หลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย: ความเป็นไปในปัจจุบันและอนาคต

Main Article Content

เยาวลักษณ์ อยู่เจริญสุข
วันชนะ ทองคำเภา
สังวาลย์ คงจันทร์
สุธาสินี ปิยสุนทรา
อำนาจ ปักษาสุข

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยได้ศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาไทยของภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เปิดสอนอยู่ในปัจจุบัน คือ หลักสูตร พ.ศ. 2552 และหลักสูตร พ.ศ. 2547 โดยเปรียบเทียบเนื้อหาของหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยทั้งในและต่างสถาบัน รวมทั้งศึกษาทัศนะของอาจารย์ นักศึกษา นายจ้าง และผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่านักศึกษามีความต้องการให้หลักสูตรช่วยส่งเสริมด้านการประกอบอาชีพรวมถึงการบูรณาการความรู้ให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็พอใจที่หลักสูตรเน้นให้มีการฝึกปฏิบัติที่เข้มข้น อย่างไรก็ดีในเรื่องสื่อการสอนยังต้องการให้มีการพัฒนาให้ความหลากหลายและทันสมัยอีกมาก ในขณะที่คณาจารย์ยังคงมีความเห็นว่าต้องการให้ความรู้นำคุณธรรม ปัญญา และจิตใจต้องการให้บัณฑิตมีความสามารถด้านวิชาการและการประกอบอาชีพควบคู่กันไปโดยให้ความรู้ด้านวิชาการเป็นเรื่องหลัก และส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริงและประยุกต์เพื่อการประกอบอาชีพได้ ในด้านของผู้ใช้บัณฑิตนั้นมีความคาดหวังให้บัณฑิตมีความรู้ควบคู่ไหวพริบปฏิภาณ รู้จักเชื่อมโยงความรู้ข้ามสาขาวิชารวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และยังคาดหวังเพิ่มเติมในเรื่องของจิตสำนึกสาธารณะและการทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วย


ในด้านการศึกษาตัวเนื้อหาของหลักสูตรพบว่าหลักสูตรทั้งในอดีตและปัจจุบันยังคงให้ความสำคัญกับรายวิชาด้านเนื้อหาสาระอันประกอบไปด้วยความรู้ด้านภาษาและวรรณกรรม ส่วนวิชาทักษะและการประยุกต์ความรู้กับศาสตร์ต่างๆ และการประกอบอาชีพยังคงเป็นเรื่องรอง ซึ่งมีทั้งความเหมือนและความต่างกับหลักสูตรของสถาบันอื่นๆ โดยพบว่าหลักสูตรภาษาไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มที่สร้างความชัดเจนในเรื่องของการพัฒนาผู้เรียนเข้าสู่ทักษะการประกอบอาชีพและการประยุกต์ใช้ความรู้แบบบูรณามากขึ้น


ในเชิงนโยบายหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แต่กระนั้นก็ยังต้องพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับกระแสนโยบายการศึกษาสากลในแง่การจัดหลักสูตรที่ใช้ผลลัพธ์เป็นฐานต่อไป

Article Details

How to Cite
อยู่เจริญสุข เ., ทองคำเภา ว., คงจันทร์ ส., ปิยสุนทรา ส., & ปักษาสุข อ. (2016). หลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย: ความเป็นไปในปัจจุบันและอนาคต. วรรณวิทัศน์, 14, 1–33. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2014.1
บท
บทความประจำฉบับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๒๕). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาต, องค์การ. The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization" สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔, จาก http://www.unesco.org/new/en

ฉวีวรรณ โยคิณ. (๒๕๕๕). การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education). สืบค้นเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕, จาก http://www.kroobannok.com/board_view.php

ธำรง บัวศรี. (๒๕๔๒). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: ธนรัช.

น้าชาติ. ปฏิญญาจอมเทียน. สืบค้นเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓, จาก www.khaosod.co.th_view_news/p24

พระราชกฤษฎีกาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒. สืบค้นเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓, จาก www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (๒๕๕๔). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๔, จาก http://www.tsu.ac.th/tsuco/UserFiles/File/files_data/5_10%20C.pdf

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กองบริการการศึกษา. (๒๕๕๔). ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในกำกับของรัฐ. สืบค้นเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๔, จาก http://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/news/tuact/index.htm

รัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, องค์การ. (๒๐๑๐). Southeast Asian Ministers of Education Organization (SEAMEO). สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔, จาก http://www.seameo.org/

วารีรัตน์ แก้วอุไร และคณะ. (๒๕๔๗). การพัฒนารูปแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, ๑๒, ๔๓-๕๗.

วินัย วีระวัฒนานนท์. (๒๕๔๓). รายงานการวิจัยเอกสารเรื่องหลักเกณฑ์และรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่พึงประสงค์ในระดับบัณฑิตศึกษา. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย.

สรุป "แถลงการณ์จอมเทียน" พุ่งเป้าสร้างความเสมอภาค หนุนจัดงบการศึกษาในสถานการณ์ขัดแย้ง. ASTV. ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔, จาก www.manager.co.th_Qol_ViewNews

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (๒๕๕๕). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF: HEd). สืบค้นเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/news6.php