ธัมม์ คาถา และพระสูตรกับกระบวนการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ในพิธีสืบชะตาล้านนา

Main Article Content

เชิดชาติ หิรัญโร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของธัมม์ คาถาและพระสูตรที่มีอยู่ในพิธีสืบชะตาของล้านนา ในฐานะกลไกหลักของกระบวนการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมให้กับพิธีสืบชะตา โดยใช้แนวคิดเรื่องความศักดิ์สิทธิ์กับศาสนามาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าพิธีสืบชะตาเป็นพิธีกรรมที่มีขั้นตอนในการประกอบพิธีที่ซับซ้อนทั้งในขั้นตอนและองค์ประกอบ ทำให้เกิดการสร้างคัมภีร์สืบชะตาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นคู่มือในการประกอบพิธีกรรมดังกล่าว จากการศึกษาลำดับขั้นตอนในการสูตร (สวด) สืบชะตานั้นพบว่าประกอบด้วยธัมม์ คาถา และพระสูตรเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งเป็น 1) กลุ่มคาถา พบว่าช่วงต้น มีลักษณะเหมือนกับคาถาหรือมนต์พิธีในพิธีกรรมพุทธศาสนาทั่วไป ส่วนที่เป็นคาถาเฉพาะของล้านนาจะปรากฎอยู่ในลำดับท้ายของการสูตร 2) กลุ่มพระสูตร หรือพระปริตต์อยู่ในส่วนกลางของการสูตร และ 3) กลุ่มธัมม์ นิยมเทศน์หลังการสูตรสืบชะตา ซึ่งเป็นธัมม์พื้นเมืองของล้านนา


โดยสรุปแล้วธัมม์ คาถา และพระสูตรทั้งหมดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในพิธีกรรมสืบชะตาจนกระทั่งกลายเป็นพิธีกรรมทางโลกที่มีความศักดิ์สิทธิ์สูงเสมือนเป็นพิธีทางศาสนา โดยที่คาถาเป็นส่วนที่มุ่งให้เกิดสภาวะศักดิ์สิทธิ์ในพิธีการตามแนวคิดพุทธศาสนา พระสูตรเป็นส่วนที่มุ่งหมายให้เกิดการคุ้มครองรักษาและป้องกันภันอันตรายในชีวิตและธัมม์เป็นเสริมให้เกิดความสมบูรณ์ในแง่ของความเชื่อเรื่องการสืบต่ออายุให้ยืนยาวในวัฒนธรรมล้านนา กระบวนการดังกล่าวเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งที่ทำให้พิธีกรรมสืบชะตาสามารถตอบสนองความต้องการทางจิตใจของมนุษย์โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตต่างๆ กับชีวิต

Article Details

How to Cite
หิรัญโร เ. (2016). ธัมม์ คาถา และพระสูตรกับกระบวนการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ในพิธีสืบชะตาล้านนา. วรรณวิทัศน์, 14, 107–129. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2014.5
บท
บทความประจำฉบับ

References

ธนิต อยู่โพธิ์. (๒๕๔๗). อานุภาพพระปริตต์. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพนายธนิต อยู่โพธิ์ (พิมพ์ครั้งที่ ๗). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

นิตยา จันโทภาสกร. (๒๕๒๖). สืบชะตา: การศึกษาเชิงวิจารณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุปผา คุณยศยิ่ง. (๒๕๔๒). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (๒๕๔๖). เจ้าแม่ คุณปู่ ช่างซอ ช่างฟ้อน และเรื่องอื่นๆ ว่าด้วยพิธีกรรมและนาฎกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

มณี พยอมยงค์. (๒๕๓๘). สืบชะตาเมือง: ประเพณีสร้างความรุ่งโรจน์ของบ้านเมือง. ใน ชีวิตไทย ชุด ฮีตฮอยเฮา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ยศ สันติสมบัติ. (๒๕๔๔). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีเลา เกษพรหม. (๒๕๔๒). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๒). ประเพณีไทยภาคเหนือ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมเจตน์ วิมลเกษม. (๒๕๓๘). สืบชะตา: การสร้างขวัญและกำลังใจของชาวบ้าน. ใน ชีวิตไทย ชุด ฮีตฮอยเฮา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สุริยา รัตนกุล. (๒๕๔๙). พิธีกรรมในศาสนา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (๒๕๕๑). มานุษยวิทยาศาสนา: แนวคิดพื้นฐานและข้อถกเถียงทางทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (๒๕๓๔). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. ม.ป.ท.: มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (๒๕๔๒). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.