ถ้อยคำจำเป็นสำหรับนักศึกษาจีนในการใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย

Main Article Content

สุนีย์ ลีลาพรพินิจ
เกียรติชัย เดชพิทักษ์ศิริกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดรายการถ้อยคำจำเป็นที่ใช้สื่อสารในสถานการณ์การใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษาจีนที่มีประสบการณ์การใช้บริการทางการแพทย์จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ถ้อยคำจำเป็นสำหรับนักศึกษาจีนในการใช้บริการทางการแพทย์ มีจำนวน 111 ชุดคำ โดยจำแนกตามขั้นตอนการให้บริการของสถานพยาบาล ได้แก่ ถ้อยคำในขั้นตอนการลงทะเบียน 32 ชุดคำ ขั้นตอนการคัดกรองสัญญาณชีพ 23 ชุดคำ ขั้นตอนการพบแพทย์ 20 ชุดคำ ขั้นตอนการชำระเงิน 19  ชุดคำ และขั้นตอนการรับยา 17 ชุดคำ ส่วนระดับความจำเป็นในการใช้ถ้อยคำดังกล่าวในการสื่อสารพบว่า ถ้อยคำที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาจีนในขั้นตอนการรับยามีค่าเฉลี่ยระดับความจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือ ขั้นตอนการพบแพทย์ ขั้นตอนการคัดกรองสัญญาณชีพ ขั้นตอนการลงทะเบียน และขั้นตอนการชำระเงิน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดารารัตน์ ชูวงค์อินทร์, ฤชุตา โมเหล็ก, กมลชนก บุญประจักษ์, มาริษา สมบัติบูรณ์, และ เบญจมาศ ปรีชาคุณ. (2563). การสื่อสารทางการพยาบาลในยุคการแพทย์เปลี่ยนวิถี. The Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2(2), 25-38.

ธารทอง แจ่มไพบูลย์. (2559). พัฒนาการของคำศัพท์ที่มีความถี่ในการปรากฏสูงในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย: การศึกษาตามแนวทางภาษาศาสตร์คลังข้อมูล [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.

ธารีรัตน์ หิรัญนุเคราะห์. (2566). การวิเคราะห์รายการคำศัพท์ภาษาอังกฤษธุรกิจที่พบในภาษาพูด. มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น.

ธีร์จุฑา เมฆทอง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยที่มาใช้บริการในโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลธนบุรี 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive.

บุญเลิศ วงศ์พรม และ ถาวร ทิศทองคำ. (2561). การแปลในยุคใหม่กับการปรับตัวของผู้เรียน ผู้สอน และนักแปล. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม คร้ังที่ 13 (หน้า 1-10). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พิไลพร สุขเจริญ. (2561). การพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารของนักศึกษาพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 43(3), 237-242.

วิโรจน์ ไววานิชกิจ. (2560). คำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานด้านสุขภาพและการแพทย์ (中华医学词汇) (E-Book). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกาวเดือน ซาธรรม. (2560). การศึกษาปริจเฉทการสนทนาระหว่างจิตแพทย์และผู้ป่วยนอกในการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.

สหประชาชาติประเทศไทย. (2566). Sustainable Development Goal 3: สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี. https://thailand.un.org/th/sdgs/3

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). รายงานจำนวนนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566. https://info.mhesi.go.th/stat_std_all.php?search_year=2566&download=7271&file_id=202312270900.xlsx

อังคณา ทองพูน พัฒนศร. (2560). การพัฒนารายการคำศัพท์วิชาการทางภาษาอังกฤษธุรกิจ โดยใช้ วิธีการด้านภาษาศาสตร์คลังข้อมูล. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(2), 1-31.

Chen, H., & Lei, G. (2019). Developing a technical words-list for research articles in computer science discipline. English Language Teaching, 12(10), 131-141.

Coxhead, A. (2000). A new academic word list. TESOL Quarterly, 34(2), 213-238.

de Moissac, D., & Bowen, S. (2019). Impact of language barriers on quality of care and patient safety for official language minority Francophones in Canada. Journal of Patient Experience, 6(1), 24-32.

Kruawong, T., & Poochareonsil, S. (2020). Developing an English zoology academic word list : A corpus-based study. Thoughts, 2020(2), 63-78. https://doi.org/10.58837/CHULA.THTS.2020.2.3

Lee, J., & Kim, H. B. (2015). Success factors of health tourism: Cases of Asian tourism cities. International Journal of Tourism Cities, 1(3), 216-233.

Leung, E. (2019). Language and culture as barriers to healthcare for Chinese immigrants [Undergraduate honors thesis]. Portland State University. https://doi.org/10.15760/honors.981

Meuter, R. F., Gallois, C., Segalowitz, N. S., Ryder, A. G., & Hocking, J. (2015). Overcoming language barriers in healthcare: A protocol for investigating safe and effective communication when patients or clinicians use a second language. BMC Health Services Research, 15(1), 371-376.

Nation, I. S. P. (1990). Teaching and learning vocabulary. Newbury House.

Nation, I. S. P. (2001). Learning vocabulary in another language. Cambridge University Press.

Rasi, S. (2020). Impact of language barriers on access to healthcare services by immigrant patients: A systematic review. Asia Pacific Journal of Health Management, 15(1), 35-48.

Schmitt, N. (2000). Vocabulary in language teaching. Cambridge University Press.

Schyve, P. M. (2007). Language differences as a barrier to quality and safety in health care: The joint commission perspective. Journal of General Internal Medicine, 22(2), 360-361.

Sulaiman, A. (2017). The impact of language & cultural barriers on patient safety & health equity. Recent News of Washington Patient Safety Coalition. https://www.qualityhealth.org/wpsc/2017/10/13/impact-of-language-cultural-barriers-on-patient-safety-health-equity/