ปัจจัยในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการขนส่งในเขตภาคกลางของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามค าแหง

คำสำคัญ:

ความสามารถในการแข่งขัน, ผู้ประกอบการขนส่ง, โลจิสติกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อม ปัญหา อุปสรรคของการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการในเขตภาคกลางของประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการในเขตภาคกลางของประเทศไทย และ 3) นำเสนอแนวทางการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการในเขตภาคกลางของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และมีสถานที่ประกอบการอยู่ในเขตภาคกลาง จำนวน 400 ราย ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความตรงเชิงด้านเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.82 - 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ด้วยวิธี Enter

ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ ประการที่ 1 ด้านสภาพแวดล้อม ปัญหา อุปสรรคของการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการในเขตภาคกลางของประเทศไทย พบว่า การรับแรงกดดันทั้งจากฝั่งลูกค้าและซัพพลายเออร์ ที่ต้องการบริบทที่คุ้มที่สุด ต้นทุนในการขนส่งที่ดีที่สุด การแข่งขันของกลุ่มด้านโลจิสติกส์ใหม่ การแข่งขันด้านอัตราค่าบริการที่รุนแรง คุณภาพในการส่งมอบ ไม่สามารถสร้างศูนย์รวมสินค้าได้ สินค้าเสียหายระหว่างการขนส่ง การติดตามสถานะการขนส่งแบบเรียลไทม์ ความรวดเร็วในการขนส่ง และกฎหมายจราจรเกี่ยวกับการขนส่งผ่านชุมชน ประการที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการในเขตภาคกลางของประเทศไทย พบว่า ด้านงานโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการ และวิสัยทัศน์ด้านโลจิสติกส์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 และ 3.91 ตามลำดับ และประการที่ 3 แนวทางการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการในเขตภาคกลางของประเทศไทย พบว่า การแข่งขันในงานโลจิสติกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 โดยปัจจุบันมีการขนส่งที่รวดเร็ว ประหยัดเวลาการขนส่ง และสามารถประมาณการค่าใช้จ่ายการขนส่งได้แน่นอน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 และ 3.85 ตามลำดับ 

References

กสิณ์รินทน์ จิวัจฉรานุกูล. (2562). การวางแผนระบบโลจิสติกส์. สืบค้นจาก http://www.tri.chula.ac.th/twwwroot/journals/old/transj3/p8.pdf

จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา, สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์, จิตติชัย รุจนกนกนาฏ, วชิระ บุณยเนตร, สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง และเมธี มาศรังสรรค์. (2561). การพัฒนาผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. Journal of Transportation and Logistics, 11(1), 35-51.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์ และจักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2554). การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้า, 31(2), 18-37.

ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. (2548). การบริหารเชิงกลยุทธ์และการแข่งขัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บริษัท WHA จำกัด. (2563). วิสัยทัศน์และพันธกิจ. สืบค้นจาก https://www.wha-group.com/th/about/vision-mission

พงษ์สันธ์ บัณฑิตสกุลชัย, ธนพร เกียรติธนะบำรุง และธนัชพร สันตวัตร. (2561). การพัฒนาแบบจำลองเพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการขนส่งภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. Journal of Transportation and Logistics, 11(1), 7-34.

วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์, พัชราภรณ์ เนียมมณี, เตือนใจ สมบรูณ์วิวัฒน์ และธนัญญา วสุศรี. (2554).

การสังเคราะห์งานวิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

สุภัสสรา ปัญโญรัฐโรจน์. (2559). การจัดการโลจิสติกส์ที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 91-100.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ

โลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นจากhttps://www.nesdc.go.th/download/document/logistic/plan3.pdf

สำนักโลจิสติกส์. (2558). เกณฑ์การคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2558 ประเภทการจัดการโลจิสติกส์. กรุงเทพมหานคร: กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่.

Coe, D., & Helpman, E. (1995). International R & D Spillovers. European Economic Review, 39, 859-887.

Lambert, D. M., & Sharma, A. (1990). A customer-based competitive analysis for logistics decisions. International journal of physical distribution & logistics management, 20(1), 17-24. Doi.org/10.1108/EUM0000000000350

Martin, C. (2013). Logistics and Supply Chain Management. ePub eBook: Pearson UK.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26