การศึกษาคำว่า "เป็น" ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปรียบเทียบกับสมัยปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคำว่า "เป็น" ที่ปรากฏในเอกสารสมัยรัชกาลที่ 5 เปรียบเทียบกับปัจจุบันทั้งในด้านรูปเขียน เสียง ความหมาย ไวยากรณ์ และคำศัพท์
ผลการศึกษาพบว่าคำว่า "เป็น" มีการเปลี่ยนแปลงด้านรูปเขียน กล่าวคือในสมัยรัชกาลที่ 5 สะกดได้ทั้ง "เปน" และ "เป็น" แต่ในปัจจุบันสะกดว่า "เป็น" ได้อย่างเดียว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงด้านเสียง คือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 สันนิษฐานว่ามีรูปแบบ 2 เสียง คือ ออกเสียงได้ทั้งสั้นและยาว แต่ในปัจจุบันออกเสียงสั้นได้อย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงด้านความหมายพบว่าคำว่า "เป็น" มีการเปลี่ยนแปลงความหมายแบบแคบเข้า เช่นคำว่า "เป็น" ในสมัยปัจจุบันมีจำนวนความหมายน้อยกวาในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะมีบางความหมายไม่ปรากฏใช้แล้วในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ความหมายว่า 'เกิด (ขึ้น)' การเปลี่ยนแปลงด้านไวยากรณ์ เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 5 คำว่า "เป็น" สามารถเกิดร่วมกับคำว่า "แต่" และคำว่า "ด้วย" ได้ แต่ปัจจุบันไม่สามารถปรากฏร่วมกันได้ ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านคำศัพท์ พบว่ามีการสูญศัพท์ ได้แก่ การสูญสำนวนหรือคำประสมที่ประกอบด้วยคำว่า "เป็น" ไป เช่น "เป็นแต่"
Article Details
References
กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา. (๒๕๔๙). หน่วยสร้างกริยาเรียงต้นแบบในภาษาไทย. ใน อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (บรรณาธิการ). หน่วยสร้างที่มีข้อขัดแย้งในภาษาไทย (น. ๖๖-๑๓๕). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุษฎีพร ชำนิโรคศาสตร์. (๒๕๒๖). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติและภาษาไทเปรียบเทียบ. [ม.ป.ท.].
แบรดเลย์, แดนบิช. (๒๕๑๔). อักขราภิธานศรับท์ = Dictionary of the Siamese Language. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
นววรรณ พันธุเมธา. (๒๕๒๗). การใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: พลพันธ์การพิมพ์.
นววรรณ พันธุเมธ. (๒๕๕๒). หนังสืออุเทศภาษาไทย ภาษาไทยน่าศึกษาหาคำตอบ. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.
พจนานุกรม (ร.ศ.๑๒๐). (๒๕๔๑). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ.
พุทธชาติ ธนันชยานนท์. (๒๕๓๕). การเกิดความแตกต่างด้านความสั้นยาวของสระกลางและสระต่ำในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, ภาควิชาภาษาไทย.
ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (๒๕๕๔). โครงการคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อกันยายน ๒๕๕๓-พฤษภาคม ๒๕๕๕, จาก http://ling.arts.chula.ac.th/tnc2/
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๖ก). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๖ข). ศัพท์ภาษาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตสถาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (๒๕๕๑). วชิรญาณวิเศษ เล่ม ๖. สืบค้นเมื่อกันยายน ๒๕๕๒, จาก http://www.siamrarebooks.com/
สถาวร พัชรบำรุง. (๒๕๒๙). การใช้คำเป็นในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, ภาควิชาภาษาไทย.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (๒๕๓๘). กำเนิดและพัฒนาการของการแปลงให้เป็นนามวลีในภาษาไทย: หลักฐานแสดงการปรับเปลี่ยนให้เป็นนามวลีในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันไทยศึกษา.
Hopper, P. J. (1991). On some principles of grammaticization. In E.C. Traugorr & B. Heine (Eds.), Approaches to grammaticalization (Vol. 1, pp. 17-35) Amsterdam: John Benjamins.