ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านช่องทางออนไลน์โดยการแนะนำของบิวตี้บล็อกเกอร์ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นันทวัน อินน้อย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศิริพร แพรศรี วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเลือกซื้อ, เครื่องสำอาง, ช่องทางออนไลน์, บิวตี้บล็อกเกอร์, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านช่องทางออนไลน์โดยการแนะนำของบิวตี้บล็อกเกอร์ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคสินค้าประเภทเครื่องสำอางผ่านช่องทางออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย t-test Independent One way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่าง 25 - 34 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ระหว่าง 20,001 - 40,000 บาท กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญต่อด้านผลิตภัณฑ์และด้านบุคคลมาก มีความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางผ่านช่องทางออนไลน์ คือ เดือนละครั้ง งบประมาณในการซื้อเครื่องสำอางผ่านช่องทางออนไลน์ คือ ระหว่าง 1,001 - 2,000 บาท เหตุผลในการเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านช่องทางออนไลน์ คือ การแสดงความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปหรือผู้ติดตามบิวตี้บล็อกเกอร์หลังใช้เครื่องสำอางสามารถดึงดูดใจให้ทดลองใช้ วิธีการนำไปใช้ของผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องสำอางผ่านช่องทางออนไลน์ คือ ใช้เอง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ต่างกัน ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านช่องทางออนไลน์โดยการแนะนำของบิวตี้บล็อกเกอร์ในกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน นอกจากนี้ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านช่องทางออนไลน์โดยการแนะนำของบิวตี้บล็อกเกอร์ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

กัญญารินทร์ วัฒนเรืองนันท์. (2558). อิทธิพลของ Beauty Influencers ที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงานตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หกขั้นสู่บล็อกเกอร์ค้างฟ้า. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=18910&Key=itnews

กลยุทธ์การตลาด. (2555). ลักษณะของผู้ซื้อและกระบวนการตัดสินใจซื้อ. สืบค้นจาก http://xn--12ca1ddig2elng4ld4e1p.blogspot.com/2012/11/blog-post_1213.html

ข่าวสด. (2562). อาชิตา สเตชั่น. สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/beauty/news_2636901

คลับซิสเตอร์. (2561). บล็อกเกอร์ สาวไทย ต้องกด ซับสไครบ์ สิบคนนี้รัว ๆ. สืบค้นจาก https://clubsister.com/blogger-thai-sunscribe/

ชัยวัฒน์ ปัญจพงษ์ และณรงค์ เทียนส่ง. (2521). ประชากรศาสตร์และประชากรศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล และคณะ. (2546). อีอาร์เอ็ม กลยุทธ์บริหารประสบการณ์ สร้างแฟนพันธุ์แท้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ฐนิตา ตู้จินดา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศกลุ่มอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ธนา ตันติเอมอร. (2558). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศของประชากรในจังหวัด ปทุมธานี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ธำรง อุดมไพจิตรกุล. (2547). เศรษฐ์ศาสตร์การจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โครงการตํารา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาศรีนครินทร์วิโรฒ.

นิตยสารกุลสตรี. (2562). เจ็ดบิวตี้บล็อกเกอร์ สายแซ่บและฮาของเมืองไทย ดูแล้วต้องหลงรัก. สืบค้นจาก https://kullastreemag.com/fashion_beauty/%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0% B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E 0%B8%A3%E0%B9%8C/

ปัทมพร คัมภีระ. (2557). พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊คของนักศึกษาหญิงในเขต กรุงเทพมหานคร. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ปรมะ สตะเวทิน. (2529). หลักนิเทศน์ศาสตร์. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2561). คนไทยเล่นออนไลน์สูงสุดของโลก บล็อกเกอร์ ทรงอิทธิพลชี้ขาดสินค้า. สืบค้น จาก https://mgronline.com/business/detail/9610000107694

ผู้นำท้องถิ่น. (2563). สำนักทะเบียนกลางเผย สถิติประชากรไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. สืบค้นจากhttps://poonamtongtin.com

แพร ไกรฤกษ์. (2558). อิทธิพลของบิวตี้บล็อกเกอร์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมความงามของสตรีไทยในยุคสื่อสังคมออนไลน์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)

พรเทพ ทิพยพรกุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางในระบบออนไลน์ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558. (2558, 10 สิงหาคม). พระราชบัญญัติ. หน้า 1-22.

มติชนออนไลน์. (2561). คุณภาพชีวิต. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_856754

วิทยาลัยการอาชีพเถิน. (2561). หน่วยที่หนึ่ง แนะนำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/electronics32042109/lesson-1

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2539). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (ปรับปรุงใหม่ล่าสุด). กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (2563). อีคอมเมิร์ซ สองพันยี่สิบ อัพเดต. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2563, จาก https://www.ecommerce.or.th/ecommerce-2020-update/

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดบิวตี้ยังแจ๋ว เกาะเทรนด์ธุรกิจทำเงิน. สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Beauty-Business_Trend.pdf

สาธิกานต์ บัวเทิง. (2560). อิทธิพลของบล็อกเกอร์ (Blogger) และการรีวิวผลิตภัณฑ์อาหารผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

เสรี วงษ์มณฑา. (2546). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). เอ็ตด้าเผยปีหกสอง คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสิบชั่วโมงยี่สิบสองนาที เจนวายครองแชมป์ห้าปีซ้อน. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-behavior-2019-press-release.html

อารีรัตน์ สุรอมรรัตน์. (2555). ความเป็นผู้นำทางความคิดของบล็อกเกอร์ด้านความงามกับการรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ด้านความงามของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Armstrong, G. &. Kotler, P. (2009). Marketing, an Introduction (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Boone, L. E. &. Kurtz, D. L. (1995). Contemporary Marketing (8th ed.). Unites States: The Dryden.

Engel, F. J., Blackwell, D.R., & Miniard, W.P. (1990). Consumer Behavior (6th ed.). Hinsdale: The Dryden Press.

Engel, J. F., Blackwell, R. D. & Miniard, P. W. (1993). Consumer Behavior (8th ed.). Fort Worth: Dryden Press.

Etzel, M. J., Walker, B. J. and Stanton, W. J. (2007). Marketing (14th ed.). Boston Mc: Graw-Hill.

Hoyer, W. D. a. M., D. J. (1997). Consumer Behavior. Boston: Houghton Mifflin.

Kerlinger, F.N. and Elazur Pedhazur. (1973). Multiple Regression in Behavioral Research. New York: Holt Rinehart and Wiston Inc.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (9th ed.). New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Mowen, J. C. a. M., M. (1998). Consumer Behavior. Prentice-Hall, Inc.: Upper Saddle River.

Schiffman, L. G. &. Kanuk, L. L. (2000). Consumer Behavior (7th ed.). Upper Saddle River: N.J Prentice Hall.

Semenik. (2002). Business and Economics. South-Western: Thomson Learning.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3th ed.). New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30