นิราศพระยามหานุภาพ

ปรามินทร์ เครือทอง. (2551). “แฉ” แผนใช้พงศาวดารยึดกรุงธนบุรี “ซ้ำ”. ศิลปวัฒนธรรม, 29(6), 79-89.

มายโหรา ดูดวงออนไลน์. (2567). ปฏิทิน 2324/ ค.ศ. 1781. https://www.myhora.com/ปฏิทิน/ปฏิทิน-พ.ศ.2324.aspx

มายโหรา ดูดวงออนไลน์. (2567). หมายเหตุ ปฏิทินจันทรคติไทย พ.ศ. 2567/2024. https://www.myhora.com//ปฏิทิน/ปฏิทิน-พ.ศ.2567.aspx

ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ. (23 กรกฎาคม 2562). สำบายดี ปี เมิงเฮ้า. https://e-shann.com/สำบายดี-ปี-เมิงเฮ้า/

พระคุ้มครอง. (2564), ชื่อวัน ชื่อเดือนจันทรคติ ชื่อปีนักษัตร ภาษาบาลี. https://prakumkrong.com/29183/

วุฒิชัย มูลศิลป์. (2559). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับจักรพรรดิเฉียนหลงในความสัมพันธ์ไทย-จีน. วารสารราชบัณฑิตยสภา, 41(2), 135-168.

สารสิน วีระผล. (2548). จิ้มก้องและกำไร: การค้าไทย-จีน 2195-2396. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2553). จุลศักราช. http://http/legacy.orst.go.th/?knowledges=จุลศักราช-๑๗-มีนาคม-๒๕๕๓/

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (28 สิงหาคม 2565). วัฒนธรรมจีนหลายพันปี ในภาษาและวรรณกรรมไทยเริ่มแรก. มติชนสุดสัปดาห์, ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม - 1 กันยายน 2565. https://www.matichonweekly.com/column/article_594250

เสมียนนารี. (21 ธันวาคม 2566). ชื่อ “วัน-เดือน” ของไทยมาจากไหน การใช้วันที่ 1,2,3… เริ่มเมื่อใด?. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/history/article_31106

หอพระสมุดวชิรญาณ. (2462). อธิบายนิราศพระยามหานุภาพ. https://vajirayana.org/node/180

อุทัย ไชยานนท์. (2545). วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี. น้ำฝน.

เอกชัย โควาวิสารัช. (11 พฤศจิกายน 2566). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน จริงหรือไม่. ศิลปวัฒนธรรม, ฉบับพฤษภาคม 2560. https://www.silpa-mag.com/history/article_42065

PLUTO. (22 กุมภาพันธ์ 2561). ชื่อเดือนของ ‘ภาษาบาลีและสันสกฤต’ มีดังต่อไปนี้. http://aboutliving.asia/ชื่อเดือนของ-ภาษาบาลีแล/

Chen Hui, & Xiong Tao 陈晖, 熊韬. (2012). 泰国概论. 世界图书出版广东有限公司.

Duan Lisheng 段立生. (2014). 泰国通史. 上海社会科学院出版社.

Guangzhou Foreign Language College 广州外国语学院. (1990). 泰汉词典. 商务印书馆.

Huang Chongyan, & Yu Dingbang 黄重言, 余定邦. (2016). 中国古籍中有关泰国资料汇编. 北京大学出版社.

Liang Tingnan (清) 梁廷枏. (1993). 粤道貢國説. In Luo Baoshan, & Liu Lusheng駱寳善, 劉路生 (Eds.), 海國四説 (pp. 164-201). 中華書局.

Xu Yu许钰. (1958). 郑昭入貢淸廷考. In Yao Nan, & Xu Yu 姚枏, 许钰 (Eds.), 古代南洋史地丛考. (pp. 47-80). 商务印書館.

Yu Dingbang, & Chen Shusen 余定邦, 陈树森. (2009). 中泰关系史. 中华书局.

Zhang Gongjin 张公瑾. (1988). 傣族文化研究. 云南民族出版社.

公历和农历日期对照 (公元前722年—公元2200年). (2024). https://ytliu0.github.io/ChineseCalendar/index_simp.html