ภาษาพาหะสัมพันธ์ในจดหมายส่วนตัว

Main Article Content

สุธาสินี สิทธิเกษร

บทคัดย่อ

การศึกษาภาษาพาหะสัมพันธ์ในจดหมายส่วนตัวเป็นการศึกษาตามแนวทางของวัจนลีลาศาสตร์ (stylistics) ซึ่งมีแนวทางในการศึกษาโดยยึดถือระบบสัญนิยม คือ มองว่าภาษามีแบบแผนจาการกำหนดของสังคม แบบแผนของภาษาที่ปรากฏนั้นจะแปรไปตามปัจจัยอันหลายหลาก เช่น ความสัมพันธ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร วัจนลีลาก็คือ "รูปแบบภาษา" ที่แปรไปตามบริบทการใช้ภาษานั่นเอง การวิเคราะห์ตามแนวทางนี้จะพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้ภาษาดังกล่าวมีลีลาเฉพาะ ซึ่งในที่นี้ได้ศึกษารูปแบบภาษาพาหะสัมพันธ์ในจดหมายส่วนตัว องค์ประกอบที่เกี่ยวกับภาษาพาหะสัมพันธ์ในจดหมายส่วนตัวซึ่งได้จากการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ หัวเรื่องที่ใช้ในการสนทนาทักทายและอำลาซึ่งมีทั้งสวนที่เป็นเนื้อหาสาระและการแสดงออกทางอารมณ์ ความสมบูรณ์และการลำดับส่วนประกอบพื้นฐานในการกล่าวทักทายและการอำลา (greeting and parting) และความยาวของส่วนที่เป็นภาษาพาหะสัมพันธ์ องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้มีลักษณะแปรไปตามความสัมพันธ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารจริง

Article Details

How to Cite
สิทธิเกษร ส. (2016). ภาษาพาหะสัมพันธ์ในจดหมายส่วนตัว. วรรณวิทัศน์, 2, 111–125. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2002.10
บท
บทความประจำฉบับ

References

กัลยา ติงศภัทิย์ และอมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์. "การใช้คำเรียกขานในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์," รายงานผลการวิจัย โครงการไทยศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๑.

สุดาพร ลักษณียนาวิน. "หน่วยที่ ๒ การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารฒ," การพัฒนาทักษะทางภาษา. บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, ๒๕๓๗.

Laver, John. "Linguistic Routines and Politeness in Greeting and Parting," Conversational Routine. Britain: Mouton, 1981.

Laver, John and Hutcheson S. (Ed.). Communication in Face to Face Interaction. Britain: Penquin, 1972.