พลังภาษา พลังความคิด: สัมฤทธิผลในการเขียน

Main Article Content

วัลลภา วิทยารักษ์

บทคัดย่อ

พลังสำคัญยิ่งที่จะทำให้การเขียนเกิดสัมฤทธิผลมี 2 ประการ คือ ภาษาและความคิด ประการแรก ผู้เขียนจะต้องรู้จักเลือกสรรใช้ภาษาเพื่อสื่อความให้ผู้อ่านรับทราบในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการ นับตั้งแต่การเลือกสรรถ้อยคำนำสารให้ถูกความ สื่อความ และได้รสความ ทั้งยังต้องรู้จักการสื่อความเป็นกลุ่มคำและประโยค นอกจากนี้ยังต้องรู้จักการสร้างภาษางาม คารมคมไว้ใช้ในการเขียน พลังสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้งานเขียนเกิดสัมฤทธิผลคือความคิด หากผู้เขียนรู้จักส่งเสริมกระบวนการคิดให้เป็นไปอย่างราบรื่นก็จะช่วยให้คิดได้ดี ได้ความคิดที่มีประสิทธิภาพ สำหรับแนวทางที่จะช่วยเสริมสร้างความคิดในการเขียนทำได้หลายทาง อาจค้นคว้าหาข้อมูล เพิ่มพูนประสบการณ์ สรรค์สร้างจินตนาการ หมั่นสังเกตพิจารณา ศึกษาตัวอย่าง สร้างความคิดจากกิจกรรม และนำความคิดด้วยอุปกรณ์

Article Details

How to Cite
วิทยารักษ์ ว. (2016). พลังภาษา พลังความคิด: สัมฤทธิผลในการเขียน. วรรณวิทัศน์, 14, 34–57. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2014.2
บท
บทความประจำฉบับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (๒๕๔๖). สารัตถะทักษสัมพันธ์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ธรรมศักดิ์มนตรี, เจ้าพระยา. (๒๕๔๓). ธรรมจริยา เล่ม ๔. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. (๒๕๑๘). การเขียนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (๒๕๒๕). ศิลปะการเขียน. กรุงเทพฯ: วิชาการ.

เปลื้อง ณ นคร. (๒๕๓๕). ศิลปะแห่งการประพันธ์. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ผะอบ โปษะกฤษณะ, คุณหญิง. (๒๕๓๘). ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์นการพิมพ์.

พิทยา. (ม.ป.ป.). อานุภาพของความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: เบญญา.

พิทยาลงกรณ์, กรมหมื่น. (๒๕๐๖). นิทานเวตาล. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. (๒๕๒๙). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย ๖ (การเขียนสำหรับครู) หน่วยที่ ๑-๘. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ประชาชน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๖). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).

วัลลภา วิทยารักษ์. (๒๕๔๖). การเขียนภาษาไทย. ทุนสนับสนุนการเขียนตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๕๔). หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สุจริต เพียรชอบ. (๒๕๔๐). ศิลปะการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

เสฐียรโกเศศ และนาคะประทีป. (๒๕๑๕). กามนิต. พระนคร: บรรณาคาร.

เสรี วงษ์มณฑา. (๒๕๓๗). มิติของประสบการณ์. ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรม "เสริมทักษะศิลปะการเขียนเฉพาะแบบ". สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. น. ๕๑-๕๒.