แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองประชาธิปไตยเชิงนโยบายของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • สุภชัย ตรีทศ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมสาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • อรุณ สนใจ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมสาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • สมพิศ สายบุญชื่น สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมสาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • โดมธราดล อนันตสาน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมสาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • จิรโรจน์ บุญราช สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมสาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ธีรภัทร กิจจารักษุ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมสาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมทางการเมือง, ประชาธิปไตย, เทศบาลเมืองหล่มสัก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองประชาธิปไตยเชิงนโยบายของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองประชาธิปไตยเชิงนโยบายของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชนจำนวน 7 คน ผู้บริหารเทศบาลเมืองหล่มสัก 2 คน ผู้แทนสถานศึกษา จำนวน 2 คน รวม 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองประชาธิปไตยเชิงนโยบายของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย 1) ภาครัฐและประชาชนต้องร่วมมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยในรูปแบบต่าง ๆ 2) ภาครัฐและประชาชนต้องส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองที่เหมาะสมสำหรับประชาชน และ 3) ภาครัฐและประชาชนต้องร่วมมือกันในการส่งเสริมประชาธิปไตยให้เกิดความเข้มแข็งด้วยปัจจัยต่าง ๆ

References

จักรกริช สังขมณี. (2555). ชุมชนแห่งนั้นชื่อปรารถนา : วัฒนธรรมทางการเมืองในชีวิตประจำวันกับเครือข่ายความสัมพันธ์ในการพัฒนาท้องถิ่น (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

นันทพัทธ์ ชัยโฆษิตภิรมย์. (2559). การเมืองในชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ชนบท: กรณีศึกษาในหมู่บ้านภาคกลางแห่งหนึ่ง. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 5(1), 54-61.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2557) วัฒนธรรมทางการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยในเขตชนบทอีสาน: กรณีศึกษาประชาชนในเขตหมู่บ้านคำบงและหมู่บ้านสะอาด ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 31(3), 63-96.

วุฒิสาร ตันไชย. (2544). การกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2551). ปัจจัยภูมิหลังวัฒนธรรมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำเยาวชนไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). พัฒนาประชาธิปไตย...พัฒนาการเมืองไทย. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Lewin. K, Lippitt, R, & White. R. K. (1939). Patterns of aggressive behavior in experimentally created social climates. Journal of Social Psychology, 10, 271–301.

Marshall, T. H. (1950). Citizenship and Social Class. London: Cambridge at The University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31