รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป

ผู้แต่ง

  • กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ปริญญ์ ศุกรีเขตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามค้าแหง

คำสำคัญ:

การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ความผูกพันต่อองค์การ, อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัทผู้ผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปแห่งหนึ่ง โดยใช้จำนวนตัวอย่าง 385 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลและจัดส่งเป็นจดหมายปิดผนึกทางไปรษณีย์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบไปด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า Chi-square เท่ากับ 11.378 ค่า p-value เท่ากับ 0.181 ค่า Chi-square/df เท่ากับ 1.422 ค่า GFI เท่ากับ 0.992 ค่า AGFI เท่ากับ 0.971 ค่า NFI เท่ากับ 0.988 ค่า CFI เท่ากับ 0.996 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.033 และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 28

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามลดา.

เกื้อจิตร ชีระกาณจน์. (2557). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจสมัยใหม่ (ปัจจุบันสู่อนาคต). สุทธิปริทัศน์, 28(86), 322-337.

โกวิทย์ กังสนันท์. (2557). ก้าวข้ามการบริหารทรัพยากรมนุษย์: คนในมุมมองศีลธรรมของการบริหาร. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 6(1), 94-124.

ฉัตรณรงศักดิ์ สุธรรมดี และจิตนกานต์ สุธรรมดี. (2560). กรอบแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราภัฏยะยา, 12, 168-184.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธนาคาร อเนก. (2560). ปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อข้อกำหนดโตเกียวภายในกรมคุมประพฤติ. วารสารการวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 9(2), 91-126.

ธเนศ ยุคันตวนิชชัย. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในเศรษฐกิจยุคใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 48-67.

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188.

บุศกร เสาะแสวง และวิทยา สุจริตธนารักษ์. (2556). การบริหารทรัพยากรมนุษย์วิถีพุทธ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 8(1), 76-85.

ปฏิญญา ปิ่นทาง และจุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. (2561). อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรที่มีความตั้งใจคงอยู่ของพนักงานวิศวกรกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. สุทธิปริทัศน์, 32(103), 174-188.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล และกฤติกา ลิ้มลาวัลย์. (2554). วารสารนักบริหาร, 31(4), 168-173.

ปาริชาติ หงส์เกียรติขจร, วิทมา ธรรมเจริญ และรุ่งรัตน์ เชื้อแก้ว. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การและการปฏิบัติงาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 39(1), 96-119.

ปิยาพร ห้องแซง และณักษ์ กุลิสร์. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานสาขา ธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 2(2), 98-117.

พรพรต เต็งชาตะพันธุ์, ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล, และวรนารถ แสงมณี. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทแซนมิน่า ไซส์ ซิสเท็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 47-54.

พรภวิษย์ นันทชัชวาลกุล. (2560). ปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(2), 65-71.

พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รวิภา ธรรมโชติ. (2558). นวัตกรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 3(1) 71-84.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: บริษัท นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

วิจัยกรุงศรี. (2563). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2563-2565. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/31002845-7acb-46f5-95fb-c96309fed66f/IO_Industry_Outlook_2020_2022_TH_EX.aspx

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.

วิวรรธ์ พุทธานุ. (2560). อิทธิพลของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(4), 41-57.

ศรันย์ดิษฐ์ เบญจพงศ์. (2562). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์สำหรับองค์การในอนาคต. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2(2), 95-106.

ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและบทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. Veridian E-Journal, 7(3), 845-862.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2562). อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/industry/อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเชื่อมโยงกันอย่างไร ให้เศรษฐกิจยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20181005092433.pdf

สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ. (2557). กรอบแนวคิดการพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5, 299-311.

สุจิตรา ธนานันท์. (2552). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพลส.

สุพัตรา ธัญน้อม. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษาโรงเรียนลาซาล. วารสารการวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 8(3), 75-87.

สุรจิต อุดมสัตย์. (2558). รูปแบบการจัดการปัจจัยเพื่อพัฒนาความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถานบันการพลศึกษาในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2(1), 60-79.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). NJ: Prentice Hall.

Luthans, F. (2015). Organizational Behavior (12th ed.). New York: McGraw-Hill.

Meyer, J. P., & Allen, N. J. (1991). A three-component conceptualization of organizational commitment. Human Resource Management Review, 1(1), 61-89.

Baron, R. A., & Greenberg, J. (1990). Behavior in organizations: Understanding and managing the human side of work (3th ed.). Toronto: Allyn and Bacon.

Newstrom, J., & Davis, K. (2002). Organizational behavior: Human behavior at work (11th ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30