สำนวนภาษาไทยถิ่น: ความหลากหลายทางพื้นที่ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

Main Article Content

สุรัตน์ ศรีราษฎร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาสำนวนภาษาไทยถิ่นในด้านความเหมือนหรือความคล้ายคลึงกัน และด้านความแตกต่าง เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของสำนวนกับสภาพและวิถีชีวิตของท้องถิ่น พบว่าสำนวนภาษาไทยถิ่นที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันนั้น ไม่ว่่าจะเป็นสำนวนไทยถิ่นใดมักจะสัมพันธ์กับลักษณะสังคมไทยที่เป็นสังคมเกษตรกรรม สัมพันธ์กับสถาบันครอบครัวที่มีความเคารพความอาวุโส เคารพยกย่องผู้มีอำนาจทางปกครองและอำนาจทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ก็ไม่ทิ้งความเชื่อดั้งเดิมที่มีมาก่อน สำนวนจึงเป็นองค์ประกอบทางภาษาอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติในการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ในทางด้านสังคมต้องพึ่งพิงผู้อาวุโส ผู้มีอำนาจทางปกครองและผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ส่วนในทางด้านจิตใจนั้นส่วนใหญ่จะพึ่งพิงความเชื่อทางศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในทางตรงข้ามสำนวนภาษาไทยถิ่นที่มีความแตกต่างกันนั้นจะมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประชากร รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น สำนวนเหล่านี้เป็นองค์ประกอบทางภาษาอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นแต่ละถิ่นด้วย

Article Details

How to Cite
ศรีราษฎร์ ส. (2016). สำนวนภาษาไทยถิ่น: ความหลากหลายทางพื้นที่ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. วรรณวิทัศน์, 14, 58–82. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2014.3
บท
บทความประจำฉบับ

References

กรรณิการ์ วิมลเกษม. (๒๕๕๕). ภาษาไทยถิ่นเหนือ (พิมพ์ครั้งที่ ๓). มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะโบราณคดี ภาควิชาภาษาตะวันออก.

กาญจนาคพันธุ์. (๒๕๑๓). สำนวนไทย. ธนบุรี: บุรินทร์การพิมพ์.

กาญจนาคพันธ์ุ. (๒๕๑๔). สำนวนไทย ชุดที่ ๒. ธนบุรี: บุรินทร์การพิมพ์.

ไขศิริ ปราโมช ณ อยุธยา. (๒๕๓๗). การเปลี่ยนแปลงถ้อยคำและความหมายของสำนวนไทย (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์. (๒๕๒๙). ภูมิศาสตร์ประเทศไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เครือรัตน์ ฤทธิเดช. (๒๕๔๐). ถ้อยคำที่ใช้เป็นสำนวนภาษาไทยถิ่น ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จรัญ จันทลักขณา และผกาพรรณ สกุลมั่น. (๒๕๕๐). ภูมิปัญญาชาวบ้านและสำนวนไทยจากไร่นา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฉันทัส ทองช่วย. (๒๕๓๖). ภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ดนุพล ไชยสินธุ์. (๒๕๔๒). รายงานการวิจัยเรื่อง สำนวนอีสาน: การศึกษาเชิงวัฒนธรรม. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

นุชธิดา ออฝอยทอง. (๒๕๕๑). ลักษณะคำศัพท์สำนวนไทยที่ปรากฎใช้ในปัจจุบัน: กรณีศึกษาการดำรงอยู่ของภาษาที่สะท้อนสภาพสังคมวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร สาขาวิชาภาษาศาสตร์.

บุญคิด วัชรศาสตร์. (๒๕๔๓). ภาษิตคำเมืองเหนือ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก.

บุญสิริ สุวรรณเพ็ชร. (๒๕๓๘). อธิบายสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยไทย. กรุงเทพฯ: พีพริ้งติ้งกรุ๊ป.

พวงผกา หลักเมือง. (๒๕๕๒). การวิเคราะห์สำนวนโวหารเชิงมโนทัศน์ในตำนานล้านนา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (๒๕๔๗). ภาพรวมของการศึกษาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ ๓ ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๒๕). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๒). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่น ภาคใต้ เรื่อง สุภาษิตร้อยแปด. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วรรณา บัวเกิด. (๒๕๒๙). การใช้สำนวนในงานเขียน. ภาษาไทย ๖ (การเขียนสำหรับครู). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.

วรรณี พุทธาวุฒิไกร. (๒๕๔๙). ภูมิศาสตร์ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วนิษฐา ดาราสูรย์. (๒๕๔๕). การศึกษาสำนวนชาวใต้เชิงภาษาและสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิชาภาษาไทย.

วิลาวัลย์ ปานทอง, กรรณิการ์ รักษา, วรวรรธน์ ศรียาภัย และคนอื่นๆ. (๒๕๔๙). รายงานการวิจัยเรื่องภาษาและวัฒนธรรมไทยทรงดำ. มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

สวาท เสราณรงค์. (๒๕๑๒). ภูมิศาสตร์ประเทศไทย. พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). พจนานุกรมภาษาถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

สุจริต เพียรชอบ. (๒๕๓๙). ศิลปะการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (๒๕๔๑). ภาษาศาสตร์สังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (๒๕๔๒). ภาษาในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัครา บุญทิพย์. (๒๕๓๕). ภาษาถิ่นใต้. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก.