วัจนปฏิบัติศาสตร์กับการตีความวัจนกรรมโดยอนุมานจากมุมมองของผู้ฟัง

Main Article Content

สุธาสินี สิทธิเกษร

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องวัจนกรรมเป็นการศึกษาวิเคราะห์เจตนาของประโยคคำพูดที่เกิดขึ้นในการสนทนาและถือว่าเป็นความหมายที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้ภาษา อย่างไรก็ดี วัจนกรรมเป็นความหมายที่ต้องอาศัยการตีความ จึงต้องมีการสร้างเกณฑ์ที่แม่นยำเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์วัจนกรรมมีพัฒนาการเรื่อยมาจนปัจจุบัน เกณฑ์ต่างๆ มุ่งไปที่ตัวผู้พูดซึ่งเป็นผู้แสดงเจตนา แต่ในความเป็นจริงการกล่าวประโยค ๑ ครั้ง มิได้มีเพียงวัจนกรรมเดียวเสมอไป หากมีผู้ร่วมสนทนาจำนวนมากเป็นผู้ฟัง เจตนาที่แฝงมากับประโยคนั้นก็จะมากตามไปด้วย การสร้างเกณฑ์ในยุคหลังนี้ จำนวนของผู้ฟังจึงได้เข้ามาเป็นเกณฑ์สำคัญที่ช่วยผู้วิเคราะห์ในการตีความวัจนกรรมอีกประการหนึ่งด้วย

Article Details

How to Cite
สิทธิเกษร ส. (2016). วัจนปฏิบัติศาสตร์กับการตีความวัจนกรรมโดยอนุมานจากมุมมองของผู้ฟัง. วรรณวิทัศน์, 1, 30–39. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2001.2
บท
บทความประจำฉบับ

References

นววรรณ พันธุเมธ. ไวยากรณ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์, ๒๕๒๗.

ราตรี ธันวารชร. ลักษณะคำไวยากรณ์ในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๖.

สุดาพร ลักษณียนาวิน. การพัฒนาทักษะทางภาษา. บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๗.

สุพัตรา พันธ์โสตถี. คำกริยาแสดงการกล่าวถ้อยในภาษาไทย. รายงานประกอบการเรียนวิชาอรรถศาสตร์ ภาคปลายปีการศึกษา ๒๕๓๓ ภาควิชาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์).

John Langshaw Austin. How to Do Things with Words. Oxford: Clarendon, 1962.

John R. Searle. Speech Acts. Cambridge; Cambridge University Press, 1969.

Daniel Vanderveken. Meaning and Speech Acts. Cambridge: Cambridge University Press, 1990.

Jerrold M. Sadock. Toward a Linguistic Theory of Speech Acts. USA: Academic Press, 1974.

Herbert H. Clark and Thomus B. Calson, "Hearers and Speech Acts," Language, 58 (Vol. Number 2, 1982).

สุธาสินี สิทธิเกษร. บทบาทของประโยคคำถามในมาตุภาษาไทย: การศึกษาเชิงพัฒนาการต่อเนื่อง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐.