ภควา: ที่มาและการแปลเป็นภาษาไทย

Main Article Content

นาวิน วรรณเวช

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาของคำว่า ภควา และการแปลคำดังกล่าวเป็นภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่า ภควา เป็นคำที่ปรากฎใช้ในภาษาบาลีและสันสกฤตมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในภาษาสันสกฤต คำนี้ใช้มาตั้งแต่สมัยพระเวท ปัจจุบันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าคำนี้ใช้หมายถึงพระวิษณุ ในภาษาบาลี คำนี้ใช้หมายถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าทั้งพระวิษณุและพระพุทธเจ้าต่างก็มีเชื้อสายเชื่อมโยงกับพระอาทิตย์หรือสุรยวงศ์เช่นเดียวกัน ไทยเรานิยมแปลคำนี้ว่า "พระผู้มีพระภาค" มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในขณะที่คำแปลตามรูปศัพท์คือ "ผู้มีโชค" หรือ "ผู้มีความสุข" ผู้เขียนเสนอว่าคำนี้ควรทับศัพท์ เพราะไม่ว่าแปลอย่างไรก็ก่อให้เกิดปัญหาได้

Article Details

How to Cite
วรรณเวช น. (2016). ภควา: ที่มาและการแปลเป็นภาษาไทย. วรรณวิทัศน์, 11, 90–107. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2011.5
บท
บทความประจำฉบับ

References

จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา (ผู้บรรยาย). (๒๕๔๖). ทิฏฐิในชมพูทวีป [วัสดุบันทึกเสียง]. กรุงเทพฯ: ชมรมกลัยาณธรรม.

ชินวรสิริวัฒน์, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวง (ผู้เรียบเรียง). (๒๕๐๘). พระคัมภีร์อภิธานนัปปทีปิกา หรือ พจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (๒๕๓๒). ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ประพจน์ อัศววิรุฬหการ. (๒๕๔๖). โพธิสัตวจรรยา: มรรคาเพื่อมหาชน. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับสยามรัฐ: พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส. (๒๕๔๖). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก. (๒๕๔๐). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พินิจวรรณการ, หลวง (แสง สาลิตุล). (๒๔๖๖). พุทธาวตาโร พุทธประวัติสังเขป. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. (พิมพ์แจกในการพระกฐินพระราชทาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม)

พุทธทาสภิกขุ. (๒๕๔๙). พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (พิมพ์ครั้งที่ ๑๕). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

แม่ชีวิมิตติยา (ผู้เรียบเรียง). (๒๕๕๑). บทสวดพระปริตรในงานการสวด. ใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, การสวดพระปริตรตามการสังคายนาสวดมนต์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (น. ๒๓-๔๒). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๔). พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทยสมัยสุโขทัย: ไตรภูมิพระร่วง. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๙). พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีสมัยอยุธยา: มหาชาติคำหลวง. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วชิรญาณวโรรศ, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๓๙). สารานุกรมพระพุทธศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

วิสุทธิ์ บุษยกุล. (๒๕๒๐). วิสุทธิ์นิพนธ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์ วังบูรพา.

ศิลปากร, กรม. (๒๕๑๓). เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ: พระประวัติและพระนิพนธ์ร้อยกรอง (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

Apte, V. S. (1973). The Student's Sanskrit-English Dictionary" Delhi: Motilal Banarsidass.

Davies, T. W. Rhys, & Stede, William. (1972). The Pali Text Society's Pali-English Dictionary. London: The Pali Text Society.

Macdomell, A. A. (1965). A Practical Sanskrit-English Dictionary. Delhi: Motial Banasidass.

Monier-Williams, Sir Monier. (1976). A Sanskrit-English Dictionary. Delhi: Montial Banarsidass.

Norman, K. R. (1980). The Dialects in which the Buddha. In The Language of the Earliest Buddhist Tradition. Gottingen: Vandenhoeck & Ruprecht.