การใช้คำลักษณะนามในภาษาไทยมาตรฐานปัจจุบันของผู้พูดต่างวัย

Main Article Content

ศรวนีย์ สรรคบุรานุรักษ์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้ศึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของการใช้ลักษณะนามเปรียบเทียบระหว่างบุคคล ๒ กลุ่มอายุ มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ ผู้พูดรุ่นอายุน้อยใช้ลักษณะนามร่วมกับคำนามตรงตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถานมากกว่าผู้พูดรุ่นอายุมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความคุ้นเคยของผู้พูดที่มีอายุน้อย ในการใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และความคิดสร้างสรรค์ของผู้พูดอายุมาก ในการใช้ภาษา จึงพยายามสร้างระบบการใช้คำลักษณนามเทียบจากคำที่ตนรู้จัก นอกจากนี้ยังมีข้อน่าสังเกตว่า ผู้พูดทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มจะใช้คำลักษณะนามเทียบจากคำนาที่ตนรู้จัก นอกจากนี้ยังมีข้อน่าสังเกตว่า ผู้พูดทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มจะใช้คำลักษณนามกลางมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลให้คำลักษณะนามในภาษาไทยปัจจุบันซับซ้อนน้อยลง


 

Article Details

How to Cite
สรรคบุรานุรักษ์ ศ. (2016). การใช้คำลักษณะนามในภาษาไทยมาตรฐานปัจจุบันของผู้พูดต่างวัย. วรรณวิทัศน์, 3, 215–238. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2003.13
บท
บทความประจำฉบับ

References

กำชัย ทองหล่อ. ๒๕๒๕. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น.

ชวนพิศ อิฐรัตน์. ๒๕๒๓. "คำลักษณะนามครอบจักรวาล." เปิดกรุ: ๓๔-๕๕.

นววรรณ พันธุเมธา. ๒๕๒๗. ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

บรรจบ พันธุเมธา. ๒๕๒๓. ลักษณะภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๓๘. ลักษณะนาม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. ๒๕๓๒. โครงสร้างของภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. ๒๕๑๙. "คำสันนิษฐานว่าด้วยความเป็นมาของคำลักษณนามอัน." PASAA ๖: ๒๖๑-๒๖๖.

ศรวนีย์ สรรคบุรานุรักษ์. ๒๕๔๒. "การใช้คำลักษณนามในภาษามาตรฐานปัจจุบันของผู้พูดต่างวัย." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. ๒๕๔๑. ภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. ๒๕๑๔. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Carpenter, K. L. 1987. How children learn to classify nouns in Thai. cited in Sukaritlak. (Unpublished Manuscript)

Deepadung. 1997. "Extension in the usage of the Thai classifier /tua/." in Arthus S. Abramson (ed.), Southeast Asian linguistic studies in hornour of Vichin Panupong. Chulalongkorn University Press.