กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในวัจนกรรมการตักเตือนในภาษาไทย

Main Article Content

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาวัจนกรรมการตักเตือนในภาษาไทยโดยมีคำถามในการวิจัยว่าผู้พูดภาษาไทยปัจจุบันเลือกใช้กลวิธีทางภาษาใดบ้างในการแสดงวัจนกรรมการตักเตือน และการเลือกใช้กลวิธีดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับสถานภาพของผู้พูดหรือไม่ อย่างไร ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้จากคำตอบในแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยสถานการณ์การกระทำผิด ๙ สถานการณ์ ส่วนกลุ่มตัวอย่างเป็นครูและนักเรียนนิสิตนักศึกษาจำนวนกลุ่มละ ๑๐๐ คน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษาจากหลากหลายสถาบันในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยปัจจุบันใช้กลวิธีทางภาษาในการแสดงวัจนกรรมการตักเตือนทั้งหมด ๒๙ กลวิธี แบ่งเป็นกลวิธีทางภาษาแบบตรง ๔ กลวิธี และกลวิธีทางภาษาแบบอ้อม ๒๕ กลวิธี โดยกลวิธีทางภาษาแบบอ้อมสามารถจำแนกตามวัตถุประสงค์ในการสื่อสารได้ ๖ ประการ คือ กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อรักษาหน้าของผู้ฟัง กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อรักษาหน้าของผู้พูด (เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่พอใจจากผู้ฟัง) กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่อถือหรือคล้อยตาม กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรม กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อประชดประชัน และกลวิธีทางภาษาที่ใช้เพือลดความตึงเครียดในการสนทนา และจากผลการวิจัยยังพบว่ากลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการแสดงวัจนกรรมการตักเตือนมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเรื่องสถานภาพของผู้พูด

Article Details

How to Cite
อ่องวุฒิวัฒน์ ส. (2016). กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในวัจนกรรมการตักเตือนในภาษาไทย. วรรณวิทัศน์, 9, 44–91. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2009.3
บท
บทความประจำฉบับ