วาทกรรมและบทบาทของนิทานในมิติชาติพันธ์ุสัมพันธ์ุ

Main Article Content

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิทานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครต่างกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งประเภทตำนานและมุกตลกชาติพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่านิทานที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนต่างกลุ่มชาติพันธุ์มีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นพื้นที่ของการแสดงออกของการสร้างความชอบธรรมทางชาติพันธุ์ การยืนยันสถานภาพที่เท่าเทียมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ย่อย และยังแสดงให้เห็นการใช้อำนาจของชาติพันธุ์หลักในการสร้างความเป็นอื่นให้แก่ชาติพันธุ์ย่อย นิทานที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์อันหลากหลายสะท้อนให้เห็นการสร้าง “ภาพแบบฉบับ” ทางชาติพันธุ์ ความขัดแย้งรวมถึงอคติทางชาติพันธุ์ ตำนานและนิทานเหล่านี้จึงแฝงนัยของ “เสียงบางอย่าง” จากกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องการอธิบาย เรียกร้อง หรือระบายความคับข้องใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ของคนต่างกลุ่มชาติพันธุ์

Article Details

How to Cite
ดิษฐป้าน ว. (2016). วาทกรรมและบทบาทของนิทานในมิติชาติพันธ์ุสัมพันธ์ุ. วรรณวิทัศน์, 15, 273–318. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2015.13
บท
บทความประจำฉบับ

References

กฤษฎาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และจันทิมา เอียมานนท์, บรรณาธิการ. (2549). มองสังคมผ่านวาทกรรม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (2548). การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องตลกภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2542). “ตํานานในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว: ความสัมพันธ์ระหว่างตํานานกับปริบททางสังคม.” คติชนกับคนไทย-ไท: รวมบทความทางด้านคติชนวิทยาในบริบททางสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการตําราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. (2547). “ทบทวนแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์ข้ามยุคสมัยกับการศึกษาในสังคมไทย” ในว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ชํานาญ รอดเหตุภัย. (2517). วรรณกรรมไทยลื้อตําบลหย่วน อําเภอเชียงคํา จังหวัดเชียงราย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิทยาลัยวิชาการศึกษา.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2542). วาทกรรมการพัฒนา: อํานาจความรู้ความจริงเอกลักษณ์และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

บัวริน วังคีรี. (2550). “นิทานมุขตลกกับกระบวนการสร้าง “ตัวตน” ลาวหลวงพระบาง” ไทยศึกษา 2, 2 (สิงหาคม 2549 – มกราคม 2550): 17–54.

บัวริน วังคีรี. (2551). วรรณกรรมพื้นบ้านในชุมชนลาวหลวงพระบางกับบทบาทการสืบสานความเป็นลาวหลวงพระบางในบริบทสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2548). ตํานานพระธาตุของชนชาติไท: ความสําคัญและปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิม. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2554). “พระพุทธเจ้าในตํานานพื้นบ้านไทย-ไท.” ไขคําแก้วคําแพงพินิจวรรณกรรมไทย–ไท. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรานี วงษ์เทศ. (2542). “สํานึกเกี่ยวกับเผ่าพันธุ์ของชาวอุษาคเนย์.” สังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินทรงเปิดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันอังคารที่ 9 มีนาคม 2542.

พิเชฐ สายพันธ์. (2557). “ชาติพันธุ์สภาวะ: จากเสรีนิยมสู่เสรีนิยมใหม่” ใน นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, บรรณาธิการ. ชาติพันธุ์กับเสรีนิยมใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

รัตนาภรณ์ อัตธรรมรัตน์. (2532). วิเคราะห์นิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้ง. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

วริษา กมลนาวิน. (2549). “โครงสร้างของมุกตลกในเรื่องขําขันของลาว” ภาษาและภาษาศาสตร์ 25, 1 (กรกฎาคม–ธันวาคม): 27–48.

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2544). “อนุภาคนํ้าเต้าในตํานานนํ้าท่วมโลกและกําเนิดมนุษย์”. ภาษาและวรรณคดีไทย 18 (ธันวาคม): 62–77.

วีรวัชร์ ปิ่นเขียน. (2524). วรรณกรรมกะเหรี่ยงจากตําบลสวนผึ้ง กิ่งอําเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. ภาควิชาภาษาไทย คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงราชบุรี.

วุฒิ บุญเลิศ. (2549).“กระเหรี่ยงคือใคร (ตอนที่ 2).” ชนเผ่าพื้นเมือง. 12, 23 (ม.ค. – มิ.ย. 49): 37–46.

ศิราพร ณ ถลาง. (2549). “ตํานานตัวอักษร: กลไกทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ที่ไม่มีตัวอักษร.” อักษรศาสตร์ 35, 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม): 194–212.

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตํานาน-นิทาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์คติชนวิทยาและภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิราพร ณ ถลาง และ สุกัญญา ภัทราชัย, บรรณาธิการ. (2542). คติชนกับคนไทย-ไท: รวมบทความทางด้านคติชนวิทยาในบริบททางสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการตําราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีเลา เกษพรหม. (2542). “คนเมืองกับยาง” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือเล่ม 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิธนาคารไทยพาณิชย์.

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. (2550). “นิทานชนเผ่าลัวะวัวผู้สร้างโลก.” ชนเผ่าพื้นเมือง 13, 24 (มกราคม–มิถุนายน): 60–61.

สมบูรณ์ บํารุงเมือง. (2529). วิเคราะห์นิทานตลกจากจังหวัดกําแพงเพชรพิษณุโลกและสุโขทัย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). ชาติพันธุ์สัมพันธ์: แนวคิดพื้นฐานทางมานุษยวิทยาในการศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ประชาชาติและการจัดองค์กรความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

สุธาทิพย์ สว่างผล. (2531). วิเคราะห์นิทานพื้นบ้านของชาวไทยยวนบ้านคลองนํ้าไหลจังหวัดกําแพงเพชร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาและวรรณกรรมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาพร วิสารทวงศ์. (2529). วรรณกรรมไทยเย้าจากตําบลผาช้างน้อย อําเภอปง จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2542). “ฟุเฮย–เซ้ยหมุ่ย: ตํานานกําเนิดมนุษย์ของชาวเย้า” คติชนกับคนไทย-ไท: รวมบทความทางด้านคติชนวิทยาในบริบททางสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการตําราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หทัยวรรณ ไชยะกุล. (2539). การสร้างมุขตลกในเรื่องขําขันของล้านนา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาภาษาและวรรณกรรมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). “เจี้ยก้อม” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือเล่ม 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธิธนาคารไทยพาณิชย์.

Baker, Ronald l. (1986). Jokelore: humorous folktales from Indiana. USA: Indiana University Press.