ความเป็นเมืองในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาเมืองและวิถีชีวิตแบบเมืองที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัยตั้งแต่พ.ศ.๒๕๓๐ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๗) ผลการศึกษาพบว่า กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัยได้นำเสนอภาพเมืองที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคมในแต่ละช่วงเวลา สามารถแบ่งได้ ๓ ประเด็น ได้แก่ เมืองกับการเปลี่ยนแปลงสังคมชนบท เมืองกับวิถีชีวิตแบบเมือง และเมืองกับมิติที่หลากหลาย โดยปรากฏทั้งในเชิงลบที่เป็นการตอกย้ำภาพเมืองที่เป็นแหล่งรวมปัญหา และในเชิงบวกที่เมืองได้สร้างพื้นที่แห่งการต่อรอง เพื่อรองรับการประกอบสร้างอัตลักษณ์ที่หลากหลายของคนเมือง ทั้งนี้ได้สื่อถึงเมืองที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
Article Details
References
กฤช เหลือลมัย. (2550). ปลายทางของเขาทั้งหลาย. กรุงเทพฯ: แพรวสํานักพิมพ์.
กฤษฎา ขําายัง. (2552). วิถีเมืองในงานเขียนของปราบดา หยุ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ.
กองบรรณาธิการประชาชาติธุรกิจ. (2549). 3 ทศวรรษประเทศไทย: ยุคทุนนิยมไล่ล่า. กรุงเทพฯ: มติชน.
กานติ ณ ศรัทธา. (2532). ขวัญใจเจ้า. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
โกสินทร์ ขาวงาม. (2556). ถนนสายนั้นทอดไปสู่หัวใจแม่. กรุงเทพฯ: ใบไม้ป่า.
โชคชัย บัณฑิต. (2554). บ้านเก่า. กรุงเทพฯ: รูปจันทร์.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). วาทกรรมการพัฒนาฯ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิธภาษา.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2535). ข้างคลองคันนายาว กระบวนที่ 2. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2549). ไม่รู้เลยว่ารัก (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เกี้ยว-เกล้า พิมพการ.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร, และคริส เบเคอร์. (2546). เศรษฐกิจการเมืองสมัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: โอ เอส พรินติ้งฯ.
ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์. (2552). เมืองโลก การบริโภคการต่อรอง: สังคมวิทยาเมืองฉบับ ร่วมสมัย. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2532). ฤดีกาล. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาสน์.
ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2538). ม้าก้านกล้วย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แพรวสํานักพิมพ์.
ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2541). เจ้านกกวี. กรุงเทพฯ: แพรวสํานักพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควร์.
วรภ วรภา. (2547). หมอกฝัน ม่านฟ้า ห่าฝน. สตูล: บ้านบ้าน.
ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ. (2543). มองอนาคต บทวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางสังคมไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สุมาลี วีระวงศ์ และคณะ. (2544). กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย: บทวิเคราะห์และสรรนิพนธ์. กรุงเทพฯ: ศยาม.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2550). วัฒนธรรมการบริโภคในพื้นที่เมือง: บทวิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัย. ใน สู่พรมแดนความรู้เรื่องวัฒนธรรมบริโภค, (น. 166-198). กรุงเทพฯ: โอ เอส พรินติ้งเฮ้าส์.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2553). วิถีเมืองและความเป็นปัจเจกในวรรณกรรมไทยร่วมสมัย: การศึกษาเปรียบเทียบ 29 กุมภาฯ และเด็กกําาพร้าแห่งสรวงสวรรค์. วารสารอักษรศาสตร์. 39: 2, 149-178.
อังคาร จันทาทิพย์. (2555). หัวใจห้องที่ห้า. กรุงเทพฯ: ผจญภัยสํานักพิมพ์.