ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจของพนักงานกับความภักดีต่อองค์การในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาบริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, ความภักดีต่อองค์การ, อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จำแนกลักษณะส่วนบุคคลของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ ความภักดีของพนักงาน บริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จำแนกลักษณะส่วนบุคคลของพนักงาน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความภักดีต่อองค์การของพนักงาน บริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ พนักงานในบริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 350 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มประชากรที่เป็นอิสระกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานที่แตกต่างกันในด้านเพศที่แตกต่างกันมีผลต่อการเกิดแรงจูงใจในการทำงานและความภักดีต่อองค์การของพนักงานในองค์การ บริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน ในด้านความต้องการเพื่อดำรงชีพ ความต้องการด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และความต้องการ ความเจริญก้าวหน้า มีความสัมพันธ์กับความภักดีต่อองค์การของพนักงาน บริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในทิศทางเดียว โดยอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งผลการวิจัยได้ยืนยันความสำคัญของการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานเพื่อสร้างความจงรักภักดีของพนักงานในองค์กรซึ่งสามารถนำเอาไปปรับใช้ในองค์กรได้
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). พัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามบริบทโลก. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กฤษฏ์ เติมทิพย์ทวีกุล และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่กับองค์การของช่างเทคนิคและวิศวกรในอุตสาหกรรมพลาสติกขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดปทุมธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 7(3), 823-837.
กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). หลักการจัดการและองค์การ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). หลักการจัดการและองค์การ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
กัณณ วีระกรพานิช (2554). การคาดหวังและแรงจูงใจของพนักงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การ : กรณีศึกษา พนักงานบริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ).
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2562). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 9(2), 161-171.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นาถรพี ชัยมงคล และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). ความต้องการของพนักงานตามทฤษฎี ERG และมนุษย์สัมพันธ์ในองค์การที่ส่งผลต่อความขัดแย้งในองค์การในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 6(2), 263-280.
บุญศรี พรหมมาพันธ์. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้สหสัมพันธ์และการถดถอยในการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 11(1), 32-45.
พาณุวงศ์ คัมภิรารักษ์ และแก้วตา โรหิตรัตนะ. (2561). อุตสาหกรรม 4.0 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตของไทย. วารสารการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 7(3), 52-64.
รัชนี ตรีสุทธิวงษา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานความจงรักภักดีต่อองค์การ และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานมหาลัยมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 30(1), 144-160.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก. (2561). สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปี 2560. สืบค้นจาก https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2018/02/IN_electronic_61_detail.pdf
Alderfer, C. P. (1972). Existence, relatedness, and growth: Human needs in organizational settings. New York: Free Press.
Gabor, A., & Mahoney, J. T. (2013). Chester Barnard and the systems approach to nurturing organizations. Oxford handbook of management theorists, 134-151.
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work. New York: John & Sons.
Hoy, W. K., & Rees, R. (1974). Subordinate loyalty to immediate superior: A neglected concept in the study of educational administration. Sociology of Education, 47, 274-275.
Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370–396.
Robbing, S. P. (2001). Organizational behavior. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Steer, R. M. (1991). Introduction to organization behavior. New York: Prentice-Hall.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ